Saturday, November 24, 2012

วิธีดูแลสุนัข

การเลี้ยงสัตว์, หมา, สุนัข


บ้านไหนที่เพิ่งจะมีสุนัข เรามีวิธีการดูแลสุนัขง่ายๆ มาฝากกันค่ะ...

- ไม่ควรเลี้ยงลูกสุนัขไว้บนพื้นที่ลื่น เช่น พื้นกระเบื้อง หินอ่อนขัด เป็นต้น เพราะจะทำให้ขาสุนัขไม่สวย ขาจะแบะออกคล้าย ๆ กับว่ายืนได้ไม่มั่นคง

- ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกสุนัขที่อายุยังไม่ถึง 3 เดือน ถ้ารู้สึกว่าสกปรกใช้ผ้าน้ำเช็ดขนข้างนอกก็พอ ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ อาบน้ำแล้วให้รีบเช็ดและเป่าให้แห้ง เดี๋ยวสุนัขจะเป็นหวัด

- ระวัง! อย่าให้ลูกสุนัขมุดใต้กรง หรือใต้อะไรที่แข็งและเป็นคาน เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าไปติด ถูกกดทับ หรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เส้นหลังเสียได้ (กระดูกสันหลังจะแอ่น)

- ควรดูแลรักษาปากและฟันของสุนัข อย่า ให้กัดแทะของแข็งเกินไป เดี๋ยวฟันไม่แข็งแรง ควรหากระดูกเทียมให้สุนัขแทะเล่น เอากระดูกแบบสีขาวและมีฟลูออไรด์ด้วยจะได้ทำความสะอาดฟันสุนัขไปในตัว

- เมื่อสุนัขเริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว (อายุ 7-8 เดือน) อย่าเพิ่งรีบให้ผสมพันธุ์ เพราะสุนัขยังไม่โตเต็มที่ อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตและทำให้ตัวเล็ก แล้วก็อาจจะแท้งหรือให้ลูกที่ไม่สมบูรณ์

- เมื่อเริ่มโตสุนัขจะเริ่มมีขนร่วง ไม่ต้องแปลกใจเป็นธรรมชาติของสุนัขที่มีการเจริญเติบโต

- อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารเม็ด เพราะ สะดวกรวดเร็ว ถ้าให้อาหารทำเอง สุนัขจะเลือกกินแล้วจะไม่กินอาหารเม็ด อย่าให้แทะกระดูกจริงเพราะจะไปทิ่มเอากระเพาะสุนัขจะติดคอได้ง่าย

- การฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิ ควรทำตามตารางที่สัตว์แพทย์แนะนำ

บ้านไหนมีสุนัข อย่าลืมนำวิธีที่แนะนำไปดูแลสุนัขตัวโปรดกันได้.

สุนัขบางแก้ว

สุนัขบางแก้ว

       ประวัติ

    จากข้อมูลที่ได้สอบถามจากประชาชนตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านบางแก้วตำบลท่านางงามและบ้านชุมแสงสงคราม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ  หลวงพ่อมาก เมธาวี  ของวัดบางแก้วที่วัดของท่านเลี้ยงสุนัขไว้ไม่ต่ำกว่า 20-30 ตัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่ดุขึ้นชื่อลือชา ด้วยกิตติศัพท์ในความดุของสุนัขที่วัดบางแก้วนี้เองจึงมีผู้คนนิยมมาขอลูกสุนัขไปเลี้ยงไว้เฝ้าบ้านเหตุผลที่สันนิษฐานว่าสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขลูกผสมสามสายเลือดเพราะพื้นที่ในเขตตำบลท่านางงาม ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำในอดีตนั้นเป็นป่าดงพงพีที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งสุนัขจิ้งจอกและหมาในอาศัย อยู่เป็นจำนวนมาก โอกาสที่สุนัขจิ้งจอกและหมาในตัวผู้จะมาแอบลักลอบเข้ามาผสมพันธุ์กับสุนัข ไทยตัวเมียที่เลี้ยงไว้ในวัดบางแก้วนั้นมีความเป็นไปได้สูงมากทีเดียวซึ่ง เรื่องนี้อาจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ ตรวจโครโมโซมของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วแล้วพบว่ามีโครโมโซมของสุนัขจิ้งจอก ปะปนในโครโมโซมของสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วซึ่งเป็นการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่า สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วสืบเชื้อสายจากสุนัขลูกผสมระหว่างสุนัขบ้านกับสุนัข จิ้งจอก สุนัขไทยพันธุ์บางแก้วจึงมีลักษณะดีเด่นปรากฏโฉมออกมาคือ มีขนยาว ขนมีลักษณะเป็นขนสองชั้นคล้าย หางเป็นพวงสวยงาม มีขนแผงคอคล้ายแผงคอสิงโต ดุ เฉลียวฉลาด มีไอคิวสูง ไม่แพ้สุนัขพันธุ์ต่างประเทศ มีความสวยงาม

ลักษณะทั่วไป
เป็นสุนัขขนาดกลาง หูตั้งตรง ขนยาวเหยียดตรงหนา และปุย ใบหน้าจะสั้น แต่ปากแหลมยาวคล้ายปากสุนัขจิ้งจอก สง่างาม เวลายืนมีขาหน้าใหญ่กว่าขาหลัง นัยน์ตาเล็กกลมสีเหลืองทองคล้ำ ส่วนของหางจะเป็นพวงแต่มีบางตัวไม่เป็นพวง สำหรับลักษณะของใบหน้าแบ่งเป็น 3 แบบ คือ
         1.หน้าเสือ คือ มีกระโหลกใหญ่ ใบหูเล็ก แววตาดุร้าย มีขนที่คอแต่ไม่รอบคอ และไม่มีเคราใต้คาง หางมีทั้งเป็นพวงและไม่เป็นพวง ส่วนขนมีทั้งฟูและไม่ฟู 
         2.หน้าสิงห์โต คือ มีขนแผงคอใหญ่รอบคอ มีเครายาวใต้คาง กระโหลกใหญ่ ใบหูเล็กและตั้งตรง ช่วงตัวตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายเล็ก แววตาปกติจะเซื่องซึม แต่จะดุร้ายและคล่องแคล่วว่องไวเมื่อเจอคนแปลกหน้า หางเป็นพวง จัดเป็นสุนัขที่หายากและมีราคาแพง 
         3.หน้าจิ้งจอก คือ ใบหน้าแหลม ใบหูทั้งสองข้างใหญ่กว่าสองชนิดแรก หางเป็นพวง นิสัยไม่ค่อยดุร้าย
นิสัย
          บางแก้ว เป็นสุนัขที่มีนิสัยค่อนข้างดุ แต่มีความซื่อสัตย์และหวงเจ้าของมากเป็นพิเศษ ไม่ชอบคนแปลกหน้า มีความสามารถในการดมกลิ่นและจำเสียงเป็นเลิศ ตื่นตัวตลอดเวลา กล้าหาญ กินอาหารง่าย ชอบเล่นน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นสุนัขที่หวงสิ่งของในบ้าน หากคนภายนอกบ้านแตะต้องจะกัดทันทีและกัดไม่ปล่อย
มาตรฐานพันธุ์
ขนาดและส่วนสูงของสุนัข 
เพศผู้ความสูง      42- 53   (เซนติเมตร)
เพศเมียความสูง  39 - 49   (เซนติเมตร)
ส่วนน้ำหนักตัวของสุนัขจะอยู่ที่ 17 - 20 (กิโลกรัม)
ขน
ลักษณะขนเป็นขนยาวสองชั้นและหนา ชั้นนอกจะเหยียดยาวและฟู ส่วนขนชั้นในจะนิ่มละเอียด และมีขนยาวที่แผงคอ
สี
มีสีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.สีเดียว เช่น ขาว, ดำ, น้ำตาล, เทา และนาก
2.สีประ หรือสีผสม เช่น ขาว ดำ, ขาว น้ำตาล, ขาว นาก และเทาน้ำตาล
สีที่นิยม คือ ขาว, ขาว น้ำตาล, ขาว ดำ, ดำ และ ลายเสือ
การเลือกซื้อลูกสุนัขบางแก้ว 

           ข้อคิดในการเลือกซื้อสุนัข สุนัขบางแก้วเป็นสุนัขพื้นบ้านที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี โดยธรรมชาติของสุนัขบางแก้วแล้ว มีความรักเจ้าของ และสวยงามคล้ายสุนัขพันธุ์ต่างประเทศที่มีขนยาวสวยงาม หางเป็นพวง และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทย เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ แต่ว่าสุนัขบางแก้วมีข้อเสียเรื่องความดุ และบางครั้งอาจจะก้าวร้าวอาจมีปัญหาเรื่องพฤติกรรม อารมณ์ ฉะนั้นสุนัขบางแก้วควรได้รับการเลี้ยงดูและการฝึกให้อยู่ร่วมกับคนในสังคมอย่างถูกต้อง

           โดยสามารถเริ่มฝึกให้สุนัขมีการเรียนรู้พร้อมๆ กับการเลี้ยงดูได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข เพื่อให้สุนัขมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าของและสุนัข เพื่อให้เกิดการยอมรับและการไว้ใจ สามารถเข้าสังคมได้ดี เรื่องของพฤติกรรมและอารมณ์ของสุนัขจะดุหรือก้าวร้าวนั้นมีสาเหตุหลักประกอบด้วยสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ พันธุกรรม และส่วนที่สองคือการเรียนรู้

*ดังนั้นก่อนการตัดสินใจในการเลี้ยง ผู้เลี้ยงควรพิจารณาดังนี้
1. พันธุกรรม 


         เนื่องจากพันธุกรรมและอารมณ์ของสุนัขเมื่อโตเต็มที่นั้น ส่วนหนึ่งถ่ายทอดทางสายเลือด ดังนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อลุกสุนัขนั้นควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้ลูกสุนัขที่ปราศจากข้อบกพร่องที่ถ่ายทอดมาทางสายเลือด เพราะว่าข้อบกพร่องเหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรม และอารมณ์ของสุนัขอย่างมากในอนาคตเพราะสุนัขที่ถ่ายทอดสายเลือดไม่ดีอาจจะเป็นผลให้เกิดความพิการในจุดที่มองเห็น และมองไม่เห็นยังเป็นผลทำให้สุนัขต้องทนทุกข์ทรมานในความเจ็บปวดเป็นเวลานาน และเป็นสาเหตุให้สุนัขมีสุขภาพจิตไม่ดี มีพฤติกรรมออกมาทางในสิ่งที่เราไม่ต้องการ เช่น ก้าวร้าว ดุ หรือสุนัขกัดเจ้าของได้

สำหรับหลักในการพิจารณาลักษณะที่ดีของสุนัขบางแก้วที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้อ มี ดังนี้ 

         1. เลือกหูเล็กกว่าทุกตัวในครอกเดียวกัน ถ้าในกรณีที่ดูไม่ออกว่าเล็กกว่ากันหรือไม่คงต้องดูว่าคุณชอบตัวไหนมากกว่า เพราะสุนัขขณะที่ยังเล็กก็ดูเล็กไปหมดทุกส่วน

         2. กะโหลกศีรษะใหญ่ กระหม่อมแบนราบ หน้าผากโหนก ลักษณะนี้สุนัขบางแก้วไม่ได้มีทุกตัว เพราะเนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับเชื้อสาย พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ด้วย แต่ถ้าในกรณีที่มีโอกาสเลือกจากหลายครอก ก็เลือกจากครอกที่มีกะโหลกศีรษะใหญ่ก็ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สุนัขที่มีกะโหลกศีรษะเล็กจะเป็นข้อด้อยเพราะอย่างที่บอกว่าสุนัขไม่ได้มีกะโหลกใหญ่ทุกตัว และส่วนมากสุนัขที่มีกะโหลกใหญ่ หูของมันจะตั้งขึ้นช้ากว่าสุนัขที่มีกะโหลกเล็กกว่า เพราะฉะนั้นไม่ต้องตกใจ ถ้าท่านซื้อสุนัขไป 2 ตัวพร้อมกันแล้วอีกตัวหูยังไม่ตั้งต้องให้เวลาหน่อย เว้นแต่ว่าท่านโดนหลอกขายสุนัขพันธุ์อื่นแทนบางแก้ว

         3. โคนหางอวบใหญ่ หางใหญ่ยาวโน้มกลางหลังในลักษณะกำลังงามไม่มากเกินไป ไม่ไพล่หลัง หางไม่ขอด ไม่ม้วน

         4. ขนเส้นยาวนุ่ม ในกรณีที่ท่านเลือกซื้อตอนสุนัขยังเล็ก อย่างไรแล้วขนก็นุ่มเพราะยังไม่มีการถ่ายขน เพราะปกติสุนัขบางแก้วมีขนสองชั้น ชั้นในนุ่ม ชั้นนอกจะหยาบกว่า แต่อย่างไรก็ยังสัมผัสได้ว่านุ่มกว่าสุนัขพันธุ์ทั่วไปแน่นอน

         5. สีด่างได้ลักษณะ สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สุนัขบางแก้วนั้นแตกต่างจากสุนัขพันธุ์ ต่างประเทศ เพราะสุนัขพันธุ์ต่างประเทศ ถ้าเป็นสีไหนก็จะเป็นสีนั้นไปทั้งตัวอาจจะมีอ่อน เข้มต่างกันเท่านั้นแต่สุนัขบางแก้ว นอกจากจะมีสีต่างกันแล้ว เช่น ขาว-เทา ขาว- น้ำตาล ขาว-ดำ ยังมีข้อแตกต่างอีกว่าในแต่ละตัวจะมีแต้ม จะมีด่างตรงไหนบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าตัวใดจะมีลักษณะสวยงามอย่างไร อย่างเช่น บางตัวอาจแบ่งสีได้อย่างชัดเจนว่ามี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว กลาง ท้าย บางตัวก็อาจไม่เป็นเช่นนั้น แล้วแต่ว่าจะชอบแบบไหน หรือบางทีสีด่างอยู่ที่ตำแหน่งอื่นแต่ก็สวยไม่แพ้กันก็มี

         6. หน้าแด่น หรือแบ่งเป็นเส้นจากปลายปากถึงกะโหลกศีรษะ ถ้ามีน้อยไม่ยาวมากเรียกว่า แด่น แต่ถ้าเส้นยาวมีมากและแยกส่วนศีรษะออกเป็นสองส่วนเรียกว่า แบ่ง คุณลักษณะนี้เป็นลักษณะที่ถ้าสุนัขมีก็ตรงตามลักษณะที่สวยงามตามเกณฑ์ แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ใช่สุนัขบางแก้ว เพราะสุนัขบางตัวก็มีลักษณะเด่นอย่างอื่นแทนลักษณะที่ด้อยของตัวมันเองก็ได้

         7. ปลายปากแหลมเล็ก ถ้าปลายปากขาวเป็นวงรอบปลายปาก เรียกว่า ปากคาบแก้ว

         8. จมูกดำ ลูกนัยน์ตาเล็กมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม

         9. ขาใหญ่ ลักษณะที่ดี ขาหน้าจะต้องใหญ่กว่าขาหลัง

        10. รูปร่างสวยงามเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งท่านสามารถศึกษาดูได้จากมาตรฐานพันธุ์ว่ารูปสี่เหลี่ยมดูจากส่วนใดของสุนัข

        11. มีสุขภาพดี ร่าเริง ไม่อยู่นิ่ง



อาหารและการเลี้ยงดู 

 ผู้ เลี้ยง สุนัขพันธุ์บางแก้ว อาจต้องเจอกอุปนิสัยบางอย่างที่สืบเชื้อสายมาจากสุนัขป่า เช่น ด้วยความมีสัญชาตญาณนักล่า สุนัขพันธุ์บางแก้ว จะชอบจับสัตว์ต่างๆ มากัดเล่น หรือไม่ก็แอบกินเลย อันนี้ต้องระวังให้ดี โดยเฉพาะ สัตว์เลื้อยคลาน แทบทุกชนิดแม้กระทั่งงู สัตว์ปีกทุกชนิด แม้กระทั่งนกที่ว่าบินเร็วและสูงยังเสร็จมาแล้ว 

          นอกจากนั้น สุนัข บางแก้ว ยังชอบขุด ไม่ว่าจะเป็นสนามหญ้า กระถางต้นไม้ ใต้ถุน เมื่อขุดแล้ว บางแก้ว จะนำตัวเองเข้าไปนอนอยู่ในนั้นเลย ซึ่งนิสัยพวกนี้ส่วนใหญ่จะแก้ไม่หาย ตีไปก็เสียเปล่า โดยปกติ สุนัข บางแก้ว จะหยุดซนก็ต่อเมื่อ อายุ 2 ปีเข้าไปแล้ว แต่หากทำให้ บางแก้ว มีวินัยตั้งแต่ยังเล็ก หมั่นฝึกไม่ว่าจะเป็นการกิน การขับถ่าย การนอน การเล่น แล้วปัญหาข้างต้นจะไม่เกิดขึ้นอีก 

          สำหรับอาหารนั้น สุนัข บางแก้ว เป็น สุนัข ที่กินอาหารง่าย และปริมาณการให้ก็ไม่มากด้วย เพื่อความสะดวก ก็ควรเลี้ยงอาหารสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป หรือ ถ้าพอมีเวลาอาจจะให้ข้าวก็ได้ กับข้าวกินได้ทุกชนิด แต่ควรระวังเรื่องกระดูกซักหน่อย สุนัข บางแก้ว สามารถกินผักได้เกือบทุกชนิดแล้วแต่ผู้เลี้ยงจะฝึกหัด 

          ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนอาหาร เช่น ปกติเลี้ยงข้าว แต่ต่อมาต้องการความสะดวกจึงเปลี่ยนมาเลี้ยงอาหารเม็ดแต่สุนัขไม่ยอมกิน ในลักษณะนี้ผู้เลี้ยงต้องใจแข็งสักหน่อย อย่าตามใจเป็นอันขาด ลองทิ้งอาหารเม็ดไว้ให้เขาประมาณ 20 นาที ถ้าไม่กินก็เก็บแล้วนำมาเลี้ยงในมื้อต่อไป ทำเช่นนี้จนกว่า สุนัข จะยอมรับอาหาร 

          ด้านการทำความสะอาด การอาบน้ำ สุนัข ถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่ระวังอาจทำให้เขาป่วยได้เพราะอุณหภูมิร่างกาย สุนัข นั้นสูงกว่าคนเรา น้ำที่เราคิดว่าเย็นไม่มากอาจจะเย็นเกินไปสำหรับ สุนัข จึงควรอาบน้ำให้เขาในช่วงกลางวันขณะที่น้ำและอากาศไม่เย็นมาก หลังจากอาบเสร็จ ให้เช็ดตัว สุนัข ให้แห้ง ถ้าเป็น สุนัข ที่ขนยาวก็อาจใช้เครื่องเป่าผมเพื่อช่วยให้ สุนัข ไม่หนาวมากเกิน ไป ถ้าทำความสะอาดขนของเขาเป็นอย่างดี อาจไม่ต้องอาบน้ำบ่อยก็ได้ ควรถูสบู่เมื่อขนของเขาสกปรกมาก มีกลิ่นตัว หรือมีหมัดเท่านั้น อย่าอาบน้ำให้ สุนัข เกินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพราะถ้าอาบบ่อยเกินไปอาจทำให้ผิวหนังของ สุนัข แห้งและคัน ซึ่งจะมีปัญหาโรคผิวหนังตามมา และในขณะอาบน้ำควรระวังอย่าให้น้ำเข้าหู สุนัข ด้วย

โรคที่พบบ่อย

          โรคไข้หัดเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายใน สุนัข และ สุนัขพันธุ์บางแก้ว ง่ายต่อการเกิดโรคนี้มาก สาเหตของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส Canine Distemper virus หรือ CDV RNA Virus Paramyxovirus การติดต่อ สามารถติดต่อทางระบบหายใจ จะติดทางน้ำมูก ขี้ตา น้ำลาย โดยหายใจเข้าไปหรือ หรือจากการสัมผัสอาการของโรค สุนัข จะเสียชีวิตในที่สุด

          ทั้งนี้ โรคไข้หัด มีอยู่หลายชนิดตามอาการ ซึ่งอาการป่วยของ สุนัข บางแก้ว ที่เป็นไข้หัด จะพบอาการรวมๆ คือ ครั้งแรกจะพบว่ามีไข้ขึ้น อยู่ไม่สุข ไม่กินอาหาร มีน้ำมูกออกมาสีเหมือนน้ำหนอง หรือมีขี้ตาเป็นน้ำหนองสีขาวข้น อุจจาระเหม็นเป็นกลิ่นเฉพาะของโรคนี้เท่านั้น มีอาการชัก โดยแสดงอาการนั่งหรือเดินถอยหลังด้วยอาการน้ำลายฟูมปาก ขากรรไกรล่างเคี้ยวตลอดเวลา หัวสั่น แล้วจะหยุดชักเหมือน สุนัข ปกติ แล้วชักอีกอาการชักจะถี่เข้าเรื่อยๆ จนเสียชีวิตในที่สุด แต่กว่าจะเสียชีวิต สุนัข จะทรมานอยู่อย่างนั้น 2-3 อาทิตย์

          สุนัข ที่ป่วยด้วย โรคไข้หัด ประมาณ 90% มักจะเสียชีวิต หากรักษาหาย สุนัข ก็เป็นแบบเรื้อรัง จะแสดงอาการทางประสาท เดินโซเซ หรือเดินสั่น แคระแกรน ซึ่งผู้เลี้ยงควรใส่ใจให้วิตามินตามคำแนะนำของแพทย์ และรักษาตามอาการของโรค เช่น ให้น้ำเกลือ ยาระงับชัก แต่สุดท้ายเจ้าหมาน้อยแสนรักก็จะจากไปในที่สุด ดังนั้น การป้องกันโรคไข้หัดที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนให้กับ สุนัข ไว้ตั้งแต่ยังเล็กและฉีดสม่ำเสมอทุกปีเป็นดีที่สุด



อ้างอิง

http://pet.kapook.com/view154.html
http://women.sanook.com/pets/breed/dogs_44161.php
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7

เทคนิคการเลี้ยงลูกสุนัขบางแก้วให้มีคุณภาพ

เทคนิคการเลี้ยงลูกสุนัขบางแก้วให้มีคุณภาพ (สื่อรักสัตว์เลี้ยง)
  
          เทคนิคการเลี้ยงลูกสุนัขบางแก้วให้มีคุณภาพประกอบด้วยปัจจัยหลักๆ 4 ประการ คือ

          1. สภาพแวดล้อม หรืออาณาบริเวณที่ใช้เลี้ยงลูกสุนัข หรือพูดง่ายๆคือสถานที่ที่ลูกหมาบางแก้วใช้เวลาส่วนใหญ่เป็นที่อยู่ ที่กิน ที่นอน ที่เล่น ควรให้ใกล้กับที่ซึ่งคนในบ้านเดินผ่านไปมา  เพื่อลูกหมาจะได้เห็นและสัมผัสกับคนในบ้าน เป็นการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันของผู้เลี้ยงกับลูกหมาบางแก้ว นอกจากนี้ควรมีการวิ่งออกกำลังกายกับลูกหมา เพื่อสร้างกิจกรรมร่วมและเป็นเริ่มต้นในการเรียนรู้พื้นฐาน

          บริเวณที่ลูกหมาอยู่ พื้นจะต้องไม่ลื่นโดยเด็ดขาด เพราะถ้าพื้นลื่นจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกหมาบางแก้วขาเสีย มีอาการดังนี้ คือ ส่วนปลายของขาทั้ง 2 คู่จะแบะออกจากกัน นิ้วเท้าจะกางออก ขาหลังจะเดินขัดหรือกระเผก เพราะว่าลูกหมาบางแก้วจะค่อนข้างปราดเปรียว ว่องไว เวลาที่อยู่บนพื้นผิวที่ลื่น ลูกหมาจะต้องปรับสภาพตัวเองให้สามารถทรงตัวอยู่บนพื้นลื่นนั้นให้ได้ คล้ายๆ เวลาคนที่ยืนบนที่ลื่นก็ต้องกางขาออก เพื่อให้น้ำหนักตัวกระจายออกไป ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพนี้ไปนานๆ ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดข้อสะโพก

          2. ความสะอาด อย่าปล่อยให้มีการหมักหมมของสิ่งสกปรก อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ ควรมีการทำความสะอาดทุกวัน และควรทำให้พื้นแห้งเร็วที่สุด เพราะสิ่งสกปรกเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ควรราดพื้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคด้วยจะเป็นการดี เพราะนอกจากจะเป็นการฆ่าเชื้อแล้ว ยังช่วยดับกลิ่นไม่พึงประสงค์อีกด้วย ทำให้สุขภาพลูกหมาแข็งแรงสมบูรณ์



          3. ลม แดด ฝน บริเวณ ที่อยู่ของลูกหมาควรมีแดดส่องในตอนเช้า เพราะแสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรค และควรให้มีอากาศถ่ายเทดี แต่ต้องไม่มีลมโกรก ฝนสาด เพราะจะทำให้ลูกหมาไม่สบายได้

          4. การให้อาหาร โดยทั่วไปลูกหมามักจะกินเก่งและจุ ทำให้น้ำหนักตัวขึ้นเร็วมาก เพราะอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ ดังนั้น ต้องควบคุมอาหาร การให้อาหารต้องใช้สูตรที่ว่า "ทำอย่างไรจึงไม่อ้วน แต่มีสุขภาพแข็งแรง" แต่ ก็ไม่ได้หมายความว่าเลี้ยงจนผอมเกินไป ควรให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสม วิธีให้อาหาร ให้อย่างไร ต้องให้ในปริมาณที่พอเหมาะ พอเพียงในแต่ละวัน การให้อาหารจะแบ่งเป็นมื้อๆ เพื่อให้ขนาดที่พอเหมาะกับขนาดของกระเพาอาหาร อย่างให้กินจนพุงกางเกินไป จำนวนมื้ออกาหารควรสัมพันธ์กับอายุ เพราะกระเพาะอาหารจะขยายใหญ่ขึ้นตามอายุด้วย อายุต่ำกว่า 3 เดือน 4 มื้อต่อวัน / 3-6 เดือน 3 มื้อต่อวัน/ 6-18 เดือน 2 มื้อ และ 18 เดือนขึ้นไป 1 มื้อ

          ข้อดีของการให้อาหารเป็นมื้อคือ สามารถสังเกตว่าลูกหมาป่วยหรือไม่ เพราะโดยปกติถ้าป่วย จะกินอาหารน้อยลง หรือไม่กินเลย เป็นการฝึกให้กินอาหารเป็นเวลา กะเวลาดูว่าพอสมควร ถ้ายังไม่หมดให้เก็บกลับทันที ไม่ต้องกลัวว่ามันจะหิวตาย

          ส่วนชนิดของอาหาร ควรเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป จะยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ทุนทรัพย์ตามสะดวก อาหารเสริมจำพวกวิตามิน หรือยาบำรุ่งต่างๆ แคลเซียม จะทำให้ลูกหมามีโครงสร้างที่ดี น้ำควรตั้งเอาไว้ให้ตลอดเวลา แล้วน้ำก็ต้องสะอาดด้วย รวมทั้งควรมีที่รองและตั้งระดับได้ เพื่อให้ลูกหมายืนสวย

การดูแลลูกสุนัขช่วงตั้งแต่แรกเกิด

ลูกสุนัขจะเจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง หรืออ่อนแอตายไปก็ช่วงอายุนี้ เราอาจจะแบ่งแยกการเลี้ยงดูลูกสุนัขเป็นช่วงอายุ ดังนี้



1. ช่วงอายุแรกเกิดถึง 7 วันแรก

ใน ระยะ 7 วันแรกนี้ ถ้าลูกสุนัขออกมาจำนวนไม่มาก และสมบูรณ์เท่ากันทุกตัว เจ้าของคงไม่ต้องดูและอะไรให้ยุ่งยาก เพราะเป็นหน้าที่ของแม่สุนัขที่คอยให้ลูกได้กินนม
แต่ถ้าลุกสุนัข ออกมาจำนวนมาก มีตัวใหญ่บ้าง ตัวเล็กบ้าง แข็งแรงไม่เท่ากัน เจ้าของต้องให้การดูแลเป้นสิ่งสำคัญ ลูสนัขที่ไม่แข็งแรง ตัวเล็กกว่า จะเสียงต่อการสูญเสีย ถ้าแม่สุนัขเลี้ยงลูกเก่ง เจ้าของก็เบาใจ
แต่ถ้าแม่สุนัขเลี้ยงลูกไม่เป็น เจ้าของต้องมีหน้าที่คอยดูแลจับลูกสุนัขให้กินนมแม่ และคอยระวังไม่ให้แม่นอนทับลูก

อาหาร

อาหาร ช่วงแรกเกิดถึง 7 วัน คือนมจากแม่สุนัข ซึ่งมีประโยชน์สูงสุดมีคุณค่ามาก โดยเฉพาะ 2 – 3 วันแรก แม่สุนัขจะมีนมเหลือง ควรพยายามให้ลุกสุนัขได้กินนมเหลืองจากแม่สุนัข
แม่สุนัขที่มีน้ำนม มากพอต่อลูกสุนัขทุกตัว สังเกตได้ว่าลูกสุนัขจะอ้วนท้วนสมบูรณ์แข็งแรงทุกตัว แต่ถ้าแม่สุนัขไม่มีน้ำนมเพียงพอ เจ้าของต้องป้อนนมเสริมให้ลูกสุนัข เช่น นมแพะยี่ห้อฮันนี่ หรือเอสบิแลค (ราคาแพงมาก) มีทั้งชนิดเป็นน้ำและเป็นผง
อัตราการให้นมลูกสุนัข มากน้อยขึ้นกับน้ำหนักตัว
อายุ 2 วัน ให้นม 15 ซีซี หรือครึ่งออนซ์ต่อครั้งทุก 3 ชั่วโมง
อายุ 3 – 4 วัน ให้นม 20 ซีซี หรือ 2 ใน 3 ออนซ์ ให้ทุก 3 – 4 ชั่วโมง
อายุ 5 – 7 วัน ให้นม 30 ซีซี หรือ 1 ออนซ์ให้ทุก 4 ชั่วโมง
ค่อยๆ เพิ่มจำนวนนมที่ป้อนลูกสุนัขที่กินแต่ละวัน
ระยะ นี้ที่เป็นอันตรายต่อลูกสุนัข คือ น้ำนมเป็นพิษ ถ้าพบว่าแม่สุนัขน้ำนมเป็นพิษ เมื่อลูกสุนัขกินลงไปและช่วยไม่ทัน จะทำให้ลูกสุนัขถึงตายได้ เจ้าของต้องมีความละเอียดรอบคอบ
สังเกต เต้านมเสมอ ถ้าเต้านมมีลักษณะเป็น ไตแข็ง หรือน้ำนมมีสีเป็นหนอง ควรนำแม่สุนัขไปพบแพทย์ตรวจรักษา จะได้แก้ไขตั้งแต่ระยะแรก จะช่วยให้การสูญเสียลูกสุนัขเกิดขึ้นน้อย

ที่นอน

ที่นอนของ แม่สุนัขและลูกอ่อนจะต้องสะอาดเป็นสำคัญ มีผ้าปูให้แม่และลูกสุนัขอบอุ่น ไม่ควรให้นอนอยู่ในที่มืดมิดหรืออับชื้นเกินไป ควรจัดพื้นที่ขนาดพอกับแม่และลูกสุนัข จัดให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก ช่วยให้แม่สุนัขเลี้ยงลูกได้ดี

2. การบำรุงเลี้ยงดูลูกสุนัขในช่วงอายุ 8 – 14 วัน

ลูกสุนัขย่างเข้าอายุ 8 วัน นับว่าพ้นระยะอันตรายมาได้ขั้นหนึ่งแล้ว แต่ก็มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายอย่างดังนี้
2.1 เมื่อลูกสุนัขอายุได้ 7 – 8 วัน ลูกสุนัขเริ่มมีเล็บคมและยาวออกมาพอควร ซึ่งในขณะที่ลูกสุนัขกำลังดูดนมแม่ ลูกสุนัขจะยันและตะกุยเต้านมแม่สุนัข ทำให้เต้านมโดนข่วนและเป็นแผล แม่สุนัขจะเจ็บและไม่อยากให้ลูกสุนัขดูดนมอีก
เจ้าของต้องตัดปลายเล็บด้วยความระมัดระวัง เพราะลูกสุนัขจะดิ้นและเล็บยังนิดเดียว ไม่ตัดเข้าไปลึกมาก จะทำให้เลือดออกและเป็นแผลที่ปลายเล็บ ให้ตัดแค่ปลายเล็บประมาณ 1 มิลลิเมตรเท่านั้น
2.2 ลูกสุนัขเริ่มลืมตาในช่วงอายุนี้หรืออายุประมาณ 10 – 14 วัน แต่จะมองไม่เห็นชัด แต่จะเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น
2.3 ลูกสุนัขเริ่มแข็งแรงมากขึ้น มีการตะเกียกตะกายคลานอยู่รอบพื้นที่นอนได้ ถ้ารั้วกั้นพื้นที่นอนต่ำไปก็ต้องเพิ่มความสูง ให้สูงขึ้นประมาณ 1 ฟุต ให้แม่สุนัขเข้าออกได้สะดวกเมื่อแม่สุนัขต้องการจะนอนพักภายนอกพื้นที่นอน ของลูกสุนั
ขเป็นครั้งคราว
2.4 ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ ลูกสุนัขกินนมมากขึ้นย่อมถ่ายเพิ่มขึ้นตลอดวัน ปรกติอุจจาระ แม่สุนัขจะเลียให้สะอาด ส่วนปัสสาวะจะก่อให้เกิดความสกปรกและหมักหมม ดังนั้นผ้าปูที่นอน ต้องนำออกมาทำความสะอาดผลัดเปลี่ยนทุกวัน ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่เป็นพิษต่อผิวหนัง ผสมน้ำเช็ดพื้นที่นอนทุกวัน หรือวันเว้นวัน แล้วแต่ว่าสกปรกมากหรือน้อย
2.5 อาหารของลูกสุนัขในช่วงอายุนี่ คือ นมแม่ ลูกสุนัขจะกินแล้วก็นอน
3. การบำรุงเลี้ยงดูลูกสุนัขในช่วงอายุ 15 – 21 วัน
ลูกสุนัขอายุพ้นสัปดาห์ที่ 2 ย่อมมีความแข็งแรงขึ้นมาก และปฏิกิริยาตอบสนอง เรียนรู้จักสิ่งแวดล้อมต่างๆ ดังนี้
3.1 ลูกสุนัขลืมตาได้แล้ว ย่อมเห็นโลกกว้างขึ้น เมื่อตัวเติบโต มีกำลังแขน ขา ช่วงนี้จะพัฒนาคืบคลานมากขึ้นจนถึงเริ่มหัดเดิน ยืน เดินได้เมื่ออายุประมาณ 21 วัน
3.2 ลูกสุนัขเริ่มมีปฏิกิริยารู้สึกร้อน หนาว อิ่ม หิว จะส่งเสียงร้องงอแงเมื่ออากาศร้อน จะขดตัวหนาวสั่น เมื่ออากาศเย็นมาก เมื่อหิวนมจะส่งเสียงร้องดังได้
3.3 ลูกสุนัขเริ่มคลานไปถ่ายปัสสาวะ อุจจาระเองได้ โดยแม่สุนัขไม่ต้องเลีย เจ้าของต้องดูแลเรื่องความสะอาดของที่นอน และตัวลูกสุนัข หากลูกสุนัขนอนทับอุจจาระเปื้อนเปรอะ เจ้าของต้องเช็ดตัวลูกสุนัขด้วยน้ำอุ่นและเช็ดด้วยผ้าแห้งอีกทีให้ลูกสุนัข สะอาด
3.4 ลูกสุนัขต้องการพื้นที่มากขึ้นในการคลานและเดิน เจ้าของต้องขยายพื้นที่ให้กว้างขึ้น
3.5 ลูกสุนัขต้องการเรียนรู้สิ่งที่แปลกใหม่จากสิ่งแวดล้อม เช่น ต้องการให้จับอุ้ม ลูบคลำ
3.6 ช่วงอายุ 3 สัปดาห์ ลูกสุนัขจะเริ่มเลียนมจากจานกินเองได้ เจ้าของต้องคอยควบคุมดูแลอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา เพราะเริ่มแรกลูกสุนัขยังอาจเลียไม่เป็น แต่ธรรมชาติจะสอนให้ลูกสุนัขรู้ว่านมเป็นอาหาร ครั้งแรกลูกสุนัขจะก้มลงดูด อาจทำให้สำลักและเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ เจ้าของต้องสอนให้รู้จักเลีย คือ ใช้นิ้วมือที่สะอาดจิ่มน้ำมนมแล้วให้ลูกสุนัขเลียนมจากนิ้วได้ แล้วค่อยๆ เลื่อนนิ้วลงใกล้จานนม ซึ่งลูกสุนัขจะรู้จักเลียเป็นเองในที่สุด

3.7 อาหารในช่วงอายุ 21 วัน จะเพิ่มโปรตีน แร่ธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการบำรุงลูกสุนัข ได้แก่ ไข่แดง ต้มให้สุก ใช้แต่ส่วนของไข่แดงผสมกับนมที่ใช้เลี้ยงลูกสุนัข ตั้งไฟความร้อนประมาณ 50 องศา หรือสังเกตุความร้อนเรื่มเดือดก็เพียงพอ ปริมาณอาหารที่ผสมนี้ให้ประมาณวันละ 1 ครั้ง เวลาเช้า หรือวันละ 1 – 2 ครั้ง เช้าหรือเย็น ไม่จำเป็นต้องพิถีพิ๔นนัก เพราะลูกกินนมแม่เป็นอาหารหลักอยู่แล้ว
สำหรับโรคร้ายของลูกสุนัขในช่วงอายุ 21 วัน คือ พยาธิ โดยเฉพาะพยาธิตัวกลมทำให้ลูกสุนัขตัวพ่ายผอม หรือเสียชีวิตได้ง่าย

ส่วน พยาธิปากขอที่มีอันตรายสำคัญ จะไปคุกคามในวัยต่อๆ ไป เพราะการเกิดของพยาธิปากขอต้องอาศัยระยะเวลาในการฟักตัวนานกว่าโรคอื่นๆ พบได้น้อยในลูกสุนัขช่วงอายุนี้
วิธีป้องกันแก้ไข คือ ให้ลูกสุนัขกินยาถ่ายพยาธิของเด็ก ให้ตามน้ำหนักของสุนัข
ข้อมูลจาก http://www.yorkshirefamily.com/webboard/index.php?showtopic=134
ขอบคุณพี่เปิ้ล บอร์ดครอบครัวยอร์คด้วยค่ะ

การดูเเลหมาเเรกเกิด

ก่อน อื่นต้องเข้าใจธรรมชาติของลูกหมาแรกเกิด ว่าระบบร่างกายของเจ้าตัวน้อยเหมือนและต่างไปจากหมาโตอย่างไร หากแยกแยะความแตกต่างตรงนี้ได้ย่อมสามารถสังเกตดูได้ว่า ลูกหมามีความผิดปรกติใดหรือไม่ในระยะ 36 ชั่วโมงแรกหลังการเกิด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายลูกหมาต้องปรับตัวมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ตับ ไต เป็นการเริ่มต้นวงจรชีวิตที่ต้องทำด้วยตัวมันเองหลังจากพึ่งพาแม่ขณะอยู่ใน ท้องมานานแล้ว
ลูกหมาเป็นปรกติดีหรือไม่นั้นต้องหมั่นดูแลอย่างต่อ เนื่องจนมั่นใจว่าลูกหมาตัวนั้นปลอดภัย เบื้องต้นเมื่อเห็นว่ามีลูกหมาค่อยๆ โผล่ออกจากร่างกายของแม่หมาแล้ว ให้จัดการตัดสายสะดือ แล้วเช็ดตัวลูกหมาเพื่อเอาน้ำคร่ำและเศษเลือดออกจนสะอาด จากนั้นเริ่มการสำรวจดูก่อนว่าสัตว์มีสภาพร่างกายที่ปรกติไหม เริ่มจากการตรวจดูจากภายนอกก่อนว่าอวัยวะของสัตว์มีจำนวนครบและมีลักษณะ สมบูรณ์หรือไม่ เช่นว่ามี ตา หู จมูก ปาก ขา เท้า หาง อวัยวะเพศและรูทวาร ครบและสมบูรณ์ไหม แล้วอย่าลืมเปิดปากสังเกตดูเพดานปากของเค้าด้วย เพราะลูกหมาบางตัวอาจมีอาการเพดานปากโหว่
นอกจากใส่ใจเรื่องร่างกาย ลูกสัตว์แล้ว พฤติกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเข้าใจด้วย เช่นว่า ลูกหมาแรกเกิดยังเดินไม่ได้ หูไม่ได้ยิน ตามองไม่เห็น การรับรู้ต้องอาศัยประสาทสัมผัสที่ผิวหนัง รับรู้ความร้อน ความหนาว ความเย็น และความอบอุ่น สัญชาตญาณจะผลักดันให้มันกลิ้งตัวเข้าไปซุกในส่วนที่อบอุ่น เช่นเต้านมของแม่สัตว์ เพราะในขณะนั้นเต้านมแม่หมาจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นและบริเวณช่องท้องส่วน นั้นสามารถกกให้ความอบอุ่นแก่ลูกได้ จากนั้นมันจะเริ่มดูดนมของแม่หมา ถ้าสังเกตแล้วพบว่ามีลูกหมานอนอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนตัวเข้าหาแม่หมา หรือในทางตรงข้ามแม่สัตว์ไม่กกและคาบออกไปให้ไกลตัว ทีนี้เป็นหน้าที่ของท่านล่ะที่ต้องรีบนำลูกสุนัขตัวนั้นมาดูแลเอง ดูว่าเค้ามีปัญหาอะไรหรือไม่ เช่น อุณหภูมิร่างกายต่ำลงตัวเย็นไหม หายใจได้เบาและช้าลงกว่าปรกติไหม ถ้าพบอาการที่ว่าต้องรีบพาไปให้สัตวแพทย์ช่วยเหลือโดยด่วน

ควรรู้ ไว้ว่า ลูกหมาแรกเกิดถึงอายุ 6 วัน มีอัตราการหายใจที่ต่ำ เฉลี่ยที่ 12 ครั้งต่อนาที เมื่ออายุได้ 7-35 วัน อัตราการหายใจที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 20-30 ครั้งต่อนาที และเมื่อมากกว่า 35 วันจะอยู่ที่ 15-30 ครั้งต่อนาที ส่วนอุณหภูมิของร่างกายสัตว์แรกเกิดจนถึงอายุ 14 วัน อยู่ที่ 94-99 องศาฟาเรนไฮต์ เมื่ออายุได้ 15-28 วัน อุณหภูมิร่างกายของลูกหมาจะสูงขึ้นอยู่ที่ 97-100 องศาฟาเรนไฮต์ และเมื่ออายุได้ 35 วันจะมีอุณหภูมิที่ 101.5 องศาฟาเรนไฮต์ สรุปว่าสัปดาห์แรกของการมีชีวิตของลูกหมานั้นร่างกายไม่สามารถรักษาความร้อน ไว้ได้ หมาจะตัวเย็นได้ง่ายมากถ้าไม่มีแม่หมากกให้ความอบอุ่น ลูกหมาบางตัวที่มีความผิดปรกติในเรื่องการกินอาหาร ร่างกายจะเย็นลงด้วยเช่นกันเนื่องจากไม่มีการเผาผลาญพลังงานให้ได้ความร้อน ออกมาตามปรกติ การที่อุณหภูมิลดต่ำลงเป็นเรื่องน่าอันตรายมาก สัตว์จะตายจากภาวะดังกล่าวได้

ดูแลลูกหมาแรกเกิดอย่างไร ถ้าเกิดมาแล้วแม่หมาเลี้ยงดูอย่างดี กกลูกเป็น มีน้ำนมให้ลูกกิน กรณีนี้ไม่มีปัญหา เราดูแลอยู่ห่างๆ ได้ เพียงแต่ต้องชั่งน้ำหนักลูกหมาในวันแรกไว้ด้วย เพราะว่าน้ำหนักตัวจะบอกเราว่าลูกหมามีร่างกายเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นหรือไม่

เมื่อ ชั่งและจดบันทึกแล้วก็ควรทำสัญลักษณ์ไว้ด้วยจะได้ไม่สับสนว่าตัวไหนเป็นตัว ไหน ปรกติแล้วเมื่อระยะเวลาผ่านไป 7-8 วันน้ำหนักตัวของลูกหมาจะเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวของน้ำหนักตัวแรกเกิด ถ้าไม่เพิ่มหรือลดลงนี่ล่ะน่าตกใจ เพราะนั่นแสดงว่าหมามีอัตราการเจริญเติบโตที่ผิดปรกติแล้ว ทีนี้ต้องมาวิเคราะห์สาเหตุกันแล้ว

ปัญหาของลูกหมาแรกเกิด มีแตกต่างกันไปตามสภาวการณ์ของสัตว์ กรณีที่เกิดจากแม่หมา เช่น ไม่ยอมเลี้ยงลูก หรือไม่มีน้ำนมให้กิน หรือมีพฤติกรรมที่ผิดปรกติเช่นรังเกียจลูกตัวเอง กินลูกตัวเอง หากเป็นกรณีที่กล่าวมาเราต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในช่วงวันแรกๆ ถ้าเกิดจากแม่หมาไม่เลี้ยงลูก ไม่กก ไม่ยอมให้นม เราต้องทำหน้าที่เลี้ยงดูลูกหมาแทนแล้วครับ การให้นมเป็นสิ่งสำคัญมาก เราต้องหาขวดนมและจุกนมที่มีขนาดพอเหมาะพอเจาะกับปากของลูกสัตว์ เจ้าตัวน้อยก็จะได้ดูดกินอย่างสะดวก หลังจากกินนมอิ่มอย่าลืมเอาสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดอย่างเบามือบริเวณอวัยวะเพศ และรูทวารจะได้ช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่าย เมื่อลูกหมากินอิ่มดี ขับถ่ายปรกติทำให้นอนหลับสบาย
กรณีที่เกิดจากลูกหมาเองผิดปกติ เช่น เกิดมามีรูปร่างผิดปรกติ อวัยวะไม่ครบ มีน้ำหนักตัวเบากว่าปรกติ ไม่มีแรงดูดนม หรือมีอุณหภูมิร่างกายที่ต่ำตัวเย็น เหล่านี้ผิดปรกติเช่นกัน ควรรีบพาลูกหมาไปให้คุณหมอช่วยเหลือโดยด่วน

กรณีที่เกิดจากสิ่งแวด ล้อม ส่งผลเสียต่อตัวลูกหมาได้ เช่น อากาศโดยรอบหนาวเย็น หรือช่วงนี้ที่ฝนตกและมีความชื้นสูง อากาศเย็นนั้นจะส่งผลต่อลูกสัตว์ได้โดยตรง เพราะตัวเค้าจะเย็นตามบรรยากาศโดยรอบได้เนื่องจากลูกหมายังไม่สามารถรักษา อุณหภูมิร่างกายไว้ได้ ดังนั้น การทำรังออกลูกของแม่หมาจึงสำคัญ
สถาน ที่ที่เหมาะสมคือ ที่อบอุ่น ลมไม่โกรก และปราศจากสิ่งรบกวนความสงบ ความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญอีกข้อหนึ่งเนื่องจากลูกหมาแรกเกิดมักมีน้ำคร่ำ เลือด เปื้อนเนื้อเปื้อนตัว ถ้าเราไม่เช็ดทำความสะอาดแล้วความเลอะเทอะนั่นล่ะครับจะเป็นตัวเพาะเชื้อ โรคอย่างดี ทำให้ลูกหมาเกิดปัญหาป่วยเป็นโรคได้ เช่น โรคผิวหนังอักเสบเป็นตุ่มหนอง หรือตัวแม่หมาอาจเป็นโรคเต้านมอักเสบ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็ส่งผลต่อตัวลูกสัตว์เพราะทำให้ท้องเสียและอาจตาย ได้ง่ายๆ กล่าวโดยรวม คอกของแม่หมาต้องสะอาด แห้ง และไม่มีมูลของเค้าถ่ายเรี่ยราด วัสดุที่บุรองพื้นต้องหมั่นเปลี่ยนหรือทำความสะอาดอยู่เสมอ ป้องกันไว้ก่อนดีกว่า

หากลูกหมาเกิดมาสกปรกและเลอะเทอะมาก เจ้าของพยายามเช็ดด้วยผ้าขนหนูแล้วก็ยังไม่ออก เราสามารถใช้น้ำอุ่นพรมพร้อมกับเช็ดตัวเพื่อชะเอาสิ่งสกปรกออกได้ เพราะน้ำอุ่นจะไม่ทำให้เกิดปัญหาลูกหมาป่วยเป็นไข้ หรือมีการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายไป และที่สำคัญจับแม่หมาล้างตัวทำความสะอาดด้วยครับ เพราะหากแม่หมาเนื้อตัวสกปรกนี่ล่ะจะเป็นสาเหตุสำคัญที่นำโรคภัยไข้เจ็บมา สู่เจ้าตัวน้อยแสนน่ารัก

จากhttp://www.petgang.com/healthy/index.php?Group=13&Id=29

เมื่อลูกสุนัขคลอดออกมาแล้ว อย่าลืมแยกของเขาออกจากแม่ และแยกออกจากกัน ใส่ตะกร้า ทำช่องกั้นไว้นะ
ให้ จับแยกไปไว้ในที่แห้ง สะอาด ไม่ถูกลมเป่า และควรมีหลอดไฟ 100 แรงเทียนส่องเพื่อให้ความอบอุ่นด้วย (ควรตั้งหลอดไฟห่างประมาณ 30 ซม. และไม่ควรให้แสงส่องโดนดวงตาตรงๆ ควรมีการพรางแสงบ้าง ไม่งั้นเดี๋ยวตาบอดได้ครับ) จับให้มาเจอกันตอนให้นมก็พอ
การที่ปล่อยให้แม่เข้ามาเลี้ยงลูกเอง ย่อมมีอันตรายอยู่บ้าง
เช่น เหยียบลูก คาบลูกไป-มาบ่อยๆ เป็นต้น
ยืนยันว่า ควรต้องแยกให้พ้นโดยเด็ดขาด ในเวลาที่ลูกๆ นอน
เอามาให้เจอกันเฉพาะบางเวลาที่ตื่น เช่น กินนม ตอนขับถ่าย (เพราะแม่จะช่วยเลีย ทำความสะอาดให้)
ถ้าแม่สุนัขไม่มีนมให้ลูก ก็ไม่เป็นไร
ใช้นมผงยี่ห้อ esbilac ชงให้แทนได้ รับรองทานแล้วแข็งแรง (ที่บ้านใช้มาแล้ว ทั้ง 4 ตัวแข็งแรงเป็นกระบือเลย) ให้ทุกๆ 4-6 ชม. ก็ได้
เรื่องปริมาณนมในช่วงเดือนแรกๆ น่าจะไม่เกินครั้งละ 10-20 cc.
ห่างกันครั้งละ 4 ชม. ปริมาณนม จะสังเกตได้ว่า ตัวเล็กท้องป่องแล้วหรือยัง ถ้าท้องป่อง แบบคนลงพุง ก็แสดงว่าอิ่ม พอได้แล้ว
ส่วนอายุเท่าไหร่เริ่มเลียนมได้ ก็คงประมาณเดือนถึงเดือนเศษๆ หลังจากนั้น ก็เริ่มบดอาหารเม็ดปนใส่นมให้เลีย
แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดหลังจาก 2 เดือนไปแล้ว (ถ้าเขาเริ่มกินเองได้แล้ว)
ให้อบไฟด้วยค่ะ สำคัญมากค่ะ ยิ่งตอนนี้อากาศเริ่มเย็นๆแล้วด้วยใช้ไฟไม่เกิน 60W อบตลอดเวลาเลยนะคะ อบแม่เค้าไปด้วยก็ดี

วิธีการเลี้ยงดูสุนัขพันธุ์ ชิสุห์

หมาท้อง

อาหารที่เลี้ยงหมาที่กำลังตั้งท้องนั้นจะต้องมีคุณภาพสูง โปรตีนมาก ไขมันน้อย ขนาดและปริมาณที่ให้ในระยะ 6 อาทิตย์แรกของการตั้งท้องพอ ๆ กับใช้เลี้ยงดูหมาใหญ่ หรือหมาโตเต็มวัย ในประจำวัน แต่เราจะเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้นตามน้ำหนักตัวหมาในระยะ 3 อาทิตย์สุดท้ายก่อนคลอดคือ เพิ่มอาหารให้ปริมาณ 15-20 % ของน้ำหนักตัวแม่หมา
ก่อนคลอด 1 – 2 วัน แม่หมาบางตัวมักไม่ค่อยกินอาหารหรือไม่กินเลย เพราะมัวแต่หาสถานที่คลอดลูก โดยเฉพาะแม่หมาสาวท้องแรก ฉะนั้นอย่าตกใจจนเกินไป หลังคลอดแล้วก็จะกินอาหารเอง ข้อพึงระวัง อย่าขุนมหาจนอ้วนเกินไปจนไม่มีแรงในการเบ่งคลอดลูก

หมาแม่ลูกอ่อน

อาหารที่ใช้เลี้ยงหมาแม่ลูกอ่อนไม่ได้มีให้เฉพาะแม่หมาเท่านั้น มันต้องถ่ายทอดไปยังลูกหมาด้วย โดยการเปลี่ยนเป็นนม ฉะนั้นปริมาณอาหารที่แม่หมาจะกินต้องเพิ่มขึ้นโดยอาทิตย์แรกเพิ่มเท่าครึ่ง จากปกติ อาทิตย์ที่ 2 เป็น 2เท่า และอาทิตย์ที่ 3 เป็น 3 เท่า
สิ่งที่ต้องเสริมเพิ่มเติมแก่แม่หมาได้แก่ แร่ธาตุ คือ แคลเซียม และฟอสฟอรัส เพราะสิ่งเหล่านี้จะถูกแตกออกไปนมแม่สู่ลูก ๆ ของมันในขณะเดียวกัน แม่หมาจึงมีปริมาณแคลเซียมที่ลดลงด้วย จนถึงระดับที่เกิดขาดแร่ธาตุที่เราเรียกว่า ภาวะแคลเซียมต่ำ แม่หมาแสดงอาการชัก เกร็ง น้ำลายไหลยืด ตัวร้อนจัด ฝรั่งเรียกว่า Milk Fever หรือไข้น้ำนม เมื่อเจ้าของพาไปหาหมอ หมอจึงฉีดแคลเซียมให้ อาการจะทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ทางที่ดีควรมีการป้องกันไว้โดยการเพิ่มเติมแคลเซียมลงไปในอาหารแม่ลูก อ่อนตามคำแนะนำของหมอ พร้อมกับให้จากแหล่งอาหารธรรมชาติ คือ นม ซึ่งจะเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ดี

การเลี้ยงดูสุนัขขณะที่เป็นลูกสุนัข

ลูกหมาไทยที่จะนำมาเลี้ยงนั้นควรมีอายุ 2 เดือน หรือหย่านมแล้ว หรือถ้าโตกว่านี้ก็จะยิ่งเลี้ยงง่ายขึ้น เมื่อนำสุนัขเข้ามาอยู่ที่แห่งใหม่วันแรก ถ้าบ้านเลี้ยงสุนัขอยู่แล้วก็ควรให้สุนัขได้รู้จักกับสุนัขที่มีอยู่เดิมและ ให้สุนัขรู้จักสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างไปจากที่เดิม เพื่อให้คุ้นเคยกับที่อยู่ใหม่ เพราะนิสัยสุนัขจะอยากรู้อยากเห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ มาก จึงควรปล่อยให้สุนัขเดินสำรวจสถานที่หรือสิ่งต่าง ๆ ตามลำพัง จะทำให้มันรู้สึกว่า สถานที่ใหม่เป็นสถานที่ที่อบอุ่นปลอดภัย ไม่น่ากลัวใด ๆ แต่สำหรับลุกสุนัขเล็ก ๆ บางตัวเมื่อเข้ามาอยู่ใหม่ จะมีปัญหาบ้าง เช่นมันจะหอนเพราะคิดถึงแม่และพี่น้องที่เคยเล่นกันมา เมื่อหิวก็หอน อาจทำให้รำคาญ เพราะหนวกหู วิธีการแก้ปัญหาลูกสุนัขหอน อาจนำสิ่งของที่ปูนอนในรังเก่าของลูกสุนัขมารองให้นอนในที่อยู่ใหม่ด้วย เพราะลูกสุนัขจะจำกลิ่นได้ และเข้าใจว่ายังอยู่ที่เดิม หรืออาจเลี้ยงสุนัข 2 ตัวอยู่ด้วยกัน เมื่อมีเพื่อนเล่นมันจะไม่เหงาและไม่ค่อยหอน
โดยทั่วไปลูกสุนัขตอนเล็ก ๆ นิสัยเหมือนเด็ก จะชอบนอน ตื่นขึ้นมารู้สึก หิวก็ร้อง อิ่มก็นอน แล้วก็เล่น เมื่อโตขึ้นก็จะนอนน้อยลง ชอบตื่นขึ้นมากินและเล่นมากขึ้น จากนั้นก็จะคุ้นเคยกับความเป็นอยู่และสถานที่ใหม่
ลูกสุนัขเมื่ออายุได้ 4-5 เดือน ก็เริ่มถ่ายขนขนจะหยาบกว่าเดิม ฟันน้ำนมก็จะเปลี่ยนเป็นฟันแท้ มีเขี้ยวขึ้นทั้ง 4 เขี้ยว ทำให้คันปาก จึงชอบแทะสิ่งต่าง ๆ ในบ้าน ถ้าสุนัขกัดสิ่งของในบ้านควรทำโทษเพื่อให้เข็ดหลาบไม่ติดเป็นนิสัยควรหาของ เล่น เช่น ลูกบอลเล็ก ๆ กัดแทะแทน ลุกสุนัขอายุ 4-6 เดือนจะชอบเล่นแทะ และซุกวนมาก กินอาหารเก่งอยากรู้อยากเห็นพออายุ 7-8 เดือน ก็จะเริ่มเข้าสู่วันหนุ่มสาว ถ้าเป็นตัวเมียก็จะเริ่มเป็นสัด ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าให้ผสมพันธุ์กันในวัยนี้ อาจทำให้มันเสีย ถ้าจะให้ผสมพันธุ์ควรผลสมเมื่อมีอายุประมาณ 12-18 เดือนจะเหมาะสมมากกว่า

หมาโต

ในวัยนี้เราสามารถให้อาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดได้แล้วซึ่งอาหารสำเร็จรูปที่นิยมมี 2 แบบ คือ
อาหารแห้ง ส่วนใหญ่จะมีความชื้นต่ำมากคือ ไม่เกิน 10 % มักอัดอยู่ในรูปเม็ดทรงต่าง ๆ กัน ทำมาจากวัตถุดิบ คือ เนื้อวัว ม้า ไก่ หรือปลาป่น ฯลฯ บรรจุกล่องกระดาษ
อาหารเปียก มีความชื้นสูงประมาณ 65-70 % ทำมาจากเนื้อวัว เนื้อม้า และเนื้อปลา ยังคงมีรูปร่างเป็นก้อนเนื้อให้เห็น บรรจุกระป๋อง จะน่ากินกว่าแบบแห้ง
ทั้งสอแบบสามารถเทใส่ภาชนะให้สุนัขกินได้ทันที แต่หมาจะกินหรือไม่นั้นอีกเรื่องหนึ่งเพราะหมาบางตัวไม่ยอมรับอาหารเหล่านี้ จะเป็นเพราะกลิ่นหรือรสหรือความแข็งกระด้างก็เป็นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกหัดให้กินก่อน โดยการหลอกล่อด้วยเล่ห์กล กล่าวคืออาจผสมอาหารสำเร็จรูปจำนวนเล็กน้อยลงในอาหารสำเร็จขึ้นไปทีละน้อย ทำบ่อย ๆ จนในที่สุดหมาตัวนั้น สามารถกินอาหารสำเร็จรูปล้วน ๆ ผู้เลี้ยงบางคนอาจว่าวิธีนี้ไม่ทันใจ ใช้วิธีเผด็จการ กินก็กิน ไม่กินก็อด จะอดได้ไม่นาน สุดท้ายก็ยอมกิน แต่ควรระวังจะเจอตัวที่ยอมอดเป็นอดตายเข้าจริง ๆ

หมาสูงอายุ

หมาสูงอายุจะมีร่างกายที่เริ่มเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้นการให้อาหารจึงควรที่จะให้ตามความเหมาะสมของวัยของสุนัข ซึ่งควรมีลักษณะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เช่นเนื้อที่ไม่มีพังพืด อาหารที่มีไขมันน้อย อาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อที่จะได้ไปเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ ปริมาณที่ให้ก็ไม่ควรมากเกินไปเนื่องจาก หมาวัยนี้จะไม่กระฉับกระเฉง การวิ่งออกกำลังกายก็น้อยลงตามอายุ ฉะนั้นอาหารที่กินเข้าไปมาก ๆ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังก่อให้เกิดโทษ เช่น ท้องอืด แน่นเฟ้อ
อนึ่ง หมาที่แก่มาก ๆ อัตราการกินอาหารย่อมต่ำลงเป็นธรรมดา บางครั้งอาจกินวันละเพียงเล็กน้อย หรือกินบ้างไม่กินบ้างเจ้าของอาจให้อาหารเสริมเช่น อาหารสำเร็จรูป น้ำซุปและวิตามินต่าง ๆ เป็นการช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและความแข็งแรงของร่างกายอีกทางหนึ่ง

Monday, September 24, 2012

ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever)

ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever)


ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์

สุนัขพันธุ์ลาบ ราดอร์ รีทรีฟเวอร์นี้มีต้นกำเนิดในรัฐนิวฟาวด์แลนด์ประเทศแคนาดา โดยใช้ช่วยงานชาวประมงในการลากอวนเข้าฝั่ง ปีที่กำเนิดประมาณ ค.ศ. 1800 และต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 สุนัขต้นสายพันธุ์ลาบราดอร์ได้ถูกนำจากนิวฟาวด์แลนด์มาที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสุนัขที่มีสีดำ ขนสั้นทั้งสิ้น แต่ด้วยความที่มีการเก็บค่าภาษีสุนัขที่แพงมาก ประกอบกับกฏระเบียบที่เข้มงวดของอังกฤษทำให้การนำเข้าสุนัขพันธุ์นี้ไปยังอังกฤษต้องหยุดชะงักลง



เมื่อ ความต้องการลดน้อยลงคนจึงเลิกเพาะ จนมีการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่โดยผสมข้ามสายพันธุ์กับสุนัขในกลุ่มรีทรี ฟเวอร์ในปี ค.ศ. 1903 จะเห็นได้ว่าเดิมสุนัขพันธุ์นี้มี แต่สีดำ แต่หลังจากมีการพัฒนาสายพันธุ์ในภายหลังทำให้เกิดสีเหลืองตามมา ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและถูกต้องตามมาตรฐานสายพันธุ์ หรือแม้จะเป็นสีช็อคก็ได้รับความนิยมปัจจุบันสุนัขพันธุ์นี้นอกจากจะใช้งานในการล่าสัตว์แล้ว ยังใช้ในการตรวจค้นหายาเสพติด ระเบิด และช่วยนำทางให้กับผู้พิการทางสายตาอีกด้วย

มาตราฐานสายพันธุ์

ลักษณะ ทั่วไป : เป็นสุนัขที่มีโครงสร้างแข็งแรง ฝึกง่าย มีความกระตือรือร้น ขนาดใหญ่ ตัวผู้สูง 22.5-24.5 นิ้ว หนัก 60-75 ปอนด์ ตัวเมียสูง 21.5-23.5 นิ้ว น้ำหนัก 55-70 ปอนด์ (ส่วนสูงถึงหัวไหล่ และน้ำหนักโดยประมาณ 25-34 กิโลกรัม)

ศีรษะ : กะโหลกใหญ่กว้าง สันจมูกมี STOP ขอบบนของเบ้าตาเป็นสันนูนขึ้นเล็กน้อย
ตา : ตามีแววที่เป็นมิตร มีขนาดปานกลางไม่โปนหรือบุ๋มลึกเข้าไป มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ

จมูก : จมูกใหญ่และกว้าง มีสีดำสนิทหรือสีน้ำตาล (ขึ้อยู่กับสีขน)

ฟัน : ฟันต้องสบกันพอดี โดยฟันล่างสัมผัสด้านในของฟันบน

หู : หูจะปรกด้านข้างของหัว มีขนาดพอดี ถ้าดึงปลายหูมาด้านหน้าจะยาวระดับตา

ลำ ตัว : คอยาวเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเป็นลักษณะของสุนัขที่ใช้ในเกมกีฬา เส้นหลังตรง ลำตัวสั้น ช่วงอกกว้างหนา กระดูกซี่โครงค่อนข้างกลม

หาง : ส่วนโคนหางมีขนาดใหญ่ กลม หนา เรียวไปยังส่วนปลาย ไม่มีพู่หาง หางคล้ายหางของนาก

ขน : ขนสั้น เหยียดตรงและหนา มีขนสองชั้น ขนเรียบ มีสามสี สีดำสนิท สีน้ำตาลเข้ม หรือสีเหลืองหรือครีมจาง

ขา : ขาหน้าเหยียดตรงแข็งแรง อุ้งเท้าหนา นิ้วเท้าโค้งมาก ขาหลังแข็งแรงได้สัดส่วน



ลักษณะ นิสัย : เป็นสุนัขที่ฉลาด ใจดี เป็นมิตร สุภาพ ไม่ก้าวร้าวต่อคนและสุนัขด้วยกัน อยู่รวมเป็นฝูงได้ ชอบว่ายน้ำ ตอบสนองรวดเร็ว สามารถฝึกความสามารถพิเศษอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ใช้เป็นสุนัขค้นหาผู้ประสบภัย ค้นหายาเสพติด ฯลฯ ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ง่าย

สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ : เป็นสุนัขที่อ้วนได้ง่าย ควรพาไปออกกำลังกายสม่ำเสมอ ละได้รับอาหารที่ถูกสุขลักษณะ


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก..

http://women.sanook.com/pets/breed/dogs_44627.php

โกลเดนรีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever)

โกลเดนรีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever)

โกลเดนรีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) เป็นสายพันธุ์สุนัข มีถิ่นกำเนิดในประเทศสกอตแลนด์ มีขนยาว มีสีขนเหลืองอ่อน เหลืองทอง และเหลืองเข้ม โดยทั่วไปแล้ว สุนัขพันธุ์นี้ เพศผู้ควรมีความสูง (วัดจากหัวไหล่ถึงปลายเท้า) ประมาณ 23- 24 นิ้ว และเพศเมียควรมีความสูงประมาณ 21.5-22.5 นิ้ว แต่เดิมนั้นสุนัขสายพันธุ์นี้ ได้ปรับปรุงคุณลักษณะบางอย่างเพื่อในงานของนายพราน เช่น มีรูปร่างสมส่วน คล่องตัว เขียวและฟันงับชิ้นเหยื่อ โดยให้ช้ำเพียงเล็กน้อย เป็นต้น ไม่มีปรากฏว่าสุนัขสายพันธุ์นี้มีความก้าวร้าวแต่อย่างใด

สุนัขพันธุ์นี้ ดูจากสีขนที่เหลืองเป็นสีทองไปทั้งตัว ประกอบกับใบหน้ากว้างและดูปราดเปรียวแล้ว ลักษณะทุกอย่างของสุนัขพันธุ์นี้ส่อให้เห็นถึงท่าทีอันสุภาพเป็นมิตร สุนัขพันธุ์นี้ จึงเป็นที่นิยมไปทั่วทุกมุมโลก รูปร่างอันงดงามของ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ นั้นใช่ว่าจะสวยแต่รูปก็หาไม่ ความสามารถของมันนั้นไม่เบา ไม่แพ้พันธุ์เก็บนกชนิดอื่นๆ หรือพวกพันธุ์สแปเนี่ยลตัวเป้งๆ ในระหว่างฤดูหนาวของแคนาดาซึ่งหนาวใช่ย่อย มันก็ยังลุยเก็บนกเป็ดน้ำได้อย่างสบายโกลเดนรีทรีฟเวอร์ เป็นพันธุ์สุนัข ที่มีขนาดใหญ่ที่มีความคล่องตัวสูง เป็นสุนัขที่มีความเฉลียวฉลาดมากมากจนสามารถนำมาฝึกเพื่อใช้งานได้ เนื่องจากเป็นพันธุ์สุนัขที่ มีขนาดไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไป จัดว่าเป็นสุนัขที่มีประสาทสัมผัสดีเลิศทั้งในด้านของการฟังเสียง การดมกลิ่นสะกดรอย นอกจากนี้ยังมีสายตาอันเฉียบคมและแม่นยำ ด้วยเหตุนี้วงการทหารและตำรวจในหลายๆ ประเทศจึงได้นำสุนัขพันธุ์นี้ มาฝึกเพื่อไว้ช่วยงานราชการ อาทิเช่น ตรวจค้นยาเสพติด, ดมกลิ่นสะกดรอยคนร้าย, ยามรักษาความปลอดภัย แต่ที่ดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูงสุด ก็เห็นจะได้แก่ฝึกให้เป็นสุนัขนำทางคนตาบอด ทั้งนี้เพราะโกลเดน รีทรีฟเวอร์เป็นสุนัขซึ่งฉลาด แต่ไม่ค่อยเจ้าเล่ห์หรือซุกซนเหมือนสุนัขบางพันธุ์


เจ้า สีทองพันธุ์นี้ปรากฏขึ้นในลักษณะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในเมืองอังกฤษในทศวรรษที่ 1860 เป็นสุนัขที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสุนัขในกลุ่มสแปเนี่ยล ซึ่งเป็นสุนัขที่มีความเชี่ยวชาญทางน้ำเป็นพิเศษ โดยมีขนาดเล็กกว่าสุนัขพันธุ์ นิวฟาวน์แลนด์ แต่มีลักษณะโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน สันนิษฐานว่าอาจผสมข้ามพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ไอริชเซทเทอร์ และสุนัขในกลุ่มวอเตอร์สแปเนี่ยล โดยอาจมีสายเลือดของสุนัขพันธุ์บลัดฮาวน์เข้าไปเจือปนอยู่ด้วยต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 สุนัขพันธุ์โกล เดน รีทรีฟเวอร์หรือที่บางคนเรียก เยลโล่ รีทรีฟเวอร์ ( YELLOW RETRIEVER ) ก็เป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันแพร่หลายในประเทศอังกฤษ จนในปี ค.ศ. 1908 ก็ได้จัดให้มีการประกวด สุนัขพันธุ์ นี้ขึ้นเป็นครั้งแรกที่คริสตัลพาเลซ และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีการจัดตั้งชมรม สุนัขพันธุ์ นี้ขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับในสหรัฐอเมริกา


โกลเดน รีทรีฟเวอร์เริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายในราวปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา โดยชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะเลี้ยงโกลเดน รีทรีฟเวอร์ไว้เพื่อเป็นนักล่า แม้ทางสมาคม AKC ของสหรัฐอเมริกาจะให้การรับรองสุนัขพันธุ์ นี้ เข้าไว้ในทำเนียบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1925 แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ค่อยได้รับจากผู้เลี้ยงที่คิดอยากจะส่งสุนัขเข้าประกวดซักเท่าไหร่ เนื่องจากผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์ นี้ส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับ ประสิทธิภาพของการใช้งานมากกว่าการประกวด และในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1977 ทางสมาคม AKC ก็ได้จัดให้มีการประกวดความสามารถและความฉลาดแสนรู้ของสุนัข ซึ่งผลปรากฏว่าสุนัขที่ได้รางวัลที่ 1-3 ล้วนเป็นสุนัขพันธุ์โกลเดน รีทรีฟเวอร์ทั้งสิ้น จากผลการประกวดในครั้งนั้นทำให้ชาวอเมริกันเริ่มเกิดความตื่นตัว และหันมาให้ความสนใจเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ มากขึ้น สำหรับในด้านของสายพันธุ์ ในยุคสมัยแรกๆ โกลเดน รีทรีฟเวอร์จะมีสีเฉพาะสีทองหรือสีน้ำตาลออกไปทางเหลือง ( ซึ่งก็มีด้วยกันหลายเฉด ) แต่พอมาในช่วงหลังๆ ก็ได้เกิดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีขนสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลไหม้ ซึ่งสีนี้ก็เป็นสีที่นิยมมากพอสมควรทั้งในยุโรปและอเมริกา เนื่องจากเป็นสีที่แปลกใหม่


มาตราฐานสายพันธุ์

ลักษณะ ทั่วไป : โครงสร้างได้สัดส่วน และดูแข็งแกร่งทรงพลัง เป็นสุนัขที่มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล มีขนาดปานกลาง ไม่เทอะทะเก้งก้างจนดูเกะกะเป็นสุนัขที่มีนิสัยค่อนข้างจะเป็นมิตรกับทุกๆ คน ดังนั้นจึงสามารถพาไปไหนมาไหนโดยไม่สร้างปัญหา มีความเฉลียวฉลาด ว่านอนสอนง่าย เป็นสุนัขที่มีความปราดเปรียวและอดทน ลีลาในการย่างก้าวหรือไหวเป็นไปด้วยความนิ่มนวล

อุปนิสัย : มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ค่อนข้างสงบเสงี่ยม ไม่ส่งเสียงโดยไม่มีเหตุผล มีขนาดปานกลาง ไม่เทอะทะเก้งก้างจนดูเกะกะ

ศีรษะ : กะโหลกใหญ่และกว้างโค้งได้รูปสวยงาม ไม่หยักเป็นร่องลึกหรือโหนกนูนจนมีลักษณะเป็นรูปโดม ช่วงรอยเชื่อมระหว่างจมูก ปาก และหน้าผาก มีความลาดเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับหัก หรือเชื่อมต่อเป็นเส้นตรงเดียวกัน ใบหน้าลึกและกว้างขนาดพอๆ กับศีรษะ, สันจมูก, ปาก เป็นเส้นตรงเวลามองจากด้านข้างปลายจมูก ปากค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นรับกับขนาดของกะโหลกศีรษะ ลักษณะรูปทรงคล้ายลิ่มแลดูแข็งแกร่ง หนังย่นบริเวณหน้าผากอนุโลมให้มีได้ แต่ลักษณะของใบหน้าที่สวยงาม หนังบริเวณใบหน้าควรจะเรียบตึง


ฟัน : ต้องขบกันได้แนบสนิทเหมือนกรรไกร โดยฟันด้านหน้าแถวบนขบเกยอยู่ด้านนอก ซึ่งลักษณะของฟันสำหรับสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีหน้าที่ในการเก็บหรือคาบเหยื่อ ดังนั้นอำนาจในการขบกัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากสุนัขมีฟันหน้าชุดบนและชุดล่างขบเสมอกันพอดีเหมือนประตูลิฟท์ถือว่าใช้ ไม่ได้ แต่ยังพออนุโลมผ่อนผันให้ได้ เว้นแต่ฟันหน้าชุดล่างขบเกยอยู่ด้านนอก หรือฟันหน้าชุดบนและล่างขบเกยไม่สนิทกันถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง ถ้าฟันมีคราบหินปูนเกาะ ฟันผุ หรือฟันมีลักษณะเว้าแหว่งถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงเช่นกัน

จมูก : จะต้องเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล ส่วนจะเข้มหรืออ่อนก็ขึ้นอยู่กับสีขน แต่ถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง

หู : หูควรสั้นพอประมาณ ใบหูมีลักษณะห้อยปกลงแนบกับส่วนแก้ม รูปทรงค่อนไปทางรูปสามเหลี่ยม ปลายมน เวลาดึงใบหูไปด้านหน้าความยาวของใบหู หูควรปกคลุมลูกตาได้พอดี แต่ถ้าหากฐานใบหูตั้งอยู่ในตำแหน่งต่ำเกินไป หรือหูมีลักษณะเหมือนสุนัขในกลุ่มฮาวน์ หรือดัชชุน ถือเป็นข้อบกพร่อง

ลำ คอ : ควรยาวพอประมาณ ลำคอควรตั้งบนหัวไหล่ แลดูมั่นคงกล้ามเนื้อแลเห็นเด่นชัด ขนบริเวณรอบคอห้ามมีการตกแต่ง คอต้องไม่มีเหนียงยื่นโผล่ออกมา


ลำ ตัว : โครงสร้างลำตัวกระชับได้สัดส่วน อกลึกและกว้าง ความกว้างของอกอย่างน้อยควรมีขนาดพอๆ กับ ฝ่ามือของผู้ชายวางทาบเสมอพอดี ส่วนความลึกของอกควรลึกเสมอข้อศอกขาหน้า กระดูกซี่โครงควรโค้งได้รูปแข็งแรง โดยส่วนแผ่นหลังจะแลดูหนากว่าใต้ท้อง ลำตัวเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีความลึกและหนาแลดูบึกบึน แผ่นหลังเรียบตรง โดยมีลักษณะลาดเทจากหัวไหล่ ไปทางบั้นท้ายเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นเวลายืนนิ่งๆ หรือกำลังเคลื่อนไหว โกลเด้น รีทรีฟเวอร์มีหน้าอกเล็กแคบ อกตื้น เส้นหลังแอ่นหรือลาดเทมากเกินไป หรือก้นโด่ง ลำตัวบอบบางเกินไป เวลาเคลื่อนไหวเส้นหลังแกว่ง แลดูขาดความแข็งแกร่งล้วนเป็นข้อบกพร่อง

อุ้งเท้า : มีขนาดปานกลาง เป็นรูปทรงกลม อุ้งเท้ากระชับ นิ้งเท้าไม่กางแบะออกเหมือนตีนเป็ด ขนบริเวณใต้อุ้งเท้าควรได้รับการขลิบออก เพื่อช่วยให้การยึดเกาะมั่นคงยิ่งขึ้น นิ้วติ่งขาหน้าควรกำจัดออกให้หมด แต่โดยปกติจะไม่ค่อยปรากฏนิ้งติ่งให้เห็น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เวอร์ที่มีอุ้งเท้าแบะหรืออุ้งเท้าแหลมคล้ายอุ้งเท้าของกระต่าย ถือเป็นข้อบกพร่อง

หาง : ควรตั้งอยู่ในตำแหน่งสูงสุดต่อจากเส้นหลัง หางมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริเวณโคนหางควรจะมีกล้ามเนื้อ ปกติหางจะมีลักษณะห้อยลงต่ำโค้งได้รูปกับสะโพก ความยาวของหางพอๆ กับมุมข้อศอกขาหลัง ในยามที่สุนัขที่ดีใจหางจะโบกสะบัดไปมา บางครั้งอาจงอม้วนขึ้นสูงเหนือระดับแผ่นหลัง

ลำตัวหน้า : เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ มีขนาดเหมาะสมรับกับลำตัวส่วนหลังขณะที่เดินหรือวิ่ง การก้าวย่างเป็นไปอย่างอิสระ การก้างย่างของขาอยู่ในแนวเดียวกับรัศมีของหัวไหล่ กระดูกขามีขนาดค่อนข้างใหญ่และเหยียดตรง กระดูกข้อเท้าสั้นและแข็งแรง มีความลาดเอียงเพียงเล็กน้อย

ลำตัวหลัง : หนาและแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ บั้นท้ายมีลักษณะลาดเทเล็กน้อย กระดูกขาท่อนบนทอดไปทางด้านหลัง ส่วนกระดูกขาท่อนล่างเหยียดตรงทำมุมฉากกับพื้น ขน : ขนดกแน่น สามารถปกป้องน้ำได้เป็นอย่างดี ขนมี 2 ชั้น ขนชั้นนอกจะยาวและมีลักษณะค่อนข้างแข็ง แต่ไม่ถึงกับหยาบกระด้าง เส้นขนมีความยืดหยุ่นในตัว ถ้าหากขนมีลักษณะเส้นเล็กหรือไม่ดกแน่นถือเป็นข้อบกพร่อง ลักษณะของขนที่ถูกต้องจะต้องขึ้นแนบติดลำตัว ส่วนเส้นขนจะเหยียดตรงหรือหยักศกเล็กน้อยไม่เป็นข้อบกพร่อง สำหรับขนบริเวณด้านหลังของขาและใต้ท้องจะมีลักษณะค่อนข้างอ่อนนุ่มกว่าขนตาม ลำตัว โดยเฉพาะขนที่บริเวณใต้คอ ด้านหลังของต้นขาหลัง และขนใต้หาง จะมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ ส่วนขนบริเวณศีรษะ ด้านหน้าของขา(หน้าแข้ง) และเท้าจะมีลักษณะสั้นและเรียบ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีเส้นขนยาวจนเกินไป ขนฟูเป็นกระเซิงไม่แนบติดกับลำตัว หรือมีขนเบาบางไม่ดกแน่น ขนเส้นเล็กล้วนถือเป็นข้อบกพร่อง การตัดแต่งขนจะตัดเฉพาะอุ้งเท้าเท่านั้น

สี : สีต้องเป็นสีน้ำตาลออกทอง ส่วนจะมีสีเข้มอ่อนไม่มีปัญหา ขนตามใบหน้าและลำตัวอาจจะมีเหลือบเทาหรือขาวก็ได้ แต่ถ้าเป็นรอยแต้มด่างสีขาว หรือมีขนสีขาวขึ้นแซมถือเป็นข้อบกพร่อง ยกเว้นโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ที่มีขนสีทองอ่อน ซึ่งมีสีจืดหรือจางมากๆ และสีขาวด่างที่ปรากฏแลดูกลมกลืนกับสีขน ก็ถือเป็นข้ออนุโลม และถ้าหากพื้นที่ของสีขนส่วนใหญ่มีสีซีดจางเกินไป หรือเข้มมากเกินไปก็ถือว่าเป็นข้อบกพร่อง พูดง่ายๆ ก็คือ ถามีขนออกไปทางโทนสีครีมอ่อนๆ หรือสีน้ำตาลไหม้ ขนส่วนนี้จะต้องมีพื้นที่เป็นเพียงส่วนน้อยของขนทั้งหมด คือจะต้องมีโทนสีเข้มกว่าหรืออ่อนกว่ามาช่วยเสริม และสีขนส่วนที่จะมาช่วยเสริมต้องครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า โกลเด้น รีทรีฟเวอร์บางสายพันธุ์ขณะที่ยังเป็นลูกสุนัขอาจจะมีสีซีดจาง แต่เมื่อโตขึ้นสีก็จะเข้มขึ้นโดยธรรมชาติ สำหรับโกลเดน รีทรีฟเวอร์ที่มีสีอ่อน นอกเหนือจากที่กล่าวมาล้วนถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง


การ เคลื่อนไหว : การก้าวย่างเป็นไปอย่างอิสระ แลดูนุ่มนวลแต่ทรงพลังและสง่างาม เวลาที่วิ่ง ระยะการย่างก้าวของขาหน้าและขาหลังจะต้องมาบรรจบกันที่กึ่งกลางลำตัว เวลาเดินหรือวิ่งขาต้องไม่แกว่งหรือปัด ซึ่งในการประกวดการเคลื่อนไหวของโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก

ขนาด : เพศผู้ควรมีความสูงระหว่าง 23-24 นิ้ว(ความสูงวัดที่หัวไหล่ขาหน้า) ส่วนเพศเมียควรมีความสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 21-22 นิ้ว หากความสูงน้อยกว่าหรือมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไม่เกิน 1 นิ้ว ถือเป็นข้ออนุโลม แต่ถ้าสูงหรือเตี้ยกว่าเกิน 1 นิ้ว จากเกณฑ์มาตรฐานถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงมาก สำหรับความยาวของลำตัวโดยวัดจากหน้าอกถึงบั้นท้าย ควรมีสัดส่วนความยาวมากกว่าความสูงเล็กน้อย คือ สัดส่วน 12 :11 ส่วนน้ำหนักของสุนัขเพศผู้ควรอยู่ในช่วงระหว่าง 65-75 ปอนด์ สำหรับเพศเมีย 55-56 ปอนด์

อารมณ์ : ควรมีความเป็นมิตรกับทุกๆ คน ไม่มีนิสัยขี้หวาดระแวงและดูน่าเชื่อไว้วางใจได้ ไม่มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย แต่ก็ไม่ขี้ขลาดตาขาวด้วย


ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก..

http://women.sanook.com/pets/breed/dogs_44626.php

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

ไซบีเรีย ฮัสกี้ (SIBERIAN HUSKY)

ไซบีเรีย ฮัสกี้ (SIBERIAN HUSKY)


สุนัขพันธุ์ SIBERIAN HUSKY มีถิ่นกำเนิดในไซบีเรียน สุนัขพันธุ์นี้ ถูกคัดเลือกพันธุ์ขึ้น โดยชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า CHUKCHI เพื่อให้ทำหน้าที่ล่าสัตว์และเฝ้ายาม แต่ต่อมาถูกพัฒนาให้มีลักษณะของสุนัขลากเลื่อน ประมาณ ค.ศ. 1900 มีการแข่งขันสุนัขลากเลื่อน ALASKA โดยมีระยะทางถึง 400 ไมล์ สุนัขที่ชนะในการแข่งขันคือ สุนัขพันธุ์ SIBERIAN HUSKY หลังจากนั้นกีฬาแข่งลูกสุนัขลากเลื่อนก็เป็นที่นิยมมากขึ้น สุนัขพันธุ์นี้ก็มักจะชนะอยู่เสมอ AKC. รับรองสุนัขพันธุ์นี้ในปี ค.ศ. 1930

ประวัติ
ใน สุนัขทุกสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาพันธุ์เป็นผลมาจากบรรพบุรุษเดียวกันนั่นคือ สุนัขป่าโบราณ (วงศ์ Canidae) สุนัขเอซคิโม (สุนัขลากเลื่อน) เป็น พันธุ์สุนัข ที่มีภาพลักษณ์กระตือรือร้นอย่าง ไซบีเรียนฮัสกี้, ซามอย, และอลาสกันมาลามิว ที่สืบสายตรงจาก สุนัขพันธุ์ ลากเลื่อน การวิเคราะห์
ดีเอ็นเอที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้ช่วยยืนยันว่ามันเป็นหนึ่งในพันธุ์สุนัขที่มีการเพาะเลี้ยงมาแต่โบราณดังที่เห็นได้จากอลาสกันมาลามิว

คำ ว่า "ฮัสกี้ (husky)" ได้มาจากชื่อที่ใช้เรียกชาวอินนูอิต (Inuit) ว่า "ฮัสกี้ส์ (huskies)" โดยคณะสำรวจคนขาว (Caucasian) คณะแรกๆ ที่มาถึงแผ่นดินของพวกเขา ส่วนคำว่า "ไซบีเรียน (Siberian)" ได้มาจาก
ไซบีเรียนั่นเองเนื่องจากความคิดที่ว่าสุนัขลากเลื่อนนี้ถูกใช้ในการข้ามสะพานแผ่นดิน (land bridge) ของช่องแคบเบอร์ริ่งที่เป็นทางเข้าสู่หรือออกจากมลรัฐอะแลสกา ซึ่งทฤษฎีนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในหมู่ผู้ที่ทำการศึกษาค้นคว้า สุนัขที่สืบเชื้อสายมาจากสุนัขเอซคิโมสามารถพบได้ตลอดซีดโลกด้านเหนือจาก ไซบีเรียถึงประเทศแคนาดา, มลรัฐอะแลสกา, กรีนแลนด์, ลาบราดอร์(Labrador), และเกาะบัฟฟินค์(Baffin Island)
ด้วย ความช่วยเหลือของไซบีเรียนฮัสกี้ ประชาชนของชนเผ่าต่างๆไม่เพียงแค่รอดตายเท่านั้นในการออกสำรวจดินแดนที่ไม่ มีรู้จัก พลเรือเองโรเบิร์ต เพียร์รี่ (Robert Peary) แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาก็ได้รับความช่วยเหลือจากสายพันธุ์นี้ระหว่างคณะ สำรวจของเขาออกสำรวจขั้วโลกเหนือ บทบาทของไซบีเรียนฮัสกี้ในกระทำหน้าที่นี้ไม่สามารถเป็นที่หยั่งรู้ได้

สุนัขจากแม่น้ำอานาเดียร์ (Anadyr River) และพื้นที่รอบๆถูกนำเข้ามาในมลรัฐอะแลสกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1908 (และเป็นเวลา 2 ทศวรรษ)ในช่วงตื่นทองเพื่อใช้เป็นสุนัขลากเลื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน All-Alaska Sweepstakes (AAS) หรือการแข่งสุนัขลากเลื่อนทางไกลซึ่งเป็นระยะทาง 408 ไมล์ (657 กม.) จากเมืองนอมน์(Nome) ถึงเมืองแคนเดิล (Candle) ไปและกลับ "เล็กกว่า, เร็วกว่า และอดทนมากกว่า ในการบรรทุกน้ำหนักราว 100 - 120 ปอนด์ (45 - 54 กิโลกรัม)" มันเป็นส่วนสำคัญใกล้ชิดของผู้เข้าแข่งขันยาวนอมน์ที่มีชื่อเสียง ลีออนฮาร์ด เซพพารา (Leonhard Seppala) ที่เคยเป็นผู้เพาะเลี้ยงไซบีเรียนฮัสกี้มาก่อนที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1909 ถึงช่วง ค.ศ. 1920

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1925 กันเนอร์ คาเซ็น (Gunnar Kaasen) เป็นผู้นำเซรุ่มไปถึงเมืองนอมน์เป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1925 เพื่อรักษาโรคคอตีบ ได้ออกจากเมืองนีนนานา (Nenana) สู่เมื่องนอมน์เป็นระยะทางมากกว่า 600 ไมล์ ด้วยความพยายามของผู้เดินทางและความช่วยเหลือของสุนัขลากเลื่อน การแข่งสุนัขลากเลื่อนสู่เมื่องอิดิตทารอต (Iditarod Trail Sled Dog Race) ที่จัดขึ้นก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ของการขนส่งเซรุ่มนี้ และเหตุการณ์นี้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันในปี ค.ศ. 1995 ที่ชื่อ"บอลโต (Balto)" ตามชื่อของสุนัขนำทีมของกันเนอร์ และเพื่อเป็นเกียรติแก่สุนัขนำทีมบอลโต มีการสร้างรูปหล่อเหมือนที่ทำจากทองแดง ตั้งอยู่ในเซ็นทรอล ปาร์คในมลรัฐนิวยอร์ก มีคำจารึกดังนี้ อุทิศแก่จิตวิญญาณที่ทรหดของสุนัขลากเลื่อนที่นำเชื้อต้านพิษบนทางยากลำบาก เต็มไปด้วยน้ำแข็ง 600 ไมล์, ข้ามน้ำที่แข็งตัว, ฝ่าพายุหิมะของขั้วโลกเหนือจากเมื่องนีนนานาสู่เมืองนอมน์ที่รอความช่วย เหลือให้พ้นจากโรคร้ายในฤดูหนาวปี ค.ศ. 1925 อดทน--ซื่อสัตย์--มีไหวพริบ

ในปี ค.ศ. 1930 ไซบีเรียนฮัสกี้ตัวสุดท้ายถูกนำออกจากรัฐบาลโซเวียดใกล้กับพรมแดนของไซบีเรียเพื่อการแลกเปลี่ยนกับภายนอก ปีเดียวกันมีการจดทะเบียนรับรองสายพันธุ์ไซบีเรียนฮัสกี้โดยสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข (สหรัฐอเมริกา) เป็น 9 ปีหลังจากสายพันธุ์นี้ถูกจดทะเบียนในประเทศแคนนาดา ณ.วันนี้ไซบีเรียนฮัสกี้ที่จดทะเบียนในอเมริกาเหนือเป็นลูกหลานส่วนใหญ่ของ ไซบีเรียนฮัสกี้ที่ถูกนำเข้ามาในปี ค.ศ. 1930 และสุนัขของลีออนฮาร์ด เซพพารา เซพพาราเจ้าของคอกสุนัขในนีนนานาก่อนที่จะย้ายไปอยู่นิวอิงแลนด์ อาเทอร์ วาวเด็น(Arthur Walden) เจ้าของคอกสุนัขชินุก (Chinook) แห่งวอนนาแวมเซิด (Wonalancet) มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ผู้มีไซบีเรียนฮัสกี้ในคอกที่โดดเด่น สุนัขตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคอกของเขามาจากอะแลสกาโดยตรงและมาจากคอกของเซพพารา

ก่อน ที่จะมีชื่อเสียง, ในปี ค.ศ. 1933 ว่าที่พลเรือเอกริชาร์ด อี. เบอร์ด (Richard E. Byrd) แห่งกองทัพเรือได้ซื้อสุนัขไซบีเรียนฮัสกี้ราวๆ 50 ตัวด้วยตัวเขาเอง หลายๆตัวถูกรวบรวมและฝึกจากคอกชินุกในมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ เพื่อใช้ในคณะสำรวจของเบอร์ดที่เขาหวังจะเดินทางราวๆ 16,000 ไมล์ไปตามชายฝั่งของทวีปแอนตาร์กติกา ที่เรียกว่าปฏิบัติการกระโดดสูง (Operation Highjump) จากประวัติการเดินทางนี้เอง พิสูจน์ให้เห็นคุณค่าไซบีเรียนฮัสกี้เพราะขนาดที่พอเหมาะ และความเร็วที่ดีเยี่ยม กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ใช้ไซบีเรียนฮัสกี้ในการค้นหาและช่วยเหลือในขั้วโลก เหนือของคำสั่งขนส่งทางอากาศระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ลักษณะของสุนัขพันธุ์ไซบีเรียนฮัสกี้
ไซบีเรียนฮัสกี้ เป็นพันธุ์สุนัขทำ งานที่มีขนาดกลาง วิ่งเร็วและฝีเท้าเบา รักอิสระ และมีท่วงท่าสง่างาม ลำตัวปกคลุมด้วยขนนุ่มและหนาปานกลาง หูตั้งและหางเป็นพวง ลักษณะการเดินนุ่มนวล แรกเริ่มทีเดียวไซบีเรียน ฮัสกี้ เป็นพันธุ์สุนัขที่ มีความสามารถในการลากเลื่อนสิ่งของที่มีน้ำหนักเบา ด้วยความเร็วปานกลางได้ในระยะไกล สัดส่วนลำตัวและรูปร่างของไซบีเรียน ฮัสกี้ สะท้อนให้เห็นถึงสมดุลของกำลัง ความรวดเร็ว และความอดทน ไซบีเรียน ฮัสกี้ เพศผู้ได้รับการเพาะพันธุ์ (Breed) ให้มีความแข็งแรงแต่ไม่หยาบคาย ขณะที่เพศเมียมีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ ไซบีเรียน เป็นสุนัขที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรง และได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดี แต่ไม่ควรให้ลากหรือบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป


มาตราฐานสายพันธุ์
อุปนิสัย : ฉลาดเป็นมิตร สุขุม สามารถทำงานร่วมกันเป็นฝูงได้
ส่วนหัว : มีขนาดปานกลางสมส่วนกับลำตัว หัวกะโหลกค่อนข้างกลม หัวกะโหลกระหว่างหูจะกว้าง และเรียวลงจรดตาทั้งสองข้าง
หู : มีขนาดปานกลางมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายหูมน ใบหูหนา มีขนแน่นหูตั้ง
ตา : มีลักษณะเป็นรูปกลมรี อยู่หางกันพอประมาณ ตามีสีน้ำตาลเข้ม
ดั้งจมูก : มีมุมหักพอประมาณ
ปาก : ความยาวของปากมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวของหัวกะโหลก ปากมีความกว้างพอประมาณ สันปากตรง โคนปากใหญ่ และเรียวลงจรดปลายจมูก ริมฝีปากตึง มีสีเข้ม
จมูก : มีสีดำ น้ำตาลเข้ม หรือชมพู ฟัน : ขาวสะอาด แข็งแรง ขบแบบกรรไกร
ลำตัว : มีขนาดปานกลาง เส้นหลังตรงขนานกับพื้น ความยาวของลำตัวมากกว่าความสูงของลำตัวเล็กน้อย



คอ : มีความยาวปานกลาง มีลักษณะโค้ง ขณะเดิน หรือวิ่ง คอจะยืดไปข้างหน้า
ลำตัวส่วนหน้า : หัวไหล่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ แข็งแรง
อก : มีลักษณะแข็งแรง อกลึกจรดข้อศอก อกมีความกว้างพอประมาณ ไม่กว้างจนเกินไป
ขา หน้า : มองจากด้านหน้าขาหน้าทั้งสองข้างตรง ห่างกันพอเหมาะ มองจากด้านข้างข้อเท้าเอียงเล็กน้อย ท่อนขาตรง ความยาวของขาจากข้อศอกถึงพื้นจะมากกว่าความยาวจากข้อศอกถึงหัวไหล่เล็กน้อย เท้ามีลักษณะกลมรี นิ้วเท้าชิด เท้ามีขนหนาแน่น
ขา หลัง : ท่อนบนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ มีกำลังมาก ข้อเท้าหลังแข็งแรง มองจากเท้าหลัง ขาหลังทั้งสองข้างตั้งตรงขนานกัน ห่างกันพอเหมาะ เท้ามีลักษณะกลมรีนิ้วเท้าชิด เท้ามีขนหนาแน่น
หาง : มีขนเป็นพวง หางมักจะยกสูงโค้งเล็กน้อย หางไม่บิดเอียงไปทางซ้ายหรือขวา
ขน - สี : ขนมีสองชั้น ขนชั้นในนุ่ม ขนชั้นนอกแข็งแนบชิดผิวหนัง ขนมีหลายสี ตั้งแต่สีดำหรือขาวล้วน
ขนาด : เป็นสุนัขที่มีขนาดปานกลาง
น้ำหนัก : เพศผู้หนักประมาณ 45 - 60 ปอนด์ เพศเมียหนักประมาณ 35 - 50 ปอนด์
ส่วนสูง : เพศผู้สูงประมาณ 21 - 23.5 นิ้ว เพศเมียสูงประมาณ 20 - 22 นิ้ว
การเดิน - วิ่ง : มีความสง่างาม เคลื่อนที่ได้เร็ว ขณะวิ่งเท้าไม่บิด หรือปัด
ข้อบกพร่อง : หูใหญ่ หูตก หางม้วนมาก





ขอขอบคุณข้อมูลจาก..
http://women.sanook.com/pets/breed/dogs_44622.php

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%89

http://www.hamsteronline.com/blog/2008/05/31/siberian-husky/

เฟรนซ์ บูลด็อก (French Bulldog)

เฟรนซ์ บูลด็อก (French Bulldog)


ประมาณปี 1860 มีสุนัขพันธุ์ Bulldog มากมายในประเทศอังกฤษและสุนัขชนิดนี้ไม่ค่อยนิยมเลี้ยงเท่าไร พันธุ์สุนัขเหล่านี้บางส่วนถูกส่งเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส และได้ผสมกับสุนัขพันธุ์ต่างๆในฝรั่งเศส จนในที่สุดเกิดเป็นสุนัขพันธุ์ French Bulldog ขึ้นและสุนัขพันธุ์นี้ เป็นที่นิยมเลี้ยงในประเทศฝรั่งเศสโดยเฉพาะสุภาพสตรี ปี 1880 ปารีส เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นิยมของชาวอเมริกาผู้มั่งคั่ง และเมื่อมีข่าวสุนัขพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น ต่างก็ต้องการอยากจะไปดูด้วยตาตนเอง สิ่งที่พวกเขาได้พบคือสุนัขพันธุ์ French Bulldog สุนัขพันธุ์นี้มาจากอังกฤษ ความจริงอเมริกามีอิทธิพลในการเลือกเพาะพันธุ์นี้ขึ้นมาให้มีลักษณะอย่าง French Bulldog


ใน ปัจจุบันได้รับการยอมรับที่สามารถให้พัฒนาให้มีหัวอย่างมัสตีฟ ขากรรไกรเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลำตัวกะทัดรัดและที่สำคัญคือที่ใบหูเหมือนค้างคาวอย่างที่เราเห็นอยู่ทุก วันนี้ French Bulldog เป็นสุนัขพันธุ์เล็กน้ำหนักไม่เกิน 28 ปอนด์ หน้าเหมือน Bulldog ทั่วไป ริมฝีปากหนา จมูกหักสั้นเข้าไปด้านใน นัยน์ตาสดใส ลักษณะพิเศษคือใบหูเหมือนค้างคาว ซึ่งไม่มีสุนัขพันธุ์ใด ในโลกนี้เหมือนเขาจะเห่าและขู่บ้าง แต่มีความเป็นมิตรชอบทำตัวเป็นเจ้าของบ้านมากกว่าเป็นผู้อารักขา พร้อมที่เป็นมิตรกับคนแปลกหน้าเสมอไม่ว่าจะเป็นคนแก่ เด็ก แมว และสัตว์อื่นๆ มีนิสัยขี้เล่น ร่าเริงรักเด็กขนาดใกล้เคียงกับ Pug และ Boston Terrier

มาตราฐานสายพันธุ์
อุปนิสัย : ฉลาด ร่าเริง ชอบเล่น ตื่นตัวอยู่เสมอ
ศีรษะ : มีขนาดใหญ่คล้ายทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส หัวกะโหลกระหว่างหูค่อนข้างแบน
หน้าผาก : มีลักษณะโค้งเล็กน้อย แก้มมีกล้ามเน้อชัดเจน
หู : มีลักษณะเหมือนหูค้างคาว โคนหูใหญ่ ค่อนข้างยาว ปลายหูกลม โคนหูอยู่ค่อนข้างสูง
ตา : มีสีเข้ม ขนาดปานกลาง ตาค่อนข้างกลม ตาค่อนข้างห่างจากหู ตาไม่ลึกหรือโปน
ดั้งจมูก : มีมุมหักชัดเจนทำให้มีหลุมลึก
ปาก : มีลักษณะกว้างและลึก มุมปากเหนียงและค่อนข้างหนา กรามแข็งแรงขณะหุบปากไม่เห็นฟันยื่นออกมา
จมูก : มีลักษณะสั้น รูจมูกกว้าง จมูกมีสีดำ หรือสีจาง ขึ้นอยู่กับสีของขน
ฟัน : แข็งแรง ขบแบบ UNDERSHOT


ลำตัว : มีลักษณะสั้นกลม เส้นหลังโค้ง บริเวณหัวไหล่ค่อนข้างกว้างบริเวณเอวเล็ก
คอ : มีลักษณะกลมหนา หนังคอบริเวณลูกกระเดือก ค่อนข้างย่น
อก : กว้างและลึก
ขา หน้า : มีกระดูกใหญ่ ขาหน้าค่อนข้าสั้น ขาหน้าประกอบด้วยกล้ามเนื้อขา ขาหน้าตั้งตรงขาหน้าทั้งสองห่างกันพอสมควร เท้าหน้าขนาดพอเหมาะนิ้วเท้าชิด
ขา หลัง : ประกอบด้วยกล้ามเนื้อขาหลังตรง ห่างกันพอประมาณข้อเท้าหลังอยู่ในระดับต่ำ เท้าหลังมีขนาดพอเหมาะนิ้วเท้าชิด เท้าหลังใหญ่กว่าเท้าหน้าเล็กน้อย
หาง : โคนอยู่ในระดับต่ำ หางตรงหรือเป็นเกลียวได้ หางค่อนข้างสั้น ขน-สี : ขนสั้นนุ่ม ขนมีหลายสี เช่น น้ำตาล ขาว น้ำตาลขาว หนังค่อนข้างย่น
น้ำหนัก : ชนิดเล็กมีน้ำหนักน้อยกว่า 22 ปอนด์ ชนิดใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 22-28 ปอนด์
ข้อบกพร่อง : หูไม่เหมือนค้างคาว สีดำ-ขาว สีดำ-น้ำตาล ตามีสีไม่เหมือนกัน น้ำหนักเกิน 28 ปอนด์


ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก..

http://women.sanook.com/pets/breed/dogs_44621.php
http://www.woncher.com/old_history.php
http://www.woncher.com/standard0.php

บูลด็อก (Bulldog)

บูลด็อก (Bulldog)

ประวัติความเป็นมา

มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ จัดอยู่ในกลุ่มมาสติฟ (Mastiff) โดยเชื่อกันว่าบูลด็อกเป็นสุนัขกลายพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ Tibetan Mastiff ที่ดูโครงสร้างภายนอกไม่สมประกอบ มีตำราบางเล่มระบุว่าบูลด็อก เป็นสุนัขที่เกิดจากการถูกผู้เลี้ยงดูอย่างทรมาน เพื่อให้ได้มาซึ่งสุนัขที่มีรูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ เช่น การนำวัสดุแข็งๆ มาทำเป็นหน้ากากคลุมหัวบูลด็อกไว้ เพื่อให้มีใบหน้าสั้นผิดปรกติไปจากสุนัขตัวอื่นๆ หรือการยับยั้งการเจริญเติบโตของสุนัขด้วยการขังไว้ในที่แคบๆ จนแทบไม่สามารถกระดิกตัวได้ เพื่อให้สุนัขมีรูปร่างแคระแกร็น

คำว่า บูล (Bull) ซึ่งหมายถึงบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีรูปร่างคล้ายวัวขนาดเล็ก ชื่อนี้ได้มาจากการที่ชาวอังกฤษในสมัยยุคก่อนๆ ได้ฝึกสุนัขพันธุ์นี้ ไว้เพื่อต่อสู้กับวัว เป็นการยากที่จะหาหลักฐานมาอ้างอิงว่าบูลด็อกกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้ออ้างอิงที่เป็นไปได้คือ ในสมัยปี ค.ศ. 1209 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของกษัตริย์จอห์น โดยท่านลอร์ดวิลเลี่ยม เอริล์วอร์เรนได้มองเห็นวัว 2 ตัว กำลังต่อสู้กันในสนามหญ้าหน้าวังของท่าน เพื่อแย่งชิงวัวตัวเมียอีกตัวหนึ่ง จนกระทั่งฝูงสุนัขเลี้ยงวัวของคนเลี้ยงวัวได้ออกมาขับไล่วัวคู่นั้นออกไป จากบริเวณสนาม ท่านลอร์ดมีความยินดีมากและเกิดความคิดที่ว่าจะให้มีเกมกีฬาชนิดใหม่ขึ้นมา คือกีฬาสุนัขต่อสู้กับวัว ซึ่งต่อมาก็เป็นกีฬาที่นิยมกันมากในประเทศอังกฤษ


บูลด็ อกโดยมากจะได้รับการฝึกให้มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย โดยเจ้าของสุนัขจะลงโทษด้วยวิธีการที่เจ็บปวด จึงทำให้บูลด็อกในอดีตมีนิสัยที่ดุร้าย ในการต่อสู้ในเกมกีฬาที่แสนหฤโหดและนองเลือด บูลด็อกจะถูกปล่อยลงสนามให้ต่อสู้กับวัวที่กำลังบ้าคลั่ง โดยมันจะบุกโจมตีบริเวณใบหูของวัว และกัดอยู่นานจนกว่าจะล้มวัวตัวนั้นได้ ต่อมาก็ได้มีการผสมพันธุ์เจ้าหน้าแก่นี้เสียใหม่ให้มีตัวเล็กลง เพื่อความว่องไวและปราดเปรียว ขณะเดียวกันจมูกที่เคยโด่งออกก็ถูกผสมให้แนบแบนติดกับใบหน้าเสีย เพราะจะทำให้มันโจมตีคู่ต่อสู้ได้นานกว่าเดิม

ยุคแรกๆ ของบูลด็อกมีขายาวกว่าพันธุ์ที่เห็นในปัจจุบัน แต่กระดูกเบากว่า ปากใหญ่และกะโหลกศีรษะเล็กกว่าทุกวันนี้ หูก็มีลักษณะตูบเล็กเพื่อความทนทานในการเสียดสีเมื่อต่อสู้ อีกประการหนึ่งก็คือหางยาวและม้วนพอง มีไว้ให้เจ้าของดึงออกจากคู่ต่อสู้ขณะต่อสู้อยู่

แต่แล้วยุคเสื่อม ของบูลด็อกก็มาถึง เมื่อกีฬาต่อสู้กับวัวเสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1835 กีฬาการต่อสู้สุนัขถูกบัญญัติให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย บูลด็อกจึงค่อยๆ หมดความหมายและพลอยถูกลืมเลือนไปด้วย ช่วงเวลาของความรุ่งโรจน์แห่งเผ่าพันธุ์ก็เริ่มหมดลง จำนวนของบูลด็อกก็ได้ลดลงไปมาก แต่โชคดีที่มีคนรักสุนัขและเสียดายในสายพันธุ์ ได้ยื่นมือเข้ามาอนุรักษ์สายเลือดนี้ไว้ แม้ว่าความดุร้ายจะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่คงลักษณะที่ดีๆ อย่างอื่นเอาไว้ จากหลักการนี้บูลด็อกจึงได้รับการคัดเลือกพันธุ์ตามวิธีการที่ถูกต้อง ภายในเวลาเพียงไม่กี่รุ่นก็ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมีการประกวดบูลด็อกขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1859 และในปี ค.ศ. 1864 ก็ได้ตั้งสมาคมอนุรักษ์สุนัขพันธุ์บูลด็อกขึ้น บูลด็อกยังคงลักษณะที่ดีเด่นเอาไว้ครบถ้วน แต่ความโหดร้ายดุดันดั้งเดิมได้ถูกตัดออกไป จนถึงบัดนี้บูลด็อกได้รับการยกย่องเป็นสุนัขประจำชาติอังกฤษ เนื่องจากความอดทนกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวของมัน วิญญาณของความเป็นนักสู้ในอดีตยังคงปรากฏให้เห็น แม้ว่าวันเวลาที่ผ่านไปจะทำให้มันเกิดเชื่องช้าลงบ้างก็ตาม


มาตราฐานสายพันธุ์

ลักษณะ ทั่วไป : บูลด็อกที่สมบูรณ์แบบต้องมีขนาดปานกลาง รูปรางบึกบึนและหนา กระดูกและกะโหลกศีรษะมีขนาดใหญ่มาก หน้าสั้น ใหญ่ กว้าง บริเวณหน้าผากมีรอยย่นลึก ตาอยู่ในตำแหน่งห่างจากใบหู กล้ามเนื้อหนังตาบนจะย่นเหมือขมวดคิ้วอยู่ตลอดเวลา ริมฝีปากหนาและกว้าง มีกล้ามเนื้อหนาแน่น แขน ขาล่ำสัน แข็งแรง แผ่นหลังโค้งเล็กน้อย และจะยกสูงบริเวณสะโพก ลำตัวส่วนท้องจะคอด กระดูกซี่โครงมีลักษณะห่อกลมคล้ายมะขามป้อม ตะโพกค่อนข้างเล็ก หางสั้นและขดแน่นกับส่วนหลัง ด้านอุปนิสัยมีความทรหดอดทน อารมณ์คงที่มั่นคงอย่าเสมอต้นเสมอปลาย มีความตั้งใจแน่วแน่ กล้าหาญ พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นไปอย่างสงบและสง่า ท่าทางการเดินมีลักษณะแปลกเฉพาะตัว คล้ายข้อต่อกระดูกไม่แข็งแรง เหมือนการลากไป มีลักษณะการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างคล้ายการกลิ้งไป แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ต้องไม่เกร็ง เป็นอิสระและเข้มแข็ง
ศีรษะ : ควรมีขนาดใหญ่ เมื่อวัดรอบศีรษะ โดยวัดจากด้านบนลงล่างผ่านใบหูควรจะมีความยาวมากกว่าความสูงของตัว เมื่อมองจากด้านหน้าศีรษะควรสูงมาก เมื่อมองจากมุมของขากรรไกรล่างไปถึงจุดสูงสุดของกะโหลกกว้างมากเป็นสี่ เหลี่ยม เมื่อมองจากด้านข้างศีรษะอยู่สูงมาก และจากจมูกถึงท้ายทอยสั้นมาก หน้าผากควรมีรอยย่นลึกเป็นแนว และมีเส้นผ่าลึกลงมาจากส่วนบนมายังจมูกและปาก
จมูก : จมูกควรใหญ่ แลดูกว้างแต่สั้น ปลายจมูกควรจะมีรอยย่นลึก จมูกมีเส้นแบ่งเขตแนวชัดเจน รูจมูกใหญ่และเชิด จมูกควรจะมีสีเข้ม หากเป็นสีดำสนิทได้ยิ่งดี จมูกสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำไม่เป็นที่นิยม จมูกแดงเป็นสีเดียวกับสีผิวถือว่าผิดลักษณะ และถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือว่าเป็นจุดด้อยอย่างมาก นอกจากนี้จมูกต้องไม่แห้งหรือเปียกชุ่มเกินไป
ปาก : ริมฝีปากบนควรหนา กว้างและลึกมากห้อยลงมาปิดกรามล่างได้มิดชิด หากมองจากด้านข้างจะปิดริมฝีปากล่างและฟันมิดชิด แผ่นหลังที่หุ้มปากทั้งสองด้านควรมีขนาดใหญ่และยาวเท่าๆ กัน ขากรรไกรล่างใหญ่กว้าง เป็นสี่เหลี่ยมยื่นเลยขากรรไกรบนและงอนขึ้น
ฟัน : ฟันควรอยู่ครบ 42 ซี่ ฟันล่างจะเกยอยู่ด้านนอก ฟันที่ดีต้องซี่ใหญ่แข็งแรงมั่นคง ฟันที่ยื่นออกมาต้องไม่มีลักษณะโค้งงอ ฟันเขี้ยวอยู่ห่างจากกัน ฟันตัด 6 ซี่ที่อยู่ด้านหน้าระหว่างฟันเขี้ยวอยู่ในแนวระดับเดียวกัน เวลาอ้าปากจะเห็นฟันซี่เล็กๆ 6 ซี่ทางด้านหน้า เวลาหุบปากไม่ควรจะให้เห็นฟันจึงจะดี และฟันควรขาวสะอาด


ตา : ดวงตาควรมีลักษณะกลม ขนาดปานกลาง ไม่จมลึกหรือยื่นออกมามากเกินไป เมื่อมองจากด้านหน้าจะฝังอยู่ในกะโหลกศีรษะ อยู่ห่างจากหูมาก และตาทั้ง 2 ข้างไม่ควรอยู่ห่างกันมากนัก สีลูกตาควรเป็นสีเข้ม หนังตาปิดตาขาว
หู : ฐานหูทั้ง 2 ข้างควรจะยกสูงและควรจะอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลกัน ใบหูควรเล็กและบาง ปลายหูควรพับลงมาแนบกับศีรษะ ควรอยู่ห่างจากตาพอเหมาะ ลักษณะใบหูที่ดีควรมีลักษณะโคนตั้งปลายตกหรือกับกลีบดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุด หูไม่ควรตั้งตรงและไม่ควรตกลงมาทั้งหมด
คอ : เนื่องจากบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีส่วนหัวใหญ่ ลำคอจึงควรใหญ่หนา สั้นและแข็งแรง และเป็นส่วนโค้งทอดไปยังส่วนหลัง หนังใต้ลำคอจะหย่อนลงมาเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ควรปล่อยให้ยาน เพราะถ้ายานและมีหนังหย่อนมามากแสดงว่ากำลังอ้วนเป็นพะโล้ แก้ไขโดยการออกกำลังกายบ่อยๆ
ไหล่ : หัวไหล่ควรมีขนาดใหญ่ กว้างและมีมัดกล้ามเนื้อหนา ก่อให้เกิดความสมดุลและพละกำลังมาก
อก : กว้างมาก ลึกและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เห็นกล้ามเนื้อที่อกได้ชัดเจน ซี่โครงโค้งกลมจากหัวไหล่จนไปถึงจุดต่ำสุดของหน้าอก ทำให้สุนัขมองดูมีลักษณะกว้าง เตี้ยและขากว้าง
ลำตัว : แข็งแรงกำยำ เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ไม่ควรผอมจนเห็นซี่โครงและไม่ควรอ้วนจนมองไม่เห็นกล้ามเนื้อบริเวณท้องน้อย ควรจะขอดเล็กน้อย แนวสันหลังควรสั้นและแข็งแรง บริเวณที่ไหล่กว้างมากและค่อนข้างแคบ บริเวณบั้นท้ายซึ่งเป็นจุดที่ควรสูงกว่าความสูงที่ไหล่และมีความโค้งลาดต่ำ อีกครั้งลงไปที่หาง ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นชัดมากสำหรับสุนัขพันธุ์นี้ จึงเรียกว่าหลังแมลงสาบหรือหลังวงล้อ
สะโพก : ควรจะโค้งมนได้รูป ส่วนก้นกลมและไม่มีกระดูกโปนออก
ขาหน้า : ควรสั้น สุนัขพันธุ์นี้ มีขาหน้าที่สั้นกว่าขาหลัง ดังนั้นเมื่อสุนัขยืนจะทำให้ช่วงหน้าของลำตัวต่ำกว่าบั้นท้าย ขาที่ดีต้องแข็งแรง กระดูกขาใหญ่ ต้นขาเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ขาหน้าเวลายืนควรอยู่ห่างกัน ช่วงบนของขาหน้าแลดูเป็นวงโค้ง ข้อศอกควรอยู่ห่างจากลำตัว เท้าและนิ้วเท้าใหญ่พอประมาณแลดูกระทัดรัด เล็บที่ขาควรมีสีเข้มและควรเป็นสีเดียวกันกับขนบนลำตัว


ขา หลัง : แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อและยาวกว่าขาหน้า เวลายืนตะโพกจะเชิดสูงทำให้ดูหลังแอ่น ส่วนขาควรสั้นและแข็งแรง ลักษณะของเท้าที่ดี ข้อเท้าที่ขาหลังควรจะหันออกจากลำตัวเล็กน้อย ขาหลังควรบิดออกเล็กน้อย
เท้า : ควรมีขนาดปานกลาง กระทัดรัดและแข็งแรง ปลายเท้าหน้าอาจตรงหรือเปิดออกเล็กน้อย แต่ขาหลังควรยื่นออกด้านนอก
หาง : อาจตรงหรือเป็นเกลียว แต่ไม่โค้งหรือม้วน หางต้องสั้น ห้อยต่ำ โคนหางใหญ่ ปลายเล็ก ถ้าหางเป็นเกลียว การม้วนหรือขมวดของหางจะมีลักษณะเป็นเกลียวคล้ายก้นหอยแต่ต้องไม่หงิกงอ ปลายหางไม่ควรม้วนลงไปถึงโคนหาง
ขน : ขนควรสั้นและเหยียดตรงแบนราบกับลำตัว สีของขนควรสม่ำเสมอ สะอาดสดใสและดูเป็นมันเงา ขนต้องไม่ยาวหรือขึ้นเป็นลอน
ผิว หนัง : อ่อนนุ่มและไม่ตึง โดยเฉพาะที่หัว คอและหัวไหล่ รอยย่นและเหนียงตรงคอ ศีรษะและหน้าควรปกคลุมด้วยรอยย่นขนาดใหญ่ และที่คอจากขากรรไกรจนถึงหน้าอกควรจะมีรอยย่นที่ห้อยออกมาเป็น 2 แนว
สี : สีขนของบูลด็อกมีหลายสี สำหรับสีขนที่ถือเป็น 2 สีในตัวเดียวกัน ในสุนัขที่มี 2 สี แต่ละสีควรเป็นสีเดียวที่บริสุทธิ์ไม่มีสีอื่นเจือปนให้เป็นสีผสม และควรมีการกระจายสีในลักษณะที่สมดุล บูลด็อกที่มีสีดำทั้งตัวไม่เป็นที่นิยม แต่ก็ไม่ถึงกับไม่เป็นที่ยอมรับ สำหรับบูลด็อกที่มีสีนอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้นถือว่าใช้ไม่ได้
การ เดินการวิ่ง : ถึงแม้จะดูอืดอาดเชื่องช้าเวลาเดินต้องส่ายสะโพกไปมา ลักษณะการก้าวย่างควรดูอิสระ คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเวลาเดิน ลำตัวต้องไม่แกว่งมาก จนดูเหมือนไม่มีกระดูก
น้ำหนักและส่วนสูง: เพศผู้ควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วงระหว่าง 24-25 กิโลกรัม เพศเมียอยู่ในช่วง 22-23 กิโลกรัม ส่วนความสูงเพศผู้ควรอยู่ระหว่าง 16-18 นิ้ว และเพศเมียควรสูง 12-15 นิ้ว
ข้อบกพร่อง : จมูกมีสีเนื้อหรือจมูกเผือก

ข้อมูลอ้างอิงจาก..

http://women.sanook.com/pets/breed/dogs_44600.php