Monday, July 23, 2012

การฝึกสุนัขเบื้องต้น (ตอนที่ 2) การฝึกสุนัขให้คอย, การฝึกให้สุนัขยืน, การฝึกสุนัขให้มาหา






การฝึกสุนัขให้คอย
ถ้า จะให้สุนัขนั่งหรือหมอบอยู่ข้างเจ้าของนาน ๆ เวลาเจ้าของลุกไปทำธุระสุนัขอาจวิ่งตามอาจ ก่อให้เกิดความวุ่นวายและรำคาญที่สุนัขต้องตามตลอดเวลาดังนั้นการสั่งให้ สุนัขคอยจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยวิธีการฝึกอาจทำได้ คือ เมื่อสุนัขนั่งหรือหมอบอยู่ ควรฝึกในท่านั่งหรือนั่งชิด เริ่มจากการสั่งให้สุนัขนั่งลงใช้มือซ้ายทำสัญญาณโดยหันฝ่ามือเข้าหาสุนัข พร้อมกับใช้คำสั่ง "คอย" ออกเสียงชัดเจนลากเสียงเล็กน้อยแล้วค่อย ๆ หมุนตัวกลับหันหน้าเข้าหาสุนัข ถ้าสุนัขไม่คอยแต่ลุกขึ้นต้องใช้คำสั่ง "ไม่" แล้วจับตัวกลับไปนั่งที่เดิมแล้วเริ่มฝึกให้คอยใหม่อีกครั้ง คราวนี้ผู้ฝึกจะเคลื่อนตัวออกห่างไปประมาณ 3 ก้าว หากสุนัขไม่ขยับตัวให้รีบชมเชยทันที เมื่อการฝึกดีขึ้นจึงถอยหลังเคลื่อนไปจนสุดสายจูง ผู้ฝึกสามารถสังเกตอาการของสุนัขได้ตลอดเวลาว่าสุนัขมีท่าทีที่จะลุกออกจาก ตำแหน่งหรือไม่ ขณะที่ผู้ฝึกกำลังเคลื่อนตัวออกห่างสุนัขไปจนสุดสายจูงให้เปลี่ยนสายจูงจาก มือขวามาไว้ในมือซ้าย เมื่อหันหน้าเข้าหาสุนัขแล้วใช้แขนขวาโดยหันฝ่ามือยืดตรงไปยังหน้าสุนัข ถ้าสุนัขทำท่าจะลุกให้แก้ไขทันทีโดยใช้คำสั่ง "ไม่" แล้วจึงตามด้วยคำสั่ง "คอย"หลัง จากที่การฝึกมีการพัฒนามากขึ้นผู้ฝึกก็ไม่จำเป็นต้องเดินถ้อยหลังไปจนสุดสาย จูงแต่สมารถเดินหันหลังให้สุนัขแล้วค่อยหันหน้ากลับมาหาสุนัขได้ เมื่อสุนัขสามารถคอยในระยะปลายสุดของสายจูงได้แล้ว ต่อไปก็ให้สุนัขคอยในขณะที่เจ้าของเดินวนรอบสุนัข โดยเดินวนไปทางซ้ายของสุนัขอ้อมไปหลังสุนัขแล้วกลับมายืนข้างหลังของสุนัข และยืนที่ปลายสายจูงถือสายจูงด้วยมือซ้าย หันหน้าเข้าหาสุนัขสั่งให้ "คอย" แล้ว เดินวนรอบสุนัขโดยผ่านทางซ้ายของสุนัขแล้วกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ปลาย สายจูงหันหน้าเข้าหาสุนัข ปฏิบัติซ้ำ ๆ จนกระทั่งสุนัขเข้าใจ สำหรับการฝึกสุนัขให้หมอบคอยก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการฝึกให้สุนัขนั่งคอย ต่างกันเพียงใช้คำสั่ง "หมอบ" แต่ สำหรับการสั่งให้หมอบคอยจะไม่ใช้วิธีการเดินวนรอบตัวสุนัข แต่จะใช้วิธีการเดินข้ามตัวสุนัข โดยให้ผู้ฝึกยืนที่สุดสายจูงถือปลายสายจูงด้วยมือซ้าย หันหน้าเข้าหาสุนัขที่อยู่ในท่าหมอบ ต่อจากนั้นสั่งให้สุนัข "คอย" ให้ ยกเท้าซ้ายข้ามสายจูง แล้วเดินข้ามตัวสุนัขไปจนสุดสายจูง แล้งจึงหันหลังกลับทางซ้าย ยกขาซ้ายคร่อมสายจูง แล้วเดินข้ามตัวสุนัขไปยังที่จุดเริ่มต้น หันหลังกลับทางซ้ายหันหน้าเข้าหาสุนัข การเดินข้ามตัวสุนัขนี้ต้องระวังอย่าแตะตัวสุนัขระหว่างการข้ามเพราะจะทำให้ สุนัขลุกออกจากตำแหน่ง


การฝึกให้สุนัขยืน 
สุนัขควรจะ ได้รับการฝึกให้ยืนให้ตรงจุดใดจุดหนึ่ง โดยไม่เคลื่อนที่ ถึงแม้ว่าจะมีคนแปลกหน้าเดินผ่านมาก็ตาม สุนัขจะไม่แสดงอาการดุร้าย หรือแสดงความกลัวออกมาให้เห็น การฝึกในท่ายืน ควรทำการฝึกในระหว่างที่สุนัขเดินในตำแหน่งชิดในสายฝึก ผู้ฝึกใช้มือซ้ายยื่นออกไปข้างหน้าโดยหันฝ่ามือเข้าหาหน้าของสุนัขพร้อมกับ ออกคำสั่ง "ยืน" และหยุด ส่วนมากเมื่อทำเช่นนี้สุนัขจะนั่ง เพราะเคยได้รับการฝึกให้นั่งมาก่อน แต่กรณีนี้ผู้ฝึกไม่ต้องการให้สุนัขนั่ง แต่ต้องการให้สุนัขยืน ให้รวบสายฝึกด้วยมือขวา กะประมาณให้พอที่จะหย่อนสายฝึกได้ แต่ต้องระวังอย่ากระตุกที่สายฝึกเพราะจะเป็นเหตุให้สุนัขนั่ง ให้หย่อนมือซ้ายลงข้างตัวสุนัข และให้สัมผัสกับส่วนหน้าของขาหลังขวาอย่างนุ่มนวล ถ้าทำเร็วพอก็สามารถทำให้สุนัขยืนได้โดยไม่ต้องยกตัวสุนัขขึ้นจากตำแหน่ง นั่ง แต่ก็มีบ่อยครั้งที่สุนัขเบี่ยงตัวออก ในกรณีนี้ผู้ฝึกจะต้องปล่อยมือซ้ายข้ามหลังสุนัขไปสัมผัสกับส่วนหน้าของขา หลังซ้ายของสุนัข ให้ทำการฝึกเช่นนี้จนสุนัขเข้าใจ ซึ่งบางทีผู้ฝึกอาจต้องยกตัวสุนัขขึ้นหรือใช้สายฝึกลอดใต้ท้องสุนัขตรงใกล้ กับขาหลัง ยกตัวสุนัขขึ้นเพื่อให้สุนัขยืน ซึ่งในไม่ช้าสุนัขก็จะเข้าใจความหมายของคำว่า "ยืน"

การฝึกสุนัขให้มาหา
การฝึกสุนัข ให้มาหา ใช้สำหรับเรียกสุนัข ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะใดก็ตามเมื่อได้ยินคำสั่ง "มา" จะต้องมาหาผู้ฝึกโดยทันทีแล้วนั่งตรงหน้าของผู้ฝึก เมื่อผู้ฝึกสั่ง "ชิด" สุนัขจะลุกขึ้นแล้วเข้ามาอยู่ในตำแหน่งนั่งชิด ก่อนอื่นสุนัขต้องได้รับการฝึกให้นั่งและหมอบคอยมาก่อน ผู้ฝึกสั่งให้สุนัขคอยเกือบสุดสายฝึก แต่ระวังอย่าดึงสายฝึกจะเป็นเหตุให้สุนัขลุกขึ้น เมื่อหันหน้าเข้าหาสุนัขแล้วให้สุนัขคอยอยู่สักครู่หนึ่ง เมื่อเห็นว่าสุนัขจะไม่ลุกจากตำแหน่ง ให้เดินถอยหลังไปช้า ๆ สองหรือสามก้าว แล้วสั่งให้สุนัข "มา" พร้อมกันนั้นให้ใช้มือซ้ายกระตุกสายฝึกเบา ๆ ในขณะเดียวกันก็ทำสัญญาณ "มา" ถ้าเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ให้ตบที่หน้าอกเพื่อกระตุ้นให้สุนัขมาหา ในขณะเดียวกันควรพูดให้กำลังใจให้สุนัขเข้ามาหา ถ้าสุนัขยังไม่เข้ามาหาก็อาจต้องเข้าไปอุ้มมายังที่ ๆ ผู้ฝึกยืนอยู่ หรือกระตุกสายฝึกเล็กน้อย ให้ปฏิบัติจนสุนัขเข้าใจคำว่ามา ทันทีที่สุนัขลุกขึ้นผู้ฝึกจะต้องยกย่องชมเชยเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง ทำการฝึกซ้ำอีกจนกว่าจะไม่จำเป็นต้องดึงสายฝึกอีก และสุนัขจะมาในทันทีที่ผู้ฝึกพูดว่ามา เมื่อสุนัขเข้ามาถึงตัวผู้ฝึกแล้วจะสั่งให้สุนัข "นั่ง" พร้อมกับใช้มือขวาจับที่สายฝึกแล้วกระตุกขึ้นเล็กน้อยสุนัขก็จะนั่ง เพราะเคยได้รับการฝึกให้นั่งตามคำสั่งมาแล้ว ต่อมาจึงให้สุนัขเดินเข้ามาชิด โดยออกคำสั่ง "ชิด" พร้อมกับดึงสายฝึกจูงให้สุนัขเดินเข้ามาหาโดยการใช้มือซ้ายตบโคนขาซ้ายของ ผู้ฝึกแล้วสั่งให้สุนัข"นั่ง" เมื่อสุนัขปฏิบัติได้ถูกต้องให้ชมเชยสุนัข

การฝึกหมาใครเลี้ยงหมาควรดู


การฝึกสุนัข

Dogilike.com :: ฝึกน้องหมาให้นั่งลง

วันนี้เอาใจเพื่อนๆ ที่อยากจะฝึกน้องหมาให้นั่งลงตามคำสั่งเรา แบบนี้ต้องทำอย่างไรดีนะ 

     การฝึกสุนัขให้มีระเบียบนั้นเราสามารถทำได้ไม่ยาก เพราะว่าสุนัขเขาอยากจะเรียนรู้อยู่แล้ว แต่เราจะต้องมีความพยายามและอดทนไม่ทำร้ายเขาจนเขาหวาดกลัวละไม่กล้าที่จะ ฝึกอีกต่อไป ดังนั้นจึงมีวิธีไม่ยากนักที่จะสอนน้องสุนัขของเราให้น่ารักได้

Dogilike.com :: ฝึกน้องหมาให้นั่งลง
        - ลองใช้วิธีการโดยการใช้สายจูงสุนัข จากนั้นบอกให้สุนัข นั่ง โดย ที่เราจะต้องยืนตรงกันข้ามกับสุนัข แล้วจึงออกคำสั่ง ช่วงแรกๆ อาจใช้อาหารล่วงเพื่อให้สุนัขเกิดแรงจูงใจที่อยากจะฝึก หากสุนัขไม่ยอมนั่งลงให้ใช้มือกดที่บั่นท้ายของสุนัขเบาๆ เพื่อกระตุ้นให้มันรับรู้ว่าเราต้องการให้มันทำอะไร และเมื่อน้องหมานั่งลงแล้วก็ให้รางวัลมันซักหน่อยเป็นกำลังใจให้นักเรียนคน ใหม่

Dogilike.com :: ฝึกน้องหมาให้นั่งลง
          - ในการฝึกสุนัขขั้นแรก สุนัขอาจจะยังไม่อยากฟังหรือทำตามคำสั่ง เราจะเห็นได้ว่าสุนัขอยากที่จะเล่นมากกว่าฟัง ดังนั้น ผู้ฝึกจะต้องใช้ความพยายามและอดทน แล้วบอกว่า ไม่เอา เมื่อสุนัขกำลังจะลุกขึ้น
Dogilike.com :: ฝึกน้องหมาให้นั่งลง
          - ถ้าสุนัขเริ่มที่จะทำตามคำสั่งแล้ว ให้เพื่อนๆชาว Dogilike.com ให้รางวัลกับสุนัขด้วยการให้ขนมสักชิ้นแล้วชมสุนัขว่า ดีมาก  แล้วอย่า ลืมหมั่นทนทวนให้น้องหมาทำตามคำสั่งบ่อยๆ มันจะได้ไม่ลืมคำสั่ง และเป็นน้องหมาที่เชื่อฟังคำสั่งเพื่อนๆชาว Dogilike.com ไงล่ะคะ

สุนัขที่ไม่ได้รับการฝึกอาจกลายเป็นสุนัขก้าวร้าวและเป็นอันตรายกับเจ้าของได้ เจ้าของควรเริ่มฝึกสุนัขตั้งแต่ยังเล็กๆจะง่ายกว่า    โดยฝึกให้คุ้นเคยกับการรับคำสั่ง      การ เดินโดยใช้สายจูง การเล่นเกม สุนัขที่ได้รับการฝึกตั้งแต่เล็กถ้าพฤติกรรมที่ไม่ดีตอนโตจะแก้ไขได้ ง่ายกว่าสุนัขที่ไม่ได้รับการฝึกให้เชื่อฟังคำสั่ง

เมื่อไหร่ที่ควรเริ่มฝึก
คุณไม่ควรจริงจังกับการฝึกสุนัขมากนัก ถ้าสุนัขอายุยังไม่ถึง 7-8 เดือน นักจิตวิทยาสัตว์บางคนบอกว่า ลูกสุนัขบางตัวสามารถเริ่มฝึกได้เมื่ออายุตั้งแต่ 7 สัปดาห์ แล้วเทคนิคต่าง ๆ ค่อย ๆ สอนภายหลัง แต่ จริง ๆ แล้วเรื่องของเทคนิคต่าง ๆ ปล่อยให้นักฝึกสุนัขอาชีพเป็นผู้ฝึกดีกว่า ขณะที่ลูกสุนัขของคุณยังอยู่ในช่วงต้น ๆ ของความเป็นลูกสุนัข ตั้งใจเอาชนะใจมันให้ได้ มันจะรักและนับถือคุณ การฝึกพื้นฐานจะเริ่มได้เมื่ออายุ 3-4 เดือน ช่วงอายุนี้ควรฝึกให้เดินสวยขณะที่คุณจูง นั่ง นอน ตามคำสั่ง และเข้ามาหาคุณเวลาคุณเรียกมัน

คุณมีส่วนในการฝึก
คุณ ต้องมีความอดทนในการชี้แจงให้สุนัขเข้าใจว่าแต่ละคำที่คุณออกคำสั่งนั้นหมาย ถึงอะไร ทำมันด้วยมือหรือเชือกจูงสำหรับฝึกก่อน ทำให้มันแน่ใจในคำสั่งด้วยเสียงของคุณ สอนมันเป็นประจำทุกวันถึงสิ่งที่คุณต้องการจะให้มันรู้ ทบทวนคำสั่งพร้อมกับแสดงอาการประกอบ สาธิตให้มันดูซ้ำแล้วซ้ำอีก ให้สุนัขได้มีโอกาสรับรู้จดจำไว้
เมื่อ มันเริ่มเรียนรู้ให้ใช้เพียงคำพูดเป็นคำสั่งโดยไม่ต้องออกท่าทาง จ้ำจี้จ้ำไชกับมันบ่อย ๆ เมื่อมันทำผิดก็แก้ไขมันมันถูก แรก ๆ ก็ใจดีกับมันก่อน แล้วค่อย ๆ เข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ ตามความก้าวหน้าของการฝึก อย่าหมดความอดทนหรือฉุนเฉียวเสียก่อน อย่าตีมันด้วยมือหรือเชือกจูงขณะที่ฝึก เพียงแค่คุณดุมันหรือว่ามันก็รู้สึกผิดมากพอแล้ว
เมื่อ สุนัขทำในสิ่งที่คุณต้องการ ชมเชยมันพร้อมกับลูบหลังมันไปด้วย อย่าตบรางวัลสุนัขด้วยขนมหรือปฏิบัติกับมันดีเกินไปขณะฝึก สุนัขที่ชินกับนิสัยการรับรางวัลเช่นนี้จะไว้ใจไม่ค่อยได้ เพราะว่ามันจะไม่ค่อยยอมทำอะไรถ้าไม่ได้กลิ่นขนมหรือของรางวัล ถ้าหากฝ่าฝืนคำสั่งหรือทำอย่างไม่ค่อยเต็มใจ (เหลวไหล) คุณควรจะพูดกับมันดี ๆ ต่อไปมันจะดีขึ้นเรื่อย ๆ


เสียงที่ใช้ฝึก
เมื่อ คุณฝึกสุนัขให้ใช้เสียงในการออกคำสั่งที่แข็งขันและชัดเจน ครั้งแรกคุณออกคำสั่งไปแล้วต้องยืนกรานคำสั่งเดิมไปจนกระทั่งมันเชื่อฟัง หรือแม้แต่จะฉุดมันให้มาฟังคุณก็ตามที มันต้องเรียนรู้ว่าการฝึกนั้นต่างจากการเล่น เมื่อใดที่มีการออกคำสั่งมันต้องเชื่อฟังไม่ว่าจะมีอะไรมาทำให้วอกแวกก็แล้ว แต่ จงจำไว้ว่าน้ำเสียงและน้ำหนักเสียงของคุณ (ต้องไม่ดังลั่น) จะมีอิทธิพลต่อสุนัขเป็นส่วนใหญ่ ต้องพูดด้วยคำพูดที่เน้นหนักแน่น ในการใช้คำพูดระหว่างฝึกจำกัดคำสั่งของคุณให้ใช้คำเพียงแค่ 2-3 คำ ถ้าเป็นไปได้ก็อย่าเปลี่ยนคำสั่ง มันเป็นการดีที่สุดถ้าจะมีผู้ฝึกสุนัขเพียงคนเดียว คนอื่น ๆ อาจใช้คำสั่งแตกต่างกันออกไป วิธีฝึกก็ต่างไปซึ่งอาจทำให้สุนัขสับสนได้ สุนัขที่ได้ยินคำสั่งประเภท "มานี่" "มาหาหน่อย" "เร็ว ๆ เข้า" หรือคำสั่งทำนองนี้แต่มีความต้องการเดียวกันคือให้มันมาหา ถ้าคุณใช้คำสั่งมากมายขนาดนี้มันจะสับสนมาก ให้ใช้คำไหนคำนั้นดีที่สุด

บทเรียนที่ใช้ฝึก
การฝึกเป็นงานหนักทั้งสุนัขและผู้ฝึก สุนัขเล็ก ๆ ใช้เวลาฝึกในช่วงหนึ่งได้ไม่เกิน 10 นาที ก็จะไม่อยากฝึกต่อดังนั้นควรจำกัดอย่าให้บทเรียนบทแรกยาวเกินไปนัก แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มเวลาไปเป็นระยะจนกระทั่งถึง 30 นาที คุณเองก็อาจพบได้ว่าคุณก็เริ่มหมดความอดทนเหมือนกันเมื่อใกล้ ๆ จะหมดเวลาฝึก เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณอารมณ์ไม่ดีให้หยุดฝึก ใช้เวลาที่เหลืออยู่ทบทวนบทเรียนเก่า ๆ ไปก่อน และก่อนหรือหลังบทเรียนควรมีช่วงเวลาพักเล่นด้วยไม่ใช่เล่นระหว่างเรียน แม้แต่สุนัขที่เด็กที่สุดก็จะเรียนรู้ได้เองว่าเวลาที่ต้องเรียนนั้นเป็น ช่วงที่ต้องเคร่งครัดจริงจัง ส่วนความสนุกจะตามมาหลังจากนี้
อย่า ใช้เวลาในการฝึกช่วงแรก ๆ มากนัก มิฉะนั้นสุนัขก็จะเบื่อ พยายามจบบทเรียนในช่วงที่ดี ๆ ถ้าหากสุนัขไม่ได้ทำในสิ่งที่คุณต้องการนั้นเป็นเพราะคุณไม่สามารถทำให้มัน จดจำได้ดีพอ

เครื่องมือในการฝึก
1. เชือก ที่ใช้จูงสุนัข ใช้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า "ตัวนำ" ดังนั้นเราจะใช้คำนี้แทน ตัวนำ ที่ดีที่สุดสำหรับฝึกนั้นเป็นผ้าทอหรือสาน ยาว 6 ฟุต ส่วนใหญ่ใช้สีทึม ๆ มอ ๆ หรือจะใช้เป็นหนังขนาดเท่ากัน หรือจะใช้แบบเป็นสีสันก็มีใช้กันอยู่บ้าง แล้วแต่คุณจะเลือก
2. ต้อง ใช้ปลอกคอฝึกสุนัขควบคู่ไปด้วย ปลอกคอฝึกส่วนใหญ่ทำด้วยไนล่อนหรือ โซ่เหล็ก ซึ่งมีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง แล้วใช้ตัวนำคล้องกับปลายห่วงทั้งสอง ใช้ผ่อนหรือดึงบังคับสุนัข แม้ว่าจะฟังดูน่าตกใจ แต่มันก็ไม่ได้ทำให้สุนัขของคุณต้องเจ็บแต่อย่างใด และมันก็จะต้องใช้ในการฝึกด้วย ควรฝึกวิธีการใช้ปลอกคอให้ถูก ปลอกคอฝึกควรจะใส่รอบคอสุนัข เพื่อคุณจะสามารถล่ามตัวนำกับห่วงตรงปลายปลอกคอ อย่าใส่ห่วงใต้คอ มันเป็นสิ่งสำคัญในการใส่ปลอกคอฝึกให้ถูก มันจะได้แน่นเวลาคุณดังตัวนำ และง่ายเวลาคุณผ่อนหรือไม่ได้รั้งตัวนำ
3. วิธี ในการจับตัวนำก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะปลอกคอควรจะหย่อนอยู่ตลอดเวลา นอกจากเวลาดึง จับวงเชือกไว้ด้วยมือขวา ไขว้มือไปด้านข้าง ส่วนมือซ้ายจับตัวนำไว้ให้ใกล้ปลอกคอฝึกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนที่เหลือของตัวนำก็จะขมวดเป็นวงได้ (ที่คุณถือด้วยมือขวา) แนบแขนข้างนี้กับลำตัว การผ่อน ดึง หรือคลาย ทุกอย่างทำด้วยมือซ้าย ด้วยการกระตุก

การฝึกให้ตาม
"การ ตาม" เป็นศัพท์สำหรับสุนัขที่หมายความว่า ให้สุนัขเดินไปด้านข้างของคุณชิดกับขาคุณ มีตัวนำด้วยหรือไม่มีก็ได้ ถ้าคุณอดทนและพยายามพอ คุณสามารถฝึกสุนัขให้เดินเคียงข้างคุณได้ในถนนอันแออัด หรือผ่านสุนัขตัวอื่น ๆ ได้อย่างดี ถึงตอนนี้คุณก็ได้เรียนรู้ถึงวิธีการใส่ปลอกคอ การใช้ตัวนำแล้วคุณก็พร้อมที่จะเริ่มบทเรียนแรกในการฝึกการตาม ให้สุนัขนั่งอยู่ด้านซ้าย เรียกชื่อ และใช้คำสั่ง "ตาม" เริ่มก้าวเท้าซ้ายของคุณ ดึงตัวนำเล็กน้อย เพื่อให้สุนัขได้เริ่ม ต้องเรียกชื่อมันก่อนเสมอ แล้วตามด้วยคำสั่ง เช่น "แดงตาม" การเอ่ยชื่อจะช่วยให้มันสนใจมากขึ้น ทำให้มันได้รู้ว่าคุณกำลังออกคำสั่งให้มัน (แดง คือชื่อสมมุติของสุนัขในที่นี้)
ให้ เดินอย่างกระฉับกระเฉงแต่ละก้าว เดินวนเป็นวงกลมใหญ่ หรือเดินไปเป็นสี่เหลี่ยม หรือเส้นตรงก็ได้ ขณะที่เดินแน่ใจว่าสุนัขของคุณอยู่ข้างซ้ายและชิดขาของคุณเสมอ ถ้ามันเดินล้าหลังคุณให้กระตุกตัวนำเบา ๆ ให้มันเดินให้ทันคุณ แล้วก็ชมมันว่าดีแล้วที่ทำอย่างนี้ ถ้ามันเดินนำหน้าคุณหรือออกห่างไป ให้คุณหยุดพร้อมกับกระตุกตัวนำอย่างแรง ดึงมันกลับมาอยู่ตรงที่ที่ถูก ควรชมมันทุกครั้งที่มันเดินถูกที่ถูกทาง ทันทีที่คุณกระตุกตัวนำเพื่อให้สุนัขคุณอยู่ถูกที่ก็ให้ผ่อนสายตัวนำไปด้วย อย่างลากสุนัขหรือดึงตัวนำเพราะจะเกิดการดึงกันไปดังกันมา ซึ่งไม่เป็นผลดีเลย
เพื่อ ให้สุนัขตั้งอกตั้งใจฝึก ต้องพูดกับมันขณะที่คุณให้มันกลับมาถูกที่คุณควรจะฝึกการเดินหันหลังกลับ ด้วยการกระตุกตัวนำเบา ๆ ขณะที่คุณหมุนตัวด้วย มันจะเรียนรู้ไปทีละนิดละหน่อยว่ามันต้องตั้งอกตั้งใจ หรือจะถูกกระตุกให้กลับมาอยู่ข้างตัวคุณ และคุณสามารถเปลี่ยนวิธีการไปได้เรื่อย ๆ โดยการเปลี่ยนความเร็วบ้าง หันหลังกลับ เดินตรง หรือว่าเดินซิกแซกข้ามสนามที่ใช้ฝึก เป็นต้น
"ตาม" หมายถึง "นั่ง" ด้วย สำหรับสุนัขแล้วคำสั่งว่า "ตาม" จะหมายถึงมันต้องนั่งอยู่ข้างซ้ายของคุณด้วย เมื่อคุณหยุดโดยไม่มีคำสั่งอะไรเพิ่มขณะที่คุณฝึกให้ตาม ทำให้มันนั่งเมื่อคุณหยุด ครั้งแรกใช้คำสั่งว่า "นั่ง" แต่ต่อไปไม่ต้องออกคำสั่งอีก มันจะนึกรู้และจะนั่งได้เองเมื่อคุณหยุด และจะคอยคำสั่ง "ตาม" ใหม่ เพื่อจะลุกเดินอีกครั้ง

การฝึกให้นั่ง
การ ฝึกสุนัขให้นั่งค่อนข้างง่าย โดยให้มันยืนอยู่ข้างซ้ายมือ ให้ถือตัวนำสั้น ๆ แล้วออกคำสั่งว่า "นั่ง" ขณะออกคำสั่งให้ดึงตัวนำขึ้นพร้อมกับกดช่วงหลังของสุนัขลง แต่อย่าให้มันลงไปหมอบหรือยืนขึ้น ถ้ามันลงหมอบให้กระตุกตัวนำขึ้นจนกระทั่งมันลุกขึ้นแล้วนั่ง ถ้าหากมันทำตามคำสั่งช้า ๆ ให้ดังมันอย่างแรงจนกระทั่งมันทำตามความต้องการของเรา ให้มันอยู่ในท่านั่งสักชั่วขณะหนึ่ง แล้วค่อยผ่อนความตึงของตัวนำพร้อมกับชมมันด้วย ทวนคำสั่งอย่างหนักแน่นในขณะที่คุณจูงมันในท่านั่ง ย้ำเพื่อให้มันจำคำสั่งได้ขึ้นใจ ถ้าหากมันเคลื่อนที่ละก้อให้ทวนคำสั่งอีกครั้งแล้วให้มันนั่งลง หลังจากนี้มันก็จะนึกรู้และนั่งลงไปเองโดยไม่ต้องกดหลังมันอีก เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วแสดงว่ามันจะนั่งเองได้ ชมเชยมันบ่อย ๆ ให้รางวัลโดยการกระทำกับมันอย่างอ่อนโยน และชมเชยมันบ่อย ๆ ด้วยคำพูดที่นุ่มนวล

การฝึกให้หมอบลงหรือหมอบ
จุด ประสงค์ขั้นตอนนี้คือ ทำให้สุนัขหมอบลงกับคำสั่ง "หมอบ" หรือเมื่อออกคำสั่งด้วยมือ ให้คุณยกมือมาข้างหน้าพลิกโบกฝ่ามือลง อย่างไรก็ตาม คุณต้องทำไปจนกว่าสุนัขจะเข้าใจความหมายของคำสั่งและจะทำเองได้โดยไม่มี ปฏิกิริยากึ่งบังคับจากคุณ สัญญาณมือควรจะทำควบคู่ไปกับการออกคำสั่ง คำสั่งนี้อาจจะยากไปหน่อยในช่วงแรก เพราะมันรู้สึกเหมือนคุณยกมือเพื่อจะทำร้ายมันและมันป้องกันตัวเองไม่ได้ อาจจะวิ่งเตลิดไปก็ได้ ให้เอาใจมันด้วยคำชมหรือทำกับมันดี ๆ เมื่อมันทำตามคำสั่งแล้วมันจะเรียนรู้ไปเองว่าไม่มีอะไรที่เลวร้ายเกิดขึ้น ในทางกลับกันมันจะรู้จักคำสั่งว่า "หมอบ" แล้วถ้ามันทำตามนายจะพอใจ
อย่า เริ่มฝึกสุนัขหมอบลงจนกระทั่งมันเข้าใจคำสั่งนั่งได้เป็นอย่างดีเสียก่อน ให้สุนัขอยู่ในท่านั่งและคุณคุกเข่าอยู่ตรงหน้า ยกขาหน้าของมันด้วยมือแต่ละข้างของคุณ จับตรงเหนือข้อศอก ยกขามันขึ้นแล้วดึงลงมาที่พื้นข้างหน้า ในขณะเดียวกันก็ออกคำสั่งว่า "หมอบ" แล้วดึงขาหน้ามันลงมาติดพื้น
ดึง มันลงมาที่พื้นและทำให้มันรู้ว่าท่านี้เป็นท่าที่ต้องการให้มันทำ วิธีนี้ดีกว่าจะไปบังคับให้มันทำ มิฉะนั้นจะทำให้มันรู้สึกตกใจและเริ่มจะไม่ชอบการฝึกใด ๆ เลย หมั่นพูดคุยกันมัน บอกมันให้รู้ว่าคุณดีใจ พอใจ เวลาที่มันทำตามคำสั่ง แล้วคุณจะพบว่าคุณมีความสุขกับการฝึกสุนัข
หลัง จากที่มันเริ่มเรียนรู้ เลื่อนตัวนำไปอยู่ใต้เท้าซ้ายและออกคำสั่ง "หมอบ" ในขณะเดียวกันดึงตัวนำด้วยจะช่วยให้สุนัขหมอบลง ช่วงนี้ยกมือคุณแล้วโบกลงให้สัญญาณมืออีกครั้ง อย่าหวังว่ามันจะสามารถทำได้ด้วยคำสั่งเพียงครั้งเดียว จงอดทนฝึกกับมันไปเรื่อย ๆ มันก็จะร่วมมือด้วย ถ้าคุณแสดงให้มันเห็นว่าอะไรบ้างที่คุณอยากให้มันทำ
การฝึกให้อยู่นิ่ง ๆ
ขั้น ต่อไปคือการฝึกสุนัขให้อยู่นิ่ง ๆ ในท่านั่งหรือหมอบ เหมือนกับครั้งก่อนโดยใช้ตัวนำสอนคำสั่งนี้ จนกระทั่งสุนัขของคุณตอบรับคำสั่งด้วยการทำตามคำสั่ง แล้วจึงเอาตัวนำออก การฝึกเริ่มด้วยการนั่งนิ่ง ๆ จัดให้สุนัขอยู่ในท่านั่งข้างคุณในท่านั่งแนบขาโดยอัตโนมัติ ถือเชือกในมือข้างหนึ่ง (ส่วน ใหญ่ผู้ฝึกชอบถือมือซ้าย) ก้าวไปข้างหน้าแล้วหันหน้ามาหามัน ยื่นมือออกไป นิ้วชี้ไปที่ช่วงจมูกของมันแล้วสั่งว่า "อยู่นิ่ง" ถ้ามันทำท่าจะเดินตามคุณเนื่องจากเป็นธรรมชาติของมันที่จะทำ เพราะมันอยู่ในท่าที่จะตาม ให้กระตุกตัวนำ เพื่อให้มันกลับมานั่งก่อน ยกมือมาไว้ข้างหน้ามันแล้วทวนคำสั่งอย่างหนักแน่นอีกรั้ง ให้มันอยู่ในท่านั่งนั้นสัก 2-3 วินาที ก่อนจะให้ลงมือปฏิบัติการอย่างอื่น แต่ละครั้งที่มันทำสำเร็จคุณต้องกล่าวชมมันเรื่อย ๆ แสดงให้มันเห็นว่าคุณพอใจกับมันด้วย
ทวน วิธีนี้อีกครั้งจนกระทั่งสุนัขของคุณทำเหมือนกับว่ามันเข้าใจว่าคุณจะให้มัน ทำอะไร เมื่อมันได้เรียนรู้ตลอดกระบวนการแล้ว เดินออกมาทางขวาของสุนัขอ้อมไปข้างหลัง ก้าวอีก 2 ก้าวไปข้างหน้า อีกสัก 2-3 ก้าว ไปด้านข้าง ทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งคุณไปจนสุดสายเชือก ครั้งใดที่สุนัขจะออกตามคุณ สะบัดเชือกยื่นแขนออกโบกมือลงแล้วออกคำสั่งอย่างเฉียบขาด เมื่อมันแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่อยู่ในท่าที่ถูกต้อง ขณะที่คุณเดินออกไปสุดเชือกนั่นหมายถึงคุณพร้อมที่จะฝึกมันต่อไปอีก ให้อยู่ในท่าเดิมโดยใช้เชือกยาวกว่าเดิม (ราว ๆ 25-30 ฟุต) แล้วท้ายสุดให้ฝึกโดยการเอาเชือกออก
ครั้ง แรก ๆ ที่เรียนรู้การนั่งนิ่ง ๆ คุณสามารถจะสอน "หมอบนิ่ง ๆ" โดยเริ่มคำสั่งด้วยคำว่า "หมอบ" ก่อน แล้วฝึกโดยใช้วิธีเดียวกับฝึกนั่งนิ่ง ๆ

การฝึกให้คำสั่ง "มานี่"
คุณ สามารถฝึกสุนัขให้มาหาคุณเมื่อคุณเรียกได้ ถ้าเริ่มต้นกับมันตั้งแต่มันเด็ก ๆ แรกเริ่ม ฝึกสอนล่ามตัวนำอยู่ในสุนัขนั่ง แล้วย้อนเชือกกลับมาพร้อมเรียกชื่อมัน ให้เรียกด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดึงตัวนำนิดหน่อยเพื่อให้มันเริ่ม เมื่อมันเดินมาให้ส่งเสียงชมมันดัง ๆ หรืออาจใช้อีกวิธีโดยการให้ขนมสำหรับสุนัขหรือผลไม้เป็นรางวัล มันจะนึกรู้ทันที คุณอาจจะเดินออกมาจนสุดตัวนำแล้วเรียกมัน เช่น "แดงมานี่" วิ่งไปสองสามก้าวแล้ว, หยุดให้มันมาอยู่ตรงหน้า (แดงคือชื่อของมัน)
ไม่ ต้องอยากฝึกคำสั่งนี้โดยไม่มีตัวนำ เพราะแรก ๆ มันอาจจะคิดว่ามันไม่ต้องเชื่อฟังคำสั่งคุณอีกแล้วก็ได้ และมันก็จะวิ่งหนีไป โปรแกรมการฝึกของคุณก็ต้องล้มเหลว ระลึกไว้ว่าชีวิตสุนัของคุณนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับการสนองตอบต่อคำสั่งให้มาหา โดยทันทีเมื่อถูกเรียก ถ้ามันไม่เชื่อฟังเวลาไม่ได้ล่ามไว้ ให้ล่ามมันอีก แล้วแก้ไขให้กลับมาเชื่อฟังโดยการใช้ตัวนำ
การฝึกให้มานี่ เพื่อจะตามมา
หัว เรื่องนี้ คือสำหรับคุณเมื่อยืนอยู่ สั่งว่า "ตามมา" สุนัขของคุณเดินตามอ้อมทางขวาแล้วนั่งอยู่ข้างเข่าซ้ายของคุณในท่านั่ง ถ้าหากสุนัขของคุณไม่ได้ถูกฝึกให้นั่งโดยไม่มีคำสั่งทุก ๆ ครั้งที่คุณหยุด มันก็ผ่านสำหรับขั้นนี้ให้มันนั่งอยู่หน้าคุณ มองหน้ามันแล้วถอยหลังไปหนึ่งก้าว เคลื่อนเฉพาะเท้าซ้าย ดึงสุนัขมาอยู่ด้านหลังคุณและก้าวตรงไปรวมทั้งดึงมันไปรอบ ๆ จนกระทั่งมันอยู่ในท่าตาม คุณอาจทำให้สุนัขเดินไปรอบ ๆ ได้โดยอ้อมตัวนำไปข้างหลัง ใช้ส้นเท้าซ้ายดันมันออกถ้ามันเริ่มจะนั่งหรือค้อมตัวลง การฝึกนี้อาจต้องได้เหงื่อนิดหน่อย แต่มันจะเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ถ้าทำให้มันรู้ว่าคุณอยากให้มันทำอะไร

การฝึกให้ยืน
สุนัข ของคุณควรจะถูกฝึกให้ยืนในจุดเดียวโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ยอมให้คนแปลกหน้าโบกมือไปมาอยู่เหนือใบหน้าและหัว หรือปัดไปมาแถวขาโดยไม่มีความกลัวหรือแสดงออกใด ๆ ทั้งสิ้น ใช้วิธีเดียวกับคุณที่เคยฝึกมันให้นั่งหรือหมอบขณะเดิน ยื่นมือซ้ายออกไป โบกอยู่ตรงแถว ๆ จมูก พร้อมกับออกคำสั่งให้มันอยู่นิ่ง ๆ ครั้งแรกมันจะคิดว่าคุณให้มันนั่ง แต่คุณต้องหยุดมันด้วยการเอามือสอดไปใต้ลำตัวมันใกล้กับช่วงท้องและจับไว้ จนกระทั่งมันนึกรู้ว่านี่ต่างจากการออกคำสั่งให้นั่ง ชมมันอีกเวลามันยืนเฉย ๆ แล้วคุณก็เดินไปจนสุดสายตัวนำ รีบแก้ไขอย่างรวดเร็วถ้าหากมันทำท่าจะเคลื่อนไหว โดยให้คนแปลกหน้าเข้ามา ใกล้ ๆ มัน แล้วก็โบกมือไปมาเหนือหลังหรือแถว ๆ ขา ให้มันยืนนิ่ง ๆ จนกระทั่งคุณกลับมาหามัน นี่เป็นการฝึกและออกกำลังที่มีค่าถ้าหากคุณมีแผนที่จะโชว์สุนัขของคุณ มันจะต้องเรียนรู้ที่จะยืนท่าโชว์ และลองให้กรรมการตัดสิน กรรมการก็จะโบกมือไปมาบนหลังและแถวขามัน ก็จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้สุนัขยืนอย่างสุขุมและมั่นคง

การฝึกนิสัยและสังเกตพฤติกรรมสุนัข
          สุนัข เป็นสัตว์ที่สามารถสื่อสารกับมนุษย์หรือสุนัขอื่นๆ ผ่านการแสดงอากัปกิริยาต่างๆ นั่นรวมไปถึง การแสดงสีหน้าหลายๆแบบ การทำท่าหลายๆ อย่าง เช่นการส่งเสียง หรือวิธีการดมกลิ่นรับรู้ภาษามนุษย์ได้ สามารถฝึกสุนัขให้สื่อสารกับมนุษย์ได้ ช่วยงานมนุษย์ในด้านต่างๆมากมาย เช่น สุนัขตำรวจ สุนัขทหาร สุนัขนำทางคนตาบอด เป็นต้น

การแสดงความเป็นใหญ่มีพละกำลังมากกว่าเหนือคู่ต่อสู้                     
          สุนัข จะยืนตัวตรงคอตั้ง ขาเหยียดตรง หางและหูตั้งขึ้น ทำอกตั้ง ขนรอบคอชูชัน และเป็นแนวยาวตลอดสันหลัง โบกหางไปมาอย่างช้าๆ พร้อมขู่คำราม ในทางกลับกันสุนัขตัวที่กำลังยอมแพ้ (หรือยอมจำนนต่อตัวที่เก่งกว่า) จะแสดงท่าว่า ข้านี้ตัวกระจ้อยร่อย หมดน้ำยาเหมือนลูกสุนัขตัวเล็กๆ และอาจจะนอนหงายท้อง หูรี่ ไม่สู้แต่อย่างไร พอถึงตรงนี้ต้องขออธิบายกันก่อนว่า สุนัขตัวโตมักจะสั่งสอนหรือดุลูกสุนัขตัวเล็กๆ แต่เขาจะไม่ทำร้ายเจ้าตัวน้อยอย่างแน่นอน

การแสดงการยอมแพ้
              สุนัข ตัวที่ยอมแพ้ว่าอีกตัวนั้นเก่งกว่าหรือเหนือกว่า หรือยอมรับและเกรงกลัวคนผู้เป็นเจ้าของ จะแสดงอาการยำเกรง ด้วยการเข้าไปหาสุนัขตัวที่เหนือกว่าหรือเจ้าของ ทางด้านข้าง โดยหมอบคลานเตี้ยติดพื้น หางตกแต่แกว่งไปมา นอกจากนี้ คุณยังจะพบอีกว่าเค้าจะชอบเลียมือเลียไม้ เลียเท้าหรืออาจเลยไปถึงหน้า ของผู้เป็นเจ้าของ หรือสุนัขตัวที่เหนือกว่า ถ้ามันทำได้ แต่ถ้าเขายังเห็นว่าที่แสดงออกมานี้ยังแสดงอาการเอาใจได้ไม่มากพอ พวกเค้าอาจจะเพิ่มอาการให้มากขึ้นไปอีก โดยลงไป กลิ้งหงายท้อง ซึ่งบางตัวอาจจะมีฉี่ออกมาด้วย

การแสดงความดีใจหรือเป็นมิตร
              สุนัข จะกะดิกหาง หรือแกว่งหาง อย่างแรงจนก้นสบัดเป็นการแสดงอาการยินดีและความเป็นมิตร และลูกฝูงก็จะทำอากับกริยาดีใจเช่นนี้เหมือนกันต่อฝูง

การแสดงอาการโกรธ
              สุนัขที่แสดงว่ากำลังโกรธ จะขู่คำราม แยกเขี้ยว  หางที่โบกอย่างช้าๆเกร็งๆ อยู่ในระดับเดียวกับ หลังของสุนัข



การแสดงอาการกลัว
              สุนัขที่แสดงอาการกลัว มีความกังวลใจ กลุ้มใจ จะทำส่วนหางที่ห้อยตกอยู่ระหว่างก้นของสุนัข หรือแกว่งอย่างเกร็งๆตกอยู่ระหว่างก้น

สุนัขที่ทำหูตั้ง
              สุนัข ที่กำลังทำหูตั้ง ตัวตรง แสดงว่ากำลังอยู่ในอาการที่เตรียมพร้อม ที่จะทำอะไร บางอย่าง หรือฟังเสียงอย่างตั้งอกตั้งใจอย่างเฝ้าระวังตลอดเวลา

สุนัขที่ทำหูลู่หรือตก
              สุนัขที่กำลังทำหูลู่หรือตกไปข้างหลังเสมอกับแนวศรีษะ ก็จะบ่งบอกถึงว่า สุนัขกำลังดีใจ ยอมแพ้ หรือกลัว

สุนัขที่ทำตาหรี่
              สุนัขที่กำลังทำตาหรี่แปลความหมายได้สองอย่าง คือถ้าไม่ได้กำลังมีความสุข ก็แสดงว่ากำลังยอมแพ้

สุนัขที่ทำตาเบิกกว้างและลุกโพลง
               สุนัข ที่ทำตาโตเบิกกว้างและลุกโพลงแสดงว่าสุนัขกำลังจะแสดงอาการก้าวร้าวหรือ กำลังเริ่มโมโห เหมือนอย่างเช่นในฝูงสัตว์ป่า หัวหน้าฝูงแสดงอาการเช่นนี้เพื่อควบคุมและดูแลบรรดาลูกฝูงที่ไม่เชื่อฟัง โดยการจ้อง ทั้งสอง ฝ่ายจะจ้องตากันจนกว่าจะมีฝ่ายใดเข้าท้าทายหรือมีฝ่ายใดก้มหัว ฝ่ายที่ยอมแพ้ก็จะลดหัวของตนให้ก้มต่ำลงแล้วหันกลับออกไป อย่างไรก็ดี หากการประจันหน้าของสุนัขที่เหนือกว่าและตัวที่ด้อยกว่ายังคงดำเนินอยู่ต่อ ไป แม้ว่าสุนัขตัวที่ด้อยกว่าจะหลีกทาง ไปแล้ว สุนัขที่ด้อยกว่านั้นอาจจะรู้สึกสับสนและแว้งกัดออกไปเพื่อเอาชนะความกลัวก็ ได้ และหากการทำสงครามทางสายตานี้ ไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด สุนัขตัวที่เหนือกว่าก็จะเข้าคุกคามและสั่งสอนอีกตัวด้วยการแยกเขี้ยวคำราม ขู่ หรือตรงเข้ากัดทันที
การจ้องตาสุนัข              
                 สุนัข ที่จ้องตากับสุนัข หรือสุนัขกับคน มีสองอย่างคือจ้องตากันแบบแสดงความรักความอบอุ่นต่อกัน หรือจ้องตาท้าทายเพื่อการต่อสู้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมแพ้  คุณไม่ควรจ้องตากับสุนัขที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห เพราะจะเป็นการยั่วยุให้สุนัข เริ่มตรงเข้าทำร้ายคุณ
              สุนัข ที่ว่าง่ายและสุนัขบางสายพันธุ์ที่เห็นชัดๆ อย่างเช่น ลาบราดอร์ ซึ่งเป็นสุนัขที่ทำหน้าเหมือนยิ้ม เวลาอ้าปาก เราจะเห็นฟันใต้กระพุ้งปากยานๆเผยอๆของเค้า อันนี้ดูเป็นมิตรดี แต่ในยามที่เค้าโมโห ปากของสุนัขลาบราดอร์ จะหุบเข้า เผยให้เห็นฟันขาวแวววาวทุกซี่ ซึ่งคุณจะได้ยินเสียงเค้าขู่ตามมา สำหรับสุนัขที่แสดงอาการอยากจะเล่น อาจจะแสดงพฤติกรรม ด้วยการเหยียดอุ้งเท้าตุ้มน้อยๆออกมาหา หรือชวนคุณเล่นผ้า และเค้าก็จะชอบเห่าเพื่อดึงดูดความสนใจ ส่วนกิริยาท่าทางอื่นๆ ของสุนัขที่สามารถสังเกตได้ก็อย่างเช่นชวนคุณเล่นของเล่น หรือไล่งับเพื่อนๆของเค้าเพื่อชวนให้เล่นวิ่งไล่กัน

เราต้องเป็นเจ้านาย
              สุนัขเมื่อเข้าวัยหนุ่มสาวอายุได้ประมาณ 6 เดือน  สุนัขเริ่มเป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำตามคำสั่งที่เราเคยสอนให้ปฏิบัติตามอย่างคำสั่ง เช่น นั่ง” , หมอบหรือ มานี่ใน ช่วงนี้ สุนัขจะทดสอบสามารถของเจ้านาย ถ้าอ่อนแอหรือเขาแข็งแรงและมีพละกำลังมากกว่า สุนัขจะคิดว่าเขาจะเป็นผู้นำ แทนเราได้หรือไม่ ดังนั้นคุณมีหน้าที่ที่จะต้องสอน และฝึกฝน วินัยให้เขาและทำให้เค้ารู้ให้ได้ว่าสถานะของเค้านั้นอยู่ตรงไหน และแม้ว่าเขาจะโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่แล้ว คุณก็ควรจะฝึกวินัย ให้กับเขาเป็นระยะๆ และอย่าลืมว่าการชมเชยเป็นสิ่งสำคัญมากๆ(สุนัขทุกตัวชอบเหมือนกันหมด)
              เมื่อ สุนัขแสดงความเป็นใหญ่เหมือนเป็นจ่าฝูง ให้คุณรีบกำจัดความอหังการของเค้าลงไปเช่นการที่ลูกสุนัขแสดงท่าทาง หวงกระดูก หรือของกินกับคุณ อย่าปล่อยให้เขาทำพฤติกรรมนี้กับคุณ หากปล่อยเนิ่นนานไปมันอาจจะสายเกินแก้  พฤติกรรมของเขาหรืออาจกลายเป็นอันตรายหากสุนัขของคุณ ตัวโตจนคุณไม่สามารถบังคับได้  วิธี แก้ไข เวลาที่เค้ากำลังกิน อาหารให้ดึงชามข้าวเค้าออกมาบ้าง สุนัขควรยินยอมคุณแต่โดยดี หากเค้าแยกเขี้ยวคำราม หรืออยากจะกัดเรา คุณต้องกำราบเขา

การเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก้าวร้าว
            ถ้า ลูกสุนัขแสดงความก้าวร้าว เช่น หวงอาหาร หวงของเล่น ขู่เวลาจับอาบน้ำ วิธีการสอนให้สุนัขรู้ว่าคุณคือเจ้านาย ก็คือการจับเค้านอนตะแคงราบไปกับพื้นแล้วใช้มือกดคอเค้าไว้ (เหมือนแม่งับคอลูกเพื่อสั่งสอน) ให้คุณกดไว้อย่างนี้จนกระทั่งเค้ายอมจำนน และคลายอารมณ์ลง (ให้ ทำอย่างนี้หลายนาทีโดยเฉพาะที่ เป็นครั้งแรก) คุณจึงปล่อยมือออกมา แล้วอย่าลืมว่าให้พูดเรียกชื่อเค้าอย่างนุ่มนวลล่ะระหว่างเวลาที่คุณกดมือลง ไป วิธีการกำราบนี้ใช้ได้เฉพาะเวลาที่ลูกสุนัขของคุณประพฤติตนในทางที่ไม่ควร เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ที่เค้าแยกเขี้ยวยิงฟัน ใส่คุณเวลาที่คุณแต่งตัวให้เค้า ไม่ต้องกังวลว่าเขาจะเจ็บ เพราะวิธีการกำราบแบบนี้จะไม่ทำให้เค้าเจ็บ และนี่เป็นวิธเดียวกับที่สุนัขที่อยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่า แสดงออกและทำกับลูกฝูงตัวที่เด็กกว่าให้เจียมเนื้อเจียมตัว แต่อย่าลืมปล่อยมือออกจากคอเค้าก็แล้วกัน หากคุณเห็นว่าเค้ายอมคุณแล้ว แม้ว่าเค้าดิ้นตัวหนีคุณอย่างสุดกำลังก็ตาม
วิธีการแสดงว่าเราเหนือกว่า
              ให้ เราบีบปากสุนัขด้วยมือย่างระมัดระวังแล้วปล่อยมือ ก็เป็นอีกวิธีในการแสดงความเหนือกว่าของคุณต่อสุนัข และเป็นการเสริมความน่าเกรงขามให้กับตำแหน่งหัวหน้าฝูงให้คุณได้ดี ทุกคนในครอบครัวควรเข้าใจตรงกันว่า สุนัขอยู่ในสถานะที่เป็นน้องเล็กที่สุดของบ้าน ไม่ใช่เจ้านายและควรปฏิบัติกับเขาอย่างนั้น  เพื่อ เป็นการป้องกันไม่ให้สุนัขของคุณแสดงความเหิมเกริมและอยากเป็นใหญ่ ไม่ควรให้อนุญาตให้สุนัขขึ้นมานั่งบน โซฟาหรือนอนบนเตียงโดยที่คุณไม่ได้อนุญาตอย่างเด็ดขาด
              ส่วนการที่เค้าเห็นขาใครต่อใครในครอบครัวคุณ เป็น สุนัขตัวเมียก็เกิดขึ้นได้บ่อย แต่ไม่ได้แสดงว่าสุนัขของคุณ เค้ามีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดๆหรอก แต่สำหรับเขามันคือการแสดงความมีอำนาจเหนือกว่าต่าง หาก แม้แต่สุนัขตัวเมีย ก็ตามหากทำอย่างนี้จะถือว่าเป็นการกระทำที่แสดงออกต่อสุนัขตัวที่มีตำแหน่ง ต่ำกว่า ดังนั้นคุณอย่าไปปล่อยให้พฤติกรรม แบบนี้เกิดขึ้นกับเค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสุนัขแสดงพฤติกรรมแบบนี้กับลูกๆของคุณ ให้พูดกับเค้าเสียงแข็งๆว่า ไม่!แต่ หากยังเกิดพฤติกรรมแบบนี้ขึ้นอีก ก็ให้แสดงความเป็นเจ้านายหรือหัวหน้าฝูงของเค้าด้วยการจับเค้านอนตะแคง แล้วกดคอเค้าไว้ด้วยมืออย่างที่กล่าวมาข้างต้น
              คุณ ควรจะเริ่มวิธีการนี้เสียตั้งแต่แรกๆ สามารถเริ่มได้ทันทีที่เค้าเข้ามาอยู่ในบ้านคุณใหม่ๆ และเริ่มคุ้นเคยแล้ว เพื่อที่ลูกสุนัขเล็กๆที่น่ารักของคุณได้เติบโตขึ้นมา เป็นสุนัขที่มีเสน่ห์และนิสัยดีในอนาคต
              และ แน่นอนว่าการแก้ไขความประพฤติที่ไม่ถูกต้องที่เค้าทำจนเคยชินแล้ว จะยากกว่าการสอนเค้าตั้งแต่ต้น เป็นไหนๆ สุนัขตัวที่ไม่ได้รับการสอนจากคุณมาตั้งแต่ต้นนั้นจะเป็นปัญหาแน่เมื่อเค้า อายุได้สักปีหรือสองปี ท้ายที่สุด พวกเค้าจะต้องลงเอยในสถานสงเคราะห์สัตว์หรือที่แย่กว่านั้น อาจต้องโดนกำจัดทิ้ง ถ้าเขากลายมาเป็นสุนัขที่จ้องจะ เข้าคุกคามและเป็นอันตรายต่อคน อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากคุณได้เริ่มฝึกฝนเค้าอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เค้า ยังเล็กๆ
              วิธีแบบโบราณที่จะให้ สุนัขเชื่อฟังก็คือการเฆี่ยนตี แต่โชคดีที่การทารุณสัตว์แบบนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว คุณทราบไหมว่า สุนัขที่ถูกตีนั้นจะอยู่อย่างเป็นทุกข์และจะสามารถกัดหรือทำร้ายคนได้เมื่อ เค้ารู้สึกกลัว พวกเค้าจะไม่มีความมั่นใจในมนุษย์ ดังนั้นสิ่งที่คุณควรกระทำต่อสุนัขของคุณนั้นก็คือการให้ความสนใจเค้า ชมเชยเค้า และรักเค้าอยู่เสมอ
              อย่า ลืมว่าไม่เพียงสุนัขเท่านั้นที่ต้องเรียนรู้ ตัวคุณเองก็ต้องเรียนรู้เช่นกันว่าคุณควรต้องทำอะไร เพื่อให้สุนัขเข้าใจว่า เขาต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงเป็นการเหมาะสม

การเห่าของสุนัข
          1. เห่าเพื่อเป็นการเตือน การเห่าแบบนี้อาจจะเป็นที่ต้องการกับเจ้าของบางคนเพราะเป็นการเห่าเมื่อเจอคนแปลกหน้าหรือผู้บุกรุกเข้ามาในอาณาเขตของเค้า
          2. เห่าเพื่อเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่จะพบในลูกสุนัขเพื่อจะทำให้เราสนใจ แต่เราควรจะทำตรงข้ามกันคืออย่าสนใจ
           3. เห่าเพราะตื่นเต้นหรือเล่น เสียงเห่าลักษณะนี้จะสั้นและแหลม
          4. เห่าเพื่อแสดงตัว เหมือนกับเป็นการเห่าตอบสุนัขตัวอื่นๆ คล้ายๆจะบอกว่า "ฉันอยู่ที่นี่ไง"
          5. เห่าเพราะเบื่อ หรือเพื่อเป็นการปลดปล่อยพลังงาน สุนัขหลายพันธุ์ต้องการการออกกำลังกาย ไม่งั้นจะอึดอัดและหาทางออกโดยการเห่าหรือทำนิสัยเสียอย่างอื่นแทน เช่น ขุดดิน กัดแทะ เป็นต้น
           6. เห่าเพราะเหงาหรือรู้สึกกังวลใจ น้องหมาบางตัวติดเจ้าของมากหรืออาจมีการเปลี่ยนที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่จะเกิดความรู้สึกกังวลใจขึ้น
           7. เห่าเพราะตกใจ อาจเกิดจากการได้ยินเสียงแปลกๆ หรือเจออะไรที่ไม่คุ้นเคยอย่างหมาเห่าใบตองแห้ง นิสัยนี้เราควรจะต้องรีบแก้โดยเร็ว
การฝึกนิสัยการเห่าของสุนัข
สุนัข ที่เห่าเวลามีคนมาส่งจดหมาย คนวิ่งผ่านหน้าบ้าน หรือเด็กขี่จักรยานผ่าน พวกมันจะมีความคิดว่าตัวเองนี่เก่งจริงๆ เพราะสามารถเห่าจนคนเหล่านี้ผ่านไปและนี่คือปัญหาเพราะมันจะถูกพัฒนาจนกลาย เป็นนิสัย เราอาจจะแก้ไขโดยการป้องกันไม่ให้สุนัขเห็นคนภายนอกแต่นั้นไม่ใช่วิธีแก้ไข ทั้งหมด
สิ่ง แรกเราต้องไม่ให้รางวัลกับสุนัขที่กำลังเห่าไม่ว่ากรณีใดๆ เช่นเห่าเพื่อขอของกินถ้าเราให้สุนัขก็จะเห่าทุกครั้งเพื่อขอของกิน เราต้องหาสัณญาณที่จะทำให้เค้ารู้ว่าควรจะหยุดได้แล้ว เช่นคำว่า "พอแล้ว" การ ฝึกทำโดยเมื่อสุนัขเริ่มเห่าได้ครั้งสองครั้งให้เราดึงความสนใจของสุนัขมา ที่เราโดยเคาะประตู(ถ้าอยู่ที่ประตู)เมื่อสุนัขหยุดเห่าให้พูดคำว่า "พอ แล้ว" และให้รางวัลกับเค้าเช่นขนมหรือคำชมต่างๆ ถ้ายังไม่หยุดเห่าเอาขนมไปให้ดมใกล้ๆจมูกเมื่อเค้าหยุดให้พูดคำว่า "พอแล้ว" รออีกสักพักถ้ายังเงียบอยู่ก็ให้กินขนมหรือให้คำชมอีกครั้ง ย้ำคุณต้องมั่นใจว่าเค้าหยุดเห่าจริงๆถึงค่อยให้  ใช้น้ำเสียงเรียบๆอย่าตะโกนเพราะถ้าคุณตะโกนเค้าจะคิดว่าคุณร่วมเชียร์ด้วย
          การ ออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี สุนัขที่ได้รับการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะมักจะไม่เห่า เพราะไม่เบื่อ หรือกระวนกระวายที่แน่ๆคือเหนื่อย ควรระลึกไว้เสมอว่าการฝึกทุกชนิดต้องใช้เวลาจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณและ ความอดทนของคุณ หลีกเลี่ยงการทำโทษทางร่างกายเพราะนั่นจะทำให้เค้ากลัวคุณมากกว่าการเปลี่ยน นิสัย แต่ว่ามีสนัขบางชนิด
      ขอบคุณมากค่ะที่อ่านและโพสอย่าอ่านฟรี

บลูด๊อกบูล (Bull) ซึ่งหมายถึงบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีรูปร่างคล้ายวัวขนาดเล็ก



 


ต่อไปนี้นะครับจะเล่าถึงหมาอีกชนิดหนึ่ง ชื่อพันธุ์ บลูด๊อก หมาพันธุ์หน้าย่น หรือ ฉายามัน โหดหน้าเหี่ยว ฮ่าๆ
เขาว่ากันว่า มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศเมืองผู้ดีคือ ประเทศอังกฤษ ดูเผินๆ คล้ายๆพันปั๊ก คำว่า Bulla หมายถึง
สุนัขที่มีรูปร่างคล้ายวัวขนาดเล็กและสีก็คล้ายคลึงกัน ชื่อนี้ได้มากจาก ชาวอังกฤษเป็นคนตั้งให้ไว้สำหรับไล่วัวหรือต่อสู้กับวัว บูลด๊อกโดยมากจะได้รับการฝึกฝนให้มีนิสัยก้าวร้าวอันธพาล และได้รับการทรมารจากคนเลี้ยงลงโทษด้วยวิธีการเจ็บปวด
ยุคแรกๆ ของบูลด็อกมีขายาวกว่าพันธุ์ที่เห็นในปัจจุบัน แต่กระดูกเบากว่า ปากใหญ่และกะโหลกศีรษะเล็กกว่าทุกวันนี้ หูก็มีลักษณะตูบเล็กเพื่อความทนทานในการเสียดสีเมื่อต่อสู้ อีกประการหนึ่งก็คือหางยาวและม้วนพอง มีไว้ให้เจ้าของดึงออกจากคู่ต่อสู้ขณะต่อสู้อยู่
จากคนฝึก นี่แหละเหตุผลทำไมผมถึงเรียก พันธุ์โหดหน้าเหี่ยว

ลักษณะโดยทั่วไปของพันธุ์บลูด๊อก
ลักษณะทั่วไป : บูลด็อกที่สมบูรณ์แบบ ต้องมีขนาดปานกลาง รูปรางบึกบึนและหนา กระดูกและกะโหลกศีรษะมีขนาดใหญ่มาก หน้าสั้น ใหญ่ กว้าง บริเวณหน้าผากมีรอยย่นลึก ตาอยู่ในตำแหน่งห่างจากใบหู กล้ามเนื้อหนังตาบนจะย่นเหมือขมวดคิ้วอยู่ตลอดเวลา  ริมฟีปากหนา คิวสั้น
ศีรษะ  ควรมีขนาดใหญ่พอสมควรเมื่อวัดศีรษะหน้าผากควรมีรอยย่นลึกเป็นแนว และมีเส้นผ่าลึกลงมาจากส่วนบนมายังจมูกและปาก
ปาก ควรมีริมฝีปากที่หนา กว้างและลึกเห็นได้ชัด
ข้อบกพร่อง จมูกมีสีเนื้อหรือจมูกเผือก
ผิวหนัง : อ่อนนุ่มและไม่ตึง น่าจับ โดยเฉพาะที่หัวและคอไหล่
นี่แหละคือคุณสมบัติคร่าวๆ ของพันธุ์นี้นะครับ ใครจะลองไปซื้อมาเลี้ยงก็ได้นะครับ สิ่งทำสำคัญก่อนจะเรียนศึกษาหาดูข้อมูลเยอะๆ ก็นำมาซื้อ
และเลี้ยงดูเขาอย่างดีเหมือนลูกหลานเรานั้นแหละ อย่าไปทำร้ายมันล่อยเกินมันจะเกลียดทำร้ายเรา มีเมตตา กรุณา ต่อสัตว์ทุกชนิดหากมี2ข้อนี่แล้ว
จะเลี้ยงพันธุ์ก็สบายใจ คิดเหมือนว่าเขาเป็นเพื่อนร่วมโลกเรา

ประวัติความเป็นมา

มี ถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ จัดอยู่ในกลุ่มมาสติฟ (Mastiff) โดยเชื่อกันว่าบูลด็อกเป็นสุนัขกลายพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ Tibetan Mastiff ที่ดูโครงสร้างภายนอกไม่สมประกอบ มีตำราบางเล่มระบุว่าบูลด็อก สุนัขที่เกิดจากการถูกผู้เลี้ยงดูอย่างทรมาน เพื่อให้ได้มาซึ่งสุนัขที่มีรูปร่างหน้าตาไม่สมประกอบ เช่น การนำวัสดุแข็งๆ มาทำเป็นหน้ากากคลุมหัวบูลด็อกไว้ เพื่อให้มีใบหน้าสั้นผิดปรกติไปจากสุนัขตัวอื่นๆ หรือการยับยั้งการเจริญเติบโตของสุนัขด้วยการขังไว้ในที่แคบๆ จนแทบไม่สามารถกระดิกตัวได้ เพื่อให้สุนัขมีรูปร่างแคระแกร็น

คำว่า บูล (Bull) ซึ่งหมายถึงบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีรูปร่างคล้ายวัวขนาดเล็ก ชื่อนี้ได้มาจากการที่ชาวอังกฤษในสมัยยุคก่อนๆ ได้ฝึกสุนัขพันธุ์นี้ไว้เพื่อต่อสู้กับวัว เป็นการยากที่จะหาหลักฐานมาอ้างอิงว่าบูลด็อกกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้ออ้างอิงที่เป็นไปได้คือ ในสมัยปี ค.ศ. 1209 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของกษัตริย์จอห์น โดยท่านลอร์ดวิลเลี่ยม เอริล์วอร์เรนได้มองเห็นวัว 2 ตัว กำลังต่อสู้กันในสนามหญ้าหน้าวังของท่าน เพื่อแย่งชิงวัวตัวเมียอีกตังหนึ่ง จนกระทั่งฝูงสุนัขเลี้ยงวัวของคนเลี้ยงวัวได้ออกมาขับไล่วัวคู่นั้นออกไป จากบริเวณสนาม ท่านลอร์ดมีความยินดีมากและเกิดความคิดที่ว่าจะให้มีเกมกีฬาชนิดใหม่ขึ้นมา คือกีฬาสุนัขต่อสู้กับวัว ซึ่งต่อมาก็เป็นกีฬาที่นิยมกันมากในประเทศอังกฤษ

บูลด็ อกโดยมากจะได้รับการฝึกให้มีนิสัยก้าวร้าวดุร้าย โดยเจ้าของสุนัขจะลงโทษด้วยวิธีการที่เจ็บปวด จึงทำให้บูลด็อกในอดีตมีนิสัยที่ดุร้าย ในการต่อสู้ในเกมกีฬาที่แสนหฤโหดและนองเลือด บูลด็อกจะถูกปล่อยลงสนามให้ต่อสู้กับวัวที่กำลังบ้าคลั่ง โดยมันจะบุกโจมตีบริเวณใบหูของวัว และกัดอยู่นานจนกว่าจะล้มวัวตัวนั้นได้ ต่อมาก็ได้มีการผสมพันธุ์เจ้าหน้าแก่นี้เสียใหม่ให้มีตัวเล็กลง เพื่อความว่องไวและปราดเปรียว ขณะเดียวกันจมูกที่เคยโด่งออกก็ถูกผสมให้แนบแบนติดกับใบหน้าเสีย เพราะจะทำให้มันโจมตีคู่ต่อสู้ได้นานกว่าเดิม

ยุคแรกๆ ของบูลด็อกมีขายาวกว่าพันธุ์ที่เห็นในปัจจุบัน แต่กระดูกเบากว่า ปากใหญ่และกะโหลกศีรษะเล็กกว่าทุกวันนี้ หูก็มีลักษณะตูบเล็กเพื่อความทนทานในการเสียดสีเมื่อต่อสู้ อีกประการหนึ่งก็คือหางยาวและม้วนพอง มีไว้ให้เจ้าของดึงออกจากคู่ต่อสู้ขณะต่อสู้อยู่

แต่แล้วยุคเสื่อม ของบูลด็อกก็มาถึง เมื่อกีฬาต่อสู้กับวัวเสื่อมความนิยมลง โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1835 กีฬาการต่อสู้สุนัขถูกบัญญัติให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย บูลด็อกจึงค่อยๆ หมดความหมายและพลอยถูกลืมเลือนไปด้วย ช่วงเวลาของความรุ่งโรจน์แห่งเผ่าพันธุ์ก็เริ่มหมดลง จำนวนของบูลด็อกก็ได้ลดลงไปมาก แต่โชคดีที่มีคนรักสุนัขและเสียดายในสายพันธุ์ได้ยื่นมือเข้ามาอนุรักษ์สาย เลือดนี้ไว้ แม้ว่าความดุร้ายจะเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่คงลักษณะที่ดีๆ อย่างอื่นเอาไว้ จากหลักการนี้บูลด็อกจึงได้รับการคัดเลือกพันธุ์ตามวิธีการที่ถูกต้อง ภายในเวลาเพียงไม่กี่รุ่นก็ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมีการประกวดบูลด็อกขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1859 และในปี ค.ศ. 1864 ก็ได้ตั้งสมาคมอนุรักษ์สุนัขพันธุ์บูลด็อกขึ้น บูลด็อกยังคงลักษณะที่ดีเด่นเอาไว้ครบถ้วน แต่ความโหดร้ายดุดันดั้งเดิมได้ถูกตัดออกไป จนถึงบัดนี้บูลด็อกได้รับการยกย่องเป็นสุนัขประจำชาติอังกฤษ เนื่องจากความอดทนกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวของมัน วิญญาณของความเป็นนักสู้ในอดีตยังคงปรากฏให้เห็น แม้ว่าวันเวลาที่ผ่านไปจะทำให้มันเกิดเชื่องช้าลงบ้างก็ตาม

มาตราฐานสายพันธุ์

ลักษณะทั่วไป : บูลด็อกที่สมบูรณ์แบบต้องมีขนาดปานกลาง รูปรางบึกบึนและหนา กระดูกและกะโหลกศีรษะมีขนาดใหญ่มาก หน้าสั้น ใหญ่ กว้าง บริเวณหน้าผากมีรอยย่นลึก ตาอยู่ในตำแหน่งห่างจากใบหู กล้ามเนื้อหนังตาบนจะย่นเหมือขมวดคิ้วอยู่ตลอดเวลา ริมฝีปากหนาและกว้าง มีกล้ามเนื้อหนาแน่น แขน ขาล่ำสัน แข็งแรง แผ่นหลังโค้งเล็กน้อย และจะยกสูงบริเวณสะโพก ลำตัวส่วนท้องจะคอด กระดูกซี่โครงมีลักษณะห่อกลมคล้ายมะขามป้อม ตะโพกค่อนข้างเล็ก หางสั้นและขดแน่นกับส่วนหลัง ด้านอุปนิสัยมีความทรหดอดทน อารมณ์คงที่มั่นคงอย่าเสมอต้นเสมอปลาย มีความตั้งใจแน่วแน่ กล้าหาญ พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นไปอย่างสงบและสง่า ท่าทางการเดินมีลักษณะแปลกเฉพาะตัว คล้ายข้อต่อกระดูกไม่แข็งแรง เหมือนการลากไป มีลักษณะการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างคล้ายการกลิ้งไป แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ต้องไม่เกร็ง เป็นอิสระและเข้มแข็ง
ศีรษะ : ควรมีขนาดใหญ่ เมื่อวัดรอบศีรษะ โดยวัดจากด้านบนลงล่างผ่านใบหูควรจะมีความยาวมากกว่าความสูงของตัว เมื่อมองจากด้านหน้าศีรษะควรสูงมาก เมื่อมองจากมุมของขากรรไกรล่างไปถึงจุดสูงสุดของกะโหลกกว้างมากเป็นสี่ เหลี่ยม เมื่อมองจากด้านข้างศีรษะอยู่สูงมาก และจากจมูกถึงท้ายทอยสั้นมาก หน้าผากควรมีรอยย่นลึกเป็นแนว และมีเส้นผ่าลึกลงมาจากส่วนบนมายังจมูกและปาก
จมูก : จมูกควรใหญ่ แลดูกว้างแต่สั้น ปลายจมูกควรจะมีรอยย่นลึก จมูกมีเส้นแบ่งเขตแนวชัดเจน รูจมูกใหญ่และเชิด จมูกควรจะมีสีเข้ม หากเป็นสีดำสนิทได้ยิ่งดี จมูกสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำไม่เป็นที่นิยม จมูกแดงเป็นสีเดียวกับสีผิวถือว่าผิดลักษณะ และถ้าจมูกเป็นสีชมพูถือว่าเป็นจุดด้อยอย่างมาก นอกจากนี้จมูกต้องไม่แห้งหรือเปียกชุ่มเกินไป
ปาก : ริมฝีปากบนควรหนา กว้างและลึกมากห้อยลงมาปิดกรามล่างได้มิดชิด หากมองจากด้านข้างจะปิดริมฝีปากล่างและฟันมิดชิด แผ่นหลังที่หุ้มปากทั้งสองด้านควรมีขนาดใหญ่และยาวเท่าๆ กัน ขากรรไกรล่างใหญ่กว้าง เป็นสี่เหลี่ยมยื่นเลยขากรรไกรบนและงอนขึ้น
ฟัน : ฟันควรอยู่ครบ 42 ซี่ ฟันล่างจะเกยอยู่ด้านนอก ฟันที่ดีต้องซี่ใหญ่แข็งแรงมั่นคง ฟันที่ยื่นออกมาต้องไม่มีลักษณะโค้งงอ ฟันเขี้ยวอยู่ห่างจากกัน ฟันตัด 6 ซี่ที่อยู่ด้านหน้าระหว่างฟันเขี้ยวอยู่ในแนวระดับเดียวกัน เวลาอ้าปากจะเห็นฟันซี่เล็กๆ 6 ซี่ทางด้านหน้า เวลาหุบปากไม่ควรจะให้เห็นฟันจึงจะดี และฟันควรขาวสะอาด
ตา : ดวงตาควรมีลักษณะกลม ขนาดปานกลาง ไม่จมลึกหรือยื่นออกมามากเกินไป เมื่อมองจากด้านหน้าจะฝังอยู่ในกะโหลกศีรษะ อยู่ห่างจากหูมาก และตาทั้ง 2 ข้างไม่ควรอยู่ห่างกันมากนัก สีลูกตาควรเป็นสีเข้ม หนังตาปิดตาขาว
หู : ฐานหูทั้ง 2 ข้างควรจะยกสูงและควรจะอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลกัน ใบหูควรเล็กและบาง ปลายหูควรพับลงมาแนบกับศีรษะ ควรอยู่ห่างจากตาพอเหมาะ ลักษณะใบหูที่ดีควรมีลักษณะโคนตั้งปลายตกหรือกับกลีบดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุด หูไม่ควรตั้งตรงและไม่ควรตกลงมาทั้งหมด
คอ : เนื่องจากบูลด็อกเป็นสุนัขที่มีส่วนหัวใหญ่ ลำคอจึงควรใหญ่หนา สั้นและแข็งแรง และเป็นส่วนโค้งทอดไปยังส่วนหลัง หนังใต้ลำคอจะหย่อนลงมาเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ควรปล่อยให้ยาน เพราะถ้ายานและมีหนังหย่อนมามากแสดงว่ากำลังอ้วนเป็นพะโล้ แก้ไขโดยการออกกำลังกายบ่อยๆ
ไหล่ : หัวไหล่ควรมีขนาดใหญ่ กว้างและมีมัดกล้ามเนื้อหนา ก่อให้เกิดความสมดุลและพละกำลังมาก
อก : กว้างมาก ลึกและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เห็นกล้ามเนื้อที่อกได้ชัดเจน ซี่โครงโค้งกลมจากหัวไหล่จนไปถึงจุดต่ำสุดของหน้าอก ทำให้สุนัขมองดูมีลักษณะกว้าง เตี้ยและขากว้าง
ลำตัว : แข็งแรงกำยำ เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ไม่ควรผอมจนเห็นซี่โครงและไม่ควรอ้วนจนมองไม่เห็นกล้ามเนื้อบริเวณท้องน้อย ควรจะขอดเล็กน้อย แนวสันหลังควรสั้นและแข็งแรง บริเวณที่ไหล่กว้างมากและค่อนข้างแคบ บริเวณบั้นท้ายซึ่งเป็นจุดที่ควรสูงกว่าความสูงที่ไหล่และมีความโค้งลาดต่ำ อีกครั้งลงไปที่หาง ซึ่งเป็นลักษณะที่เด่นชัดมากสำหรับสุนัขพันธุ์นี้ จึงเรียกว่าหลังแมลงสาบหรือหลังวงล้อ
สะโพก : ควรจะโค้งมนได้รูป ส่วนก้นกลมและไม่มีกระดูกโปนออก
ขาหน้า : ควรสั้น สุนัขพันธุ์นี้มีขาหน้าที่สั้นกว่าขาหลัง ดังนั้นเมื่อสุนัขยืนจะทำให้ช่วงหน้าของลำตัวต่ำกว่าบั้นท้าย ขาที่ดีต้องแข็งแรง กระดูกขาใหญ่ ต้นขาเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ขาหน้าเวลายืนควรอยู่ห่างกัน ช่วงบนของขาหน้าแลดูเป็นวงโค้ง ข้อศอกควรอยู่ห่างจากลำตัว เท้าและนิ้วเท้าใหญ่พอประมาณแลดูกระทัดรัด เล็บที่ขาควรมีสีเข้มและควรเป็นสีเดียวกันกับขนบนลำตัว
ขาหลัง : แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อและยาวกว่าขาหน้า เวลายืนตะโพกจะเชิดสูงทำให้ดูหลังแอ่น ส่วนขาควรสั้นและแข็งแรง ลักษณะของเท้าที่ดี ข้อเท้าที่ขาหลังควรจะหันออกจากลำตัวเล็กน้อย ขาหลังควรบิดออกเล็กน้อย
เท้า : ควรมีขนาดปานกลาง กระทัดรัดและแข็งแรง ปลายเท้าหน้าอาจตรงหรือเปิดออกเล็กน้อย แต่ขาหลังควรยื่นออกด้านนอก
หาง : อาจตรงหรือเป็นเกลียว แต่ไม่โค้งหรือม้วน หางต้องสั้น ห้อยต่ำ โคนหางใหญ่ ปลายเล็ก ถ้าหางเป็นเกลียว การม้วนหรือขมวดของหางจะมีลักษณะเป็นเกลียวคล้ายก้นหอยแต่ต้องไม่หงิกงอ ปลายหางไม่ควรม้วนลงไปถึงโคนหาง
ขน : ขนควรสั้นและเหยียดตรงแบนราบกับลำตัว สีของขนควรสม่ำเสมอ สะอาดสดใสและดูเป็นมันเงา ขนต้องไม่ยาวหรือขึ้นเป็นลอน
ผิวหนัง : อ่อนนุ่มและไม่ตึง โดยเฉพาะที่หัว คอและหัวไหล่ รอยย่นและเหนียงตรงคอ ศีรษะและหน้าควรปกคลุมด้วยรอยย่นขนาดใหญ่ และที่คอจากขากรรไกรจนถึงหน้าอกควรจะมีรอยย่นที่ห้อยออกมาเป็น 2 แนว
สี : สีขนของบูลด็อกมีหลายสี สำหรับสีขนที่ถือเป็น 2 สีในตัวเดียวกัน ในสุนัขที่มี 2 สี แต่ละสีควรเป็นสีเดียวที่บริสุทธิ์ไม่มีสีอื่นเจือปนให้เป็นสีผสม และควรมีการกระจายสีในลักษณะที่สมดุล บูลด็อกที่มีสีดำทั้งตัวไม่เป็นที่นิยม แต่ก็ไม่ถึงกับไม่เป็นที่ยอมรับ สำหรับบูลด็อกที่มีสีนอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้นถือว่าใช้ไม่ได้
การเดินการวิ่ง : ถึงแม้จะดูอืดอาดเชื่องช้าเวลาเดินต้องส่ายสะโพกไปมา ลักษณะการก้าวย่างควรดูอิสระ คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเวลาเดิน ลำตัวต้องไม่แกว่งมาก จนดูเหมือนไม่มีกระดูก
น้ำหนักและส่วนสูง: เพศผู้ควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วงระหว่าง 24-25 กิโลกรัม เพศเมียอยู่ในช่วง 22-23 กิโลกรัม ส่วนความสูงเพศผู้ควรอยู่ระหว่าง 16-18 นิ้ว และเพศเมียควรสูง 12-15 นิ้ว
ข้อบกพร่อง : จมูกมีสีเนื้อหรือจมูกเผือก

7ข้อง่ายๆในการเลี้ยงลูกสุนัขอย่างถูกวิธี


7ข้อง่ายๆ ในการเลี้ยงลูกสุนัขอย่างถูกวิธี
สำหรับใครที่พึ่งจะมีลูกสุนัข เรามีเทคนิคการดูแลลูกสุนัขอย่างถูกวิธีมาฝากกันค่ะ
1. ฉีดวัคซีนตามที่สัตว์แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ
2. ควรใช้อาหาร เม็ดและอาหารที่กินง่าย และอย่าให้สุนัขของท่านแทะกระดูกเด็ดขาด
3. เมื่อสุนัขเริ่มโตจะเริ่มมีขนร่วง อย่าแปลกใจเพราะเป็นธรรมชาติในการเจริญเติบโตของสุนัข
4. เมื่อสุนัขเริ่มอายุ 6-7เดือน อย่าเพิ่งรีบให้ผสมพันธุ์ เพราะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ อาจทำให้หยุดเติบโตได้
5. ควรดูแลฟันและปากของลูกสุนัขเป็นพิเศษ ควรหากระดูกเทียมให้เล่น
6. ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกสุนัขที่อายุยังไม่ถึง3เดือน
7. ไม่ควรเลี้ยงลูกสุนัขไว้บนพื้นที่ดูลื่น เช่นพื้นหินอ่อนขัด พื้นกระเบื้อง เพราะจะทำให้ขาสุนัขไม่สวยงาม
จดจำเพียง7ข้อนี้การดูแลสุนัขตัวโปรดของท่านก็จะเป็นเรื่องง่ายได้ และสิ่งสำคัญคือการดูแลเอาใจไส่เขาอย่างถูกวิธี

ทำอย่างไรดีเมื่อน้องหมาปากเหม็น


ทำยังไงดีเมื่อน้องหมาปากเหม็น
ปัญหาน้องหมาของท่านปากเหม็นเชื่อว่าต้องมีหลายๆคนเคยพบมา และไม่รู้วิธีแก้ไข ซึ่งบางท่านอาจจะใช้แปรงสีฟันสำหรับสุนัขซึ่งราคาค่อนข้างสูง ปัญหาที่ตามมาก็คือน้องหมาของคุณมักจะไม่ให้ความร่วมมือในการแปรงเท่าไหร่
ทีนี้เรามาดูสาเหตุกันนะคะ ว่าการที่น้องหมาปากเหม็นนั้นเกิดจากอะไรบ้าง และมีวิธีแก้ไขอย่างไร
สาเหตุแรก คือโรคระบบทางเดินหายใจหรืออาการอักเสบในลำคอ ควรปรึกษาสัตวแพทย์
สาเหตุที่สอง น้องหมาที่ทานอาหารสดๆมักจะมีแบคทีเรียติดตามช่องปาก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นปากและยังทำให้เกิดหินน้ำลายติดตามฟัน การแก้คือควรให้อาหารเม็ดค่ะ
สาเหตุที่สาม หินน้ำลายก็เป็นสาเหตุเช่นกัน นอกจากจะทำให้น้องหมารับประทานอาหารไม่ค่อยได้แล้ว ยังเกิดอาการเจ็บป่วยตามมาอีกด้วย ควรนำไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วค่ะ
และวิธีการหลักๆก็คือการเอาของเล่นให้หมาเช่น กระดูกเทียม หรือพวกอาหารขัดฟัน จะช่วยลดหินน้ำลายได้และพยายามอย่าให้น้องหมากินอาหารสดค่ะ

น้องหมานักทำลาย…




นอกจากนิสัยทั้งหลาย เช่น เห่าเก่ง ร้องเก่ง อึเก่ง แล้ว นิสัยการกัดแทะสิ่งของของลูกสุนัข นับว่าเป็นนักทำลายตัวยงเลยทีเดียว
จริงๆ แล้ว ลูกสุนัขก็เหมือนลูกคนนี้แหละ มีความอยากรู้อยากเห็น ความซนอยู่ในสายเลือด และอีกสาเหตุที่ถือเป็นปัจจัยหลักของการแทะก็คือ ฟัน(เขี้ยว)ของเค้ากำลังจะขึ้น จึงทำให้รู้สึก มันเขี้ยว ขัดเชี้ยวเคี่ยวฟันขึ้นมา ซึ้งสิ่งของที่ถือเป็นของยอดฮิตก็คือ รองเท้านั้นเอง ซึ่งเมื่อลูกสุนัขที่โตขึ้นมาอีกหน่อยก็จะแทะของที่แข็งขึ้นเพื่อให้ฟันน้ำ นมหลุด ออก
วิธีแก้ไข
ไม่ยากค่ะ เมื่อเค้าอยากกัดก็ให้เค้ากัดให้หนำใจไปเลย..!!
ของที่ให้กัดได้มีเยอะแยะ มีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กระดูกยาง กระดูกหนัง รองเท้ายาง กระดูกอัด ลูกบอล ฯลฯ ที่ทำมาเพื่อน้องหมาโดยเฉพาะ นอกจากจะช่วยระบายอารมณ์ของเจ้าตัวแสบทั้งหลายแล้ว ยังช่วยในการขัดฟันและนวดเหงือกอีกด้วยค่ะ แต่ที่สำคัญ คือต้องคอยดุ เมื่อเค้าพยายามกัดแทะสิ่งของที่ไม่ต้องการให้เค้าแทะ และอย่าไปยื้อแย่งสิ่งที่เค้ากำลังคาบออกจากปากโดยเด็ดขาด เพราะเค้าจะคิดว่าเรากำลังเล่นกับเค้า ถ้าเค้าดื้อไม่เชื่อฟัง ก็ควรจะดุและตีบ้าง เมื่อเค้าหยุดและฟังเรา เราก็ให้สิ่งของที่แทะได้เป็นรางวัล เป็นการสอนว่า สิ่งไหนกัดเล่นได้และสิ่งไหนกัดเล่นไม่ได้ อีกอย่างคุณไม่ควรให้ลูกสุนัขกัดแทะมือคุณเด็ดขาด เนื่องจากเค้าอาจจะเคยชิน และสับสนได้ว่าสิ่งใหนแทะได้สิ่งใหนแทะไม่ได้
พยายามทำเช่นนี้ทุกครั้งที่เห็นเค้ากัดแทะในสิ่งที่เราไม่ต้องการ การสอนบ่อยๆจะทำให้เค้าจำได้ และหยุดนิสัยชอบกัดแทะทำลายสิ่งของไปได้ค่ะ

สปิตซ์ (Spitz)



ขนมีลักษณะยาวหนาและมักจะเป็นสีขาว หูตั่งและหน้ายื่น หางมักจะม้วนกลับขึ้นไปที่หลังของสุนัข มีนิสัยร่าเริง ฉลาด และขี้เล่น ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และเชื่อฟังเจ้าของ อาจจะเห่าเก่ง เพราะมันจะมีสัญชาติญาณในการเตือนภัยให้เจ้าของเมื่อมันรู้สึกว่ามีอันตราย หรือมีคนแปลกหน้าที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาใกล้ มันจะทำตัวเป็นยามปกป้องบ้านอยู่เสมอเลย ตามปกติแล้วเป็นสุนัขที่ฝึกได้ง่ายครับ แต่เจ้าของจะต้องให้เวลากับมันและฝึกอย่างสม่ำเสมอ สุนัขพันธุ์นี้จะชอบเล่นเกม อย่างพวกขว้างของแล้วให้ไปเอากลับมานี่จะชอบมากเป็นพิเศษ โดยทั่วไปแล้วสุนัขพันธุ์นี้เป็นมิตรกับเด็ก และเข้ากันได้ดีกับสุนัขที่ถูกเลี้ยงอยู่ในบ้านเดียวกัน
สปิทซ์ญี่ปุ่น พันธ์นี้ เห็นแล้วใจละลายกันไหมจ๊ะ
เคยเห็นเจ้าหมาสีขาวขนปุกปุยที่ใครๆเห็นเป็นต้องอยากกอด เจ้าสุนัขพันธุ์นี้มันมีประวัติความเป็นมา และมีลักษณะนิสัยเฉพาะอย่างไรบ้าง วันนี้นัทมีเรื่องน่ารู้มาฝากกันจ้า
สุนัขสายพันธุ์สปิทซ์ญี่ปุ่น
แหล่งกำเนิด
สปิทซ์ญี่ปุ่นเป็นสุนัขสายพันธุ์สุนัขที่ได้มาจากประเทศญี่ปุ่นและถูกนำเข้า ไปยังประเทศในช่วงทศวรรษ 1920 ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการข้ามพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์ที่แตกต่างกันระหว่าง สุนัขพันธุ์เยอรมันสีขาว, อเมริกันเอสกิโม, Samoyedไซบีเรียและสุนัขพันธุ์รัสเซีย
หลังจากครั้งแรกถูกนำญี่ปุ่นสุนัขพันธุ์หนึ่งที่แสดงสุนัขโตเกียว ในด้านความนินมนั้นมีการแพร่กระจายความนิยมจากทวีปอเมริกาเหนือไปยังยุโรป และได้นำเสนออย่างเป็นทางการเป็นสายพันธุ์สุนัขในช่วงทศวรรษ 1950 ขณะนี้สุนัขตัวนี้จะถูกเก็บไว้โดยพ่อแม่พันธุ์ส่วนใหญ่จะถูกเลี้ยงดูเป็น อย่างดี เป็นสุนัขสหายและมีคุณลักษณะยังอยู่ในวงแสดงลักษณะสายพันธุ์นี้เป็นหนึ่งใน สมาชิกของสุนัขพันธุ์หนึ่งหรือครอบครัว Spitzen
ลักษณะเฉพาะ
สุนัขพันธุ์สปิทซ์ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะที่มีขนาดเล็กหน้ารูปลิ่มมีหูรูปสาม เหลี่ยม ดวงตาเป็นกลมโตและจมูกและริมฝีปากเป็นสีดำ สุนัขสายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสุนัขที่มีขนหนาและลักษณะนิสัยใจ ดี
สี
สุนัขพันธุ์สปิทซ์ญี่ปุ่นจะมีเฉพาะสีขาว
ลักษณนิสัย
อารมณดี ,ฉลาด, คึกคะนอง, ทะเล้นและขี้เล่น มีการเตรียมพร้อมที่จะเป็นสุนัขเฝ้าบ้านที่ดีเยี่ยม สายพันธุ์นี้จะสามารถฝึกหัดได้ดีมาก
สุนัขพันธุ์สปิทซ์ญี่ปุ่นยังสามารถอยู่ร่วมกับสุนัขพันธุ์อื่น ๆ และสัตว์ได้เป็นอย่างดี เมื่ออยู่ในครอบครัวสุนัขพันธุ์นี้เป็นที่รักใคร่ของคนในบ้านมาก และยังสามารถช่วยเยียวยาผู้ป่วยได้อีกด้วย
ความสูง
28-36 ซม. และ น้ำหนัก 5- 7 กก.
ปัญหาสุขภาพ
ปัญหาสุขภาพของสุนัขพันธุ์สปิทซ์ญี่ปุ่นที่อาจเกิดขึ้นได้คือการเคลื่อน ของกระดูกสะบ้าหัวเข่า นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะต้องมีน้ำตาไหลมาก แต่นอกเหนือจากสองสิ่งนี้สุนัขพันธุ์สปิทซ์ญี่ปุ่นมีความกังวลเรื่องสุขภาพ อื่น ๆ ที่ร้ายแรงน้อยมากสำหรับสุนัขพันธุ์นี้
การอยู่อาศัย
เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมกลางแจ้ง, แม้ว่าพวกมันจะถูกเลี้ยงไว้ในบ้านแต่ก็ต้องการที่ออกกำลังกายเพียงพอ เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นสามารถเลี้ยงได้แต่ต้องมีเวลา ให้เต้าด้วย เขาจะสนุกกับการเป็นเพื่อนกับมนุษย์
อาจพาออกไปเดินเล่นบ้างสัปดาห์ละครั้ง
การฝึกการอบรม
ความต้องการของสุนัขพันธุ์สปิทซ์ญี่ปุ่นสามารถฝึกหัดได้หากการฝึกเริ่ม ตั้งแต่อายุยังน้อย สุนัขพันธุ์สปิทซ์ญี่ปุ่นมีความเป็นธรรมชาติสูง หากเค้าต้องการอะไรจะแสดงออกให้เรารู้เลยตรงๆ
อายุเฉลี่ย
สุนัขพันธุ์สปิทซ์ญี่ปุ่นมีอายุขัยเฉลี่ยอายุโดยเฉลี่ย 9 ถึง 15 ปี
สุนัขพันธุ์นี้ต้องดูแลรักษาขนและแปรงขนบ่อย เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีขนเยอะ

อเมริกัน พิทบูลเทอร์เรีย์ (American Pit Bull Terrier)


แข็งแกร่ง เชื่อมั่นในตัวเอง อยากรู้อยากเห็น
ลักษณะทั่วไป
สุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูล มีขนาดรูปร่างปานกลาง มีสัดส่วนที่พอดี ขนสั้นเรียบ เป็นมันเงางามและมีกล้ามเนื้อที่เด่นชัดมาก สุนัขสายพันธุ์นี้เต็มไปด้วยพละกำลังและมีความปราดเปรียวเป็นอย่างมาก และมีรูปร่างที่ค่อนข้างยาวกว่าส่วนสูง แต่ตัวเมียอาจมีรูปร่างที่ยาวกว่าตัวผู้ ความยาวของขาหน้า(วัดจากข้อศอกถึงพื้น) ประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงของสุนัขทั่วไป หัวมีความยาวปานกลาง กว้าง ส่วนกะโหลกนั้นจะแบนเรียบและค่อนข้างจะกว้าง ประกอบด้วยขากรรไกรที่แข็งแรงและกว้างใหญ่ หูจะมีขนาดที่เล็กจนถึงปานกลาง หูตั้ง และบางทีก็อาจจะมีลักษณะที่เป็นธรรมชาติ(ไม่ได้ตัดหู) หรืออาจจะตัดหูหรือไม่ตัดหูก็ได้ หางสั้นชี้ลง โคนหางใหญ่ และเรียวเล็กลงไปถึงปลายหาง อเมริกันพิทบูลมีทุกสี และมีทุกลาย สุนัขพันธุ์นี้จะต้องปรากฏให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง กระฉับกระเฉง สง่างามและไม่ควรที่จะเทอะทะมากไปจนกล้ามเนื้อทั้งหลายขัดขวางต่อการเคลื่อน ไหวของร่างกาย ความสมดุลนั้นควรจะมีสัดส่วนที่เหมาะสมต่อกันและกัน สุนัขพันธุ์นี้ไม่ควรที่จะผอมจนเห็นกระดูก
ความเป็นมา
ในช่วงศตวรรษที่19 ผู้ที่นิยมสุนัขในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ และสก๊อตแลนด์ ได้เริ่มที่จะผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างบูลด๊อกตัวที่เหนียวที่สุดกับ สุนัขเทอร์เรียตัวที่กล้าหาญ ที่สุด และดีที่สุดเข้าด้วยกัน ผลจากการผสมข้ามสายนี้ในไม่ช้าก็รู้กันว่าพวกมันคือ สุนัข บูล แอนด์ เทอร์เรีย(Bull-and-Terrier) หรือพวกมันก็คืออเมริกันพิทบูลนั่นเอง เพื่อต้องการที่ จะได้สุนัขที่มีลักษณะของการล่าเหยื่อ(เกมส์)ของสุนัขพันธุ์เทอร์เรีย กับ ความแข็งแกร่ง และความปราดเปรียวที่เหมือนกับสุนัขพันธุ์บูลด๊อก ผลที่ออกมานั้นก็คือสุนัขที่ประกอบไป ด้วยความเป็นนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ แข็งแรง ทรหด อดทน และอ่อนโยนกับคนที่มันรัก ผลของ การอพยพปรากฏว่ามีคนได้นำสุนัข บูล แอนด์ เทอร์เรีย นี้ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้คนที่เป็นเกษตรกรและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ได้มองเห็นความสามารถ ของสุนัขพันธุ์ อเมริกันพิทบูลและได้ใช้มันในการปกป้องทรัพย์สิน
ลักษณะนิสัย
มีความแข็งแกร่ง มีความเชื่อมั่นในตัวของมันเอง และมีชีวิตที่กระหายใคร่รู้ต่อทุกสิ่งที่อยู่รอบๆตัวมัน สุนัขพันธุ์นี้ชอบให้คนดูแลเอาใจใส่ และมีความกระตือรือร้นมาก สุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูลเป็นเพื่อนกับทุกคนที่อยู่ในครอบครัวได้เป็นอย่าง ดี และมีความรักเด็ก เนื่องจากสุนัขพันธุ์นี้ ส่วนใหญ่มักจะแสดงความก้าวร้าวกับสุนัขทั่วไป และด้วยความแข็งแรงที่แสดงให้เห็นถึงการมีพละกำลังในรูปร่างของพวกมัน ดังนั้นสุนัขสายพันธุ์นี้จึงต้องการเจ้าของที่สามารถอบรมหรือฝึกให้เชื่อฟัง คำสั่งได้ ธรรมชาติของสุนัขพันธุ์นี้มีความปราดเปรียว กระฉับกระเฉงโดยธรรมชาติ ความว่องไวของสุนัขพันธุ์นี้ทำให้พวกมันเป็นหนึ่งในสุนัขที่มีความสามารถใน การปีนข้ามรั้ว อเมริกันพิทบูลเหมาะที่จะเลือกไว้เป็นสุนัขอารักขา(Guard dog) เนื่องจากพวกมันมันจะมีความสามารถที่แยกแยะได้ ระหว่างการกร้าวร้าว และการเล่นหยอก นิสัยดุดันกับคนไม่ใช่บุคลิกลักษณะของพวกมัน สุนัขพันธุ์นี้มีความสามารถในหลากหลายด้าน เพราะมีความฉลาดมากเป็นพิเศษ รวมทั้งความกระตือรือร้นในการที่จะทำงาน สุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูลมีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆได้เป็นอย่างดี หากแต่ว่าข้อบกพร่องของสุนัขสายพันธุ์นี้ ได้ตัดคะแนนความนิยมและความสามารถของมัน
การดูแล
เคล็ดลับการเลี้ยงคือหากสุนัขทำผิด ก็ควรรีบนำตัวเข้ากรงทันที เป็นการลงโทษ เพื่อให้มันได้คิดว่า สิ่งที่มันทำนั้น เป็นความผิด และในระหว่างที่กำลังเจริญเติบโต ต้องฝึกมันเข้าสังคม พาจูงไปเดินสวนสาธารณะ ให้รู้จักคนเยอะๆ และพยายามให้สุนัขแยกออกด้วยตัวเองว่า ใครคือมิตร และใครคือศัตรู เวลาหลุดออกจากเชือกหรือกรง หากจะกัดจะได้กัดถูกคน ส่วนการให้อาหารต้องใส่จาน และต้องฝึกไม่ให้กินอาหารที่พื้น ป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดี โยนอาหารปนยาพิษให้กิน
ส่วนโรคที่ต้องระวังในสุนัขพันธุ์นี้ก็คือ โรคไข้หัดสุนัข (Canine Distemper) ซึ่งเป็นโรคที่พบได้กับสุนัขแทบทุกสายพันธุ์ ไม่เว้นแม้แต่อเมริกันพิทบูลเทอร์เรีย สาเหตุจากเชื้อไวรัส Canine Distemper virus หรือ CDV RNA Virus Paramyxovirus การติดต่อ สามารถติดต่อทางระบบหายใจ จะติดทางน้ำมูก ขี้ตา น้ำลาย โดยหายใจเข้าไปหรือ หรือจากการสัมผัสอาการของโรค ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน อาการที่ปรากฎหลังได้รับเชื้อ จะมีไข้สูง เบื่ออาหาร เยื่อตาอักเสบ อาการดังกล่าวจะหายไปและจะกลับมา โดยสุนัขจะซึม เบื่ออาหาร จมูกแห้ง มีน้ำมูกและขี้ตาขุ่นเป็นหนอง ไอ คล้ายอาการของหวัด ปอดบวม อาเจียน ท้องเสีย กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ขาหลังเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด
แต่ถ้ารักษาได้ไม่เสียชีวิต สุนัขก็จะเป็นโรคนี้แบบเรื้อรัง ฝ่าเท้าจะหนา ผอม ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมักจะตายในเวลาต่อมา แต่ในสุนัขบางตัวที่ไม่ตาย จะใช้เวลารักษาหรือพักฟื้นนาน
การป้องกันขั้นแรกคือการได้รับวัคซีนป้องกัน และวัคซีนรวมที่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรใส่ใจให้วิตามินตามคำแนะนำของแพทย์ และรักษาตามอาการของโรค เช่น ให้น้ำเกลือ ยาระงับชัก แต่สุดท้ายเจ้าหมาน้อยแสนรักก็จะจากไปในที่สุด ดังนั้น การป้องกันโรคไข้หัดที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนให้กับสุนัขไว้ตั้งแต่ยังเล็กและฉีดสม่ำเสมอทุกปีเป็นดีที่สุด
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
ผู้เลี้ยงที่มีความอดทนและมีเวลาในการฝึกและสั่งสอนให้สุนัขอยู่ในคำสั่ง
มาตรฐานสายพันธุ์
ขนาด
สำหรับเพศเมีย 40-70 ปอนด์ สำหรับเพศผู้แต่ถ้ามีน้ำหนักถึง 80 ปอนด์ ก็ไม่ผิดมาตราฐานหากได้สัดส่วน มองดูแล้วสง่าสมส่วน ดูบึกบึน แต่ทว่า พิทบูล ที่มีน้ำหนักถึง 80 ปอนด์ นี้มีไม่มากนัก
ศีรษะ-จมูก
สุนัขพันธุ์อเมริกัน พิทบูล เทอร์เรียลักษณะดีๆ จะต้องมีศรีษะลักษณะเหมือนลิ่ม ที่มีปลายแหลม คือด้านระหว่างตากับตอนบนสุดของศรีษะจะเป็น รูปสี่เหลี่ยม แล้วค่อยๆมนแหลมลงมาบริเวณจมูก บริเวณจมูกของสุนัขพันธุ์ อเมริกัน พิทบูล เทอร์เรีย ที่ดีนั้น ควรจะมีขนาดปากปานกลางและจะต้อง มีรอยเว้าหรือดั้งพอประมาณ
อก
เพราะความที่เป็นสุนัขนักสู้ที่แข็งแกร่ง หน้าอกจึงถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย จะต้องมีหน้าอกที่ลึกและกว้าง แสดงถึงความมีพลังซ่อนเล้น
ขาหน้าทั้งสอง
จะต้องกว้างที่เดียว เพื่อให้มองเห็นถึงความมีกล้ามเนื้อ และที่สำคัญที่สุดขาหน้าทั้งสองของอเมริกันพิทบูล เทอร์เรีย จะต้องไม่งอแต่อย่างไรก็ตามมาตร ฐานของบางประเทศก็ไม่ได้ระบุว่าผิดมาตราฐานแต่อย่างใ ด สำหรับ พิทบูลที่มี่ขาหน้างอหรือโค้ง
ลำคอ
เพราะความที่มีสายเลือดของนักสู้เต็มตัว พิทบูล เทอร์เรีย จึงควรจะมีลำคอที่ขนาดปานกลาง หากลำคอสั้นจะทำให้เสีย เปรียบในการต่อสู้ เพราะขาดความยืดหยุ่นที่ดี
หาง
อันนี้แล้วแต่คนชอบ ไม่มีมาตราฐานบังคับว่าจะต้องตัดหางให้สั้นหรือไม่ เหมือนหูนั่นแหละจะขลิปปลายทั้งสองหรือไม่ก็ได้ ความสูง อเมริกัน พิทบูล เทอร์เรีย ควรจะมีความสูงประมาณ 17-18 นิ้ว สำหรับเพศเมีย และความสูงประมาณ 18-19 นิ้ว สำหรับเพศผู้

มิเนเจอร์ พินเชอร์


ตัวเล็ก หยิ่ง และซุกซน
ลักษณะทั่วไป
มิเนเจอร์พินช์เชอร์ สุนัขขนสั้นเรียบ คล่องแคล่ว สัดส่วนกลมกลืนกันทุกส่วนดูแข็งแรง ร่าเริง มีความระวาดระวังตลอดเวลาว่องไว มีความจงรักภักดี ปกติจะมีนิสัยไม่ค่อยขี้กลัวหรือตกใจ เชื่อฟังคำสั่ง สามารถนำมาฝึกได้ง่าย มีความกล้าหาญอดทนและทนต่อโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ดี เหมาะเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนหรือเฝ้าบ้าน
ความเป็นมา
มิน พิ๊น (เป็นชื่อเล่นที่บอกถึงความน่ารักของสุนัขพันธุ์นี้) มีถิ่นกำเนิดในประเทศเยอรมันและพบหลักฐานตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 แต่รู้จักอย่างเป็นทางการในปี 1895 เนื่องจากมีการก่อตั้งชมรมผู้เลี้ย เยอรมัน พินเชอร์ มีหลักฐานชิ้นหนึ่งบอกว่าพบสุนัขพันธุ์นี้ในป่าเยอรมันตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 โดยรียกกันว่า เรด พินเชอร์ หมายถึง “กวางแดงเล็ก”. ซึ่งเป็นต้นกำเนิดสุนัขที่ เพาะพันธุ์มาเพื่อการกำจัดหนู
ลักษณะนิสัย
มิเนเจอร์พินช์เชอร์ เป็นสุนัขตัวเล็กๆ ที่หยิ่ง และองอาจเช่นเดียวกับสุนัข เทอร์เรีย์พันธุ์อื่นไม่มีความเป็นสุนัขกลุ่มทอย อยู่เลยเขาเป็นเพื่อนที่ภักดีและฉลาด ปราศจากความกลัว ตื่นตัวอยู่ตลอดเหมาะที่จะเป็นสุนัขเฝ้ายามอย่างมาก
การดูแล
มิเนเจอร์พินช์เชอร์เป็นสุนัขที่มีขนสั้นแข็ง ทำให้ไม่ต้องดูแลมากนักเพียงใช้มือลูบ หรือใช้แปรงเล็กๆ สางเอาขนที่หมดอายุออกบ้าง ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้บ่อยเกินไป เพราะจะไปลดความชุ่มชื้นของผิวหนังได้ เพียงเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น ที่หยดด้วยน้ำมันยูคาลิปตัสเล็กน้อย จะช่วยทำสุนัขสดชื่น และกำจัดหมัดที่เจอได้ด้วย ดูแลสุขภาพเท้า ด้วยการตัดเล็บให้สั้นทุกๆ สัปดาห์

ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
ผู้ที่เหมาะกับสุนัขพันธุ์ มิเนเจอร์ พินช์เชอร์ คือ ทุกคนยกเว้นเด็กๆ ที่อายุยังน้อยและผู้สูงอายุ (สุนัขซนมาก) พวกเขามีแนวโน้มที่จะจงรักภักดีต่อทุกคนในครอบครัว แต่อาจจะเลือกใครสักคนเป็นเพื่อนแท้ขณะที่ก็ยังสนุกสนานกับทุกๆ คนอยู่ได้
ข้อควรจำ
มิเนเจอร์ พินเชอร์เป็นสุนัขที่ร่าเริงมาก ตื่นตัว และเข้ากับ สมาชิกทุกคนในครอบครัวได้ดี
ชอบทำตัวเป็นเด็กๆ อยู่บ่อยๆ ขณะที่เขาให้ความเพลิดเพลินและสนุกสนานกับเราอยู่นั้น ผู้เลี้ยงก็ต้องสอนให้เขารู้กฎของบ้านตั้งแต่ยังเล็กด้วยและจงตั้งมั่นใน ความตั้งใจของคุณ ทำให้พวกเขาเพลิดเพลินไปกับคุณด้วย แต่อย่าปล่อยให้ มินพิ๊น เดินโดยปราศจากสายจูง เพราะเขาอาจจะแกล้งทำหูทวนลมก็ได้
มาตรฐานสายพันธุ์
ขนาด
ประมาณ 10-12.5 นิ้ว
ศีรษะ
มีขนาดสัมพันธ์กับขนาดของลำตัว หัวกะโหลกแบน หัวกะโหลกระหว่างหูจะเล็กสู่โคนปาก
ฟัน
ขบแบบกรรไกร
ปาก
มีลักษณะแข็งแรงมาก มีขนาดสัมพันธ์กับส่วนหัวสันปากจะขนานกับสันของหัวกะโหลก ริมฝีปากและแก้มมีขนาดเล็ก
ตา
ค่อนข้างโต เป็นรูปกลมรี ตาสีดำ ขอบตาสีดำ ยกเว้นสีช็อคโกแลต ขอบตาจะมีช็อคโกแลตด้วย
หู
โคนอยู่ในระดับสูง หูอาจจะตัดและดามให้ตั้งหรือไม่ตัดหูก็ได้
จมูก
สีดำ ยกเว้นสุนัขที่มีสีช็อคโกแลต จมูกจะมีสีช็อคโกแลตด้วย ดั้งจมูก มีมุมหักเล็กน้อย
คอ
มีขนาดสัมพันธ์กับขนาดของหัวและลำตัว คอมีลักษณะกลมประกอบด้วยกล้ามเนื้อ หนังคอตึง คอตั้งเชิดสง่า
อก
ลึกจรดข้อศอก
ลำตัว
ค่อนข้างสั้นเพศผู้ความสูงของลำตัวมีขนาดเท่ากับความยาวของลำตัว ส่วนเพศเมียจะยาวกว่าเล็กน้อยเส้นหลังตรง อาจจะอยู่ในแนวระดับหรือเอียงสู่บั้นท้ายก็ได้
ขาหน้า
กระดูกขามีขนาดปานกลาง แข็งแรง มองจากด้านหน้าขาหน้าทั้งสองตรงตั้งฉากกับพื้น ขาหน้าทั้งสองห่างกันพอเหมาะข้อเท้าหน้าแข็งแรงตั้งฉากกับพื้น เท้าเล็กคล้ายแมว เท้าหน้ากลม เล็บหนา นิ้วติ่งควรตัดออก
เอว
สั้น แข็งแรง
สะโพก
มีความสูงใกล้เคียงกับระดับเส้นหลัง
ขาหลัง
ท่อนบนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ ข้อเท้าแข็งแรงทำมุมพอประมาณข้อเท้าหลังสั้นทำมุมตั้งฉากกับพื้น เมื่อมองจากด้านหลัง ขาหลังตั้งตรง ขนานห่างกันพอเหมาะ เท้าหลังมีลักษณะเหมือนเท้าหน้า
หาง
โคนหางอยู่ในระดับสูง นิยมตัดหาง
ขน
ขนสั้นแข็ง ขนสีแดงดำทั้งตัว ดำ-แดง,ช็อคโกแลต

ปาปิยอง (Papiyong)


เจ้าหญิง หรูเริศ แต่เป็นมิตรกับคน
ลักษณะทั่วไป
สุนัขขนาดเล็กขาวยาวสลวยเหมือนเส้นไหม หูตั้งสวยรูปทรงคล้ายปีกผีเสื้อ ต้องการการดูแลมากกว่าสุนัขพันธุ์เล็กทั่วไป เนื่องจากมีคนยาวเป็นจุดเด่น เป็นมิตรรักเจ้าของ ชอบออกกำลังกาย
ความเป็นมา
หูลักษณะคล้ายกับปีกผีเสื้อ (Papiyong ในภาษาฝรั่งเศส หมายถึงผีเสื้อ)
ลักษณะนิสัย
เป็นสุนัขที่เชิดๆ แต่รักเจ้าของและเป็นมิตร ชอบการออกกำลังกาย และเอาแต่ใจบางเวลา
การดูแล
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
เกรทเดนเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นไม่ควรให้สุนัขออกกำลังกายมากเกินไปก่อนอายุ 12 เดือนต้องแน่ใจว่าบริเวณที่เลี้ยงควรมีรั้วรอบขอบชิด และเมื่อผู้เลี้ยงไม่อยู่บ้านต้องผูกสุนัขไว้ด้วยเพราะ เกรทเดน สามารถกระโดดข้ามรั้วได้สบายๆ ที่สำคัญผู้เลี้ยงจะต้องคอยให้ความรัก
ความเอ็นดูสุนัขด้วยนะ

ชิสุ (Shin Tzu)


Shin Tzu สันนิษฐานว่าสุนัขพันธุ์ชิห์สุมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน โดยใช้เป็นสัตว์เลี้ยงของพระจักรพรรดิ์ และเชื้อพระวงศ์ในพระราชสำนักในราชวงศ์หมิงและราชวงศ์แมนจู หลังจากนั้นได้มีการนำมาเลี้ยงในที่ต่างๆ ทั่วอังกฤษและยุโรป
สุนัขพันธุ์ชิห์สุ, ชิสุห์, SHIN TZU, SHIH-TZU
ลักษณะทั่วไป
เป็นสุนัขขนาดเล็ก ขนยาวจรดพื้น โครงสร้างมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวลำตัวมากกว่าความสูง กว้างและลึก เส้นกลางหลังตรงไม่โค้ง ศีรษะมีลักษณะกว้างกลม จมูกและปากสั้นยาวไม่เกิน 1 นิ้ว บริเวณหน้าไม่มีรอยย่น รอยต่อระหว่างปากและหน้าเป็นมุมหักที่ชัดเจน ตามีลักษณะกลมโต นัยน์ตาสีเข้ม ตาไม่ยื่นโปนออกมา หูมีขนาดใหญ่และยาวปรกลงทั้ง 2 ข้าง ฟันหน้าบนและล่างขบกันพอดี หรือฟันล่างขบอยู่ด้านนอก หางม้วนงอวางพาดอยู่บนแผ่นหลังและขนยาวปรกคลุม
นิสัย
ชิห์สุเป็นสุนัขที่มีนิสัยขี้เล่น อ่อนโยน ชอบเล่นกับเด็ก
ขนาด
ขนาด เพศผู้ เพศเมีย
ความสูง (เซนติเมตร) 9 – 11 9 – 11
น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) 4-7 4-7
ขน
สุนัขชิห์สุที่ดีควรมีขนที่ยาวจรดพื้น เส้นขนอ่อนนุ่ม ดกแน่น และมีลักษณะเหยียดตรงไม่หยิกงอ และขนชั้นในควรมีเส้นเล็กนุ่มและสั้นกว่าขนชั้นนอก ขนบริเวณศีรษะควรยาวจนสามารถรวบเป็นกระจุกได้
สี
มีได้หลายสี ตั้งแต่ สีขาว ดำ เทา น้ำตาล และเทาแกมแดง 2 – 3 สี และมักมีมาร์คกิ้งเป็นสีขาว บริเวณใบหน้า ไหล่ สะโพก และปลายหาง
สุนัขพันธุ์ชิห์สุ, ชิสุห์, SHIN TZU, SHIH-TZU
ลักษณะบกพร่อง
1. ศีรษะเล็กและแคบเกินไป
2. ฟันหน้าชุดบนขบเกยอยู่ด้านนอกฟันล่าง
3. ขนสั้น หรือหยิก
4. จมูกและปากยาวเกินไป
5. ขนบางไม่ดกแน่น

ดัชชุนด์“สุนัขไส้กรอก” ชื่อดัชชุนด์ (dachs หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง hund หมายถึงสุนัข )


สุนัขดัชชุนด์ เป็นสุนัขที่อยู่ในกลุ่มฮาวด์มีรูปร่างที่กระทัดรัด ฉลาด ขี้ประจบ ลำตัวยาวดูแปลกตาจึงเป็นที่รู้จักกันในนาม “สุนัขไส้กรอก” ชื่อดัชชุนด์ (dachs หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง hund หมายถึงสุนัข ) ปรากฎในหนังสือเกี่ยวกับการล่าสัตว์ในยุโรปสมัยกลาง เป็นสุนัขที่มีความคล้ายคลึงสุนัขฮาวด์ในการแกะรอย และมีรูปร่างและอารมณ์คล้ายสุนัขเทอร์เรียร์ มีความสามารถในการติดตามตัวแบดเจอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ใต้ดินและมักจะออกมาหาอาหารตอนกลางคืน จึงมักถูกเรียกว่าสุนัขแบดเจอร์
ด้วยความแข็งแรงและทรหด บวกกับความฉลาดและกล้าหาญ ทั้งบนและใต้พื้นดิน สุนัขดัชชุนด์หลายตัวรวมกันสามารถเข้าต่อกรกับหมีป่าได้อย่างสบาย ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อใช้ในเกมล่าสัตว์แบบอื่นๆ สุนัขดัชชุนด์ขนาดเล็กที่มีน้ำหนัก 16 – 22 ปอนด์ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับสุนัขจิ้งจอก และในการแกะรอยกวางที่ได้รับบาดเจ็บ สุนัขขนาดนี้ได้กลายมาเป็นที่รู้จักกันดีในอเมริกา สุนัขที่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีน้ำหนัก 12 ปอนด์ ถูกนำมาใช้ล่าสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “Stoat” มีขนาดเล็ก มีขนสีน้ำตาล อาศัยอยู่ในยุโรปตอนเหนือ
การนำเข้าสุนัขพันธุ์ดัชชุนด์มายังประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นมาก่อนการจัดโชว์สุนัขอเมริกาครั้งแรก สุนัขที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกใช้ในการล่าสัตว์น้อยมากเพราะว่าไม่ค่อยมีตัวแบดเจอร์และหมีป่า และไม่มีการล่ากวางด้วยสุนัข รวมทั้งไม่มีการล่าสุนัขจิ้งจอกด้วยการดมกลิ่น ลักษณะและรูปร่างที่ถูกต้องของสายพันธุ์ได้รับการส่งเสริม โดยการนำเข้าสายพันธุ์ที่ใช้ในการล่าสัตว์ของเยอรมันและเพื่อส่งเสิรมความ สามารถในการล่าสัตว์ รวมถึงรูปร่างและอารมณ์ที่ดีเลิศ ความสามารถในภาคสนามตามกฎของ AKC ได้รับการกำหนดขึ้นในปี 1935
ลักษณะพิเศษของสายพันธุ์ มีศีรษะที่ยาว และจมูกที่มีการพัฒนาอย่างดี กระดูกเชิงกรานและกระดูกขาได้มุมอย่างเหมาะสมท่าทางการเดินก่อให้เกิดช่อง ว่าง ขนาดใหญ่สำหรับปอดและหัวใจ แต่ไม่กว้างจนเกินไป ผิวหนังยืดหยุ่นและอ่อน สำหรับการเคลื่อนที่อย่างอิสระในพื้นที่จำกัดใต้ดิน ขากรรไกรที่ค่อนข้างยาวและมีพละกำลังพร้อมฟันที่แข็งแรง คอยาวและแข็งแรงเสมือนเป็นข้อมือของนักดาบ ขาทรงพลังและเท้าที่แข็งแรงเพื่อการขุดดิน และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดความกล้าหาญอันสูงล้ำ ที่ทำให้ตอบสนองต่อการเข้าโจมตีหรือการป้องกันโดยปราศจากการทะเลาะวิวาท หรือการก้าวร้าวที่ไม่พึงปรารถนา
สุนัขดัชชุนด์ ซึ่งเด่นที่สุดในอเมริกามีขนาดเล็กเพียงพอที่จะอาศัยอยู่ในบ้านหรืออพา ร์ทเมนต์ แม้กระนั้นก็มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับพาไปเดินตามท้องถนน การที่มีขาสั้น รูปร่างเพรียว ขนสั้นจึงไม่ต้องการการถอนขน การตัดแต่งขน การแปรงขน การหวี การใส่น้ำมัน และไม่ต้องอาบน้ำ เว้นแต่เพื่อชำระล้างความสกปรกที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเท่านั้นเมื่ออยู่นอก อาคาร ดัชชุนด์มีความทรหดแข็งแรง ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เมื่ออยู่ในอาคารเขาจะแสดงความรักความอบอุ่นและตอบสนองต่อความเป็นเพื่อนที่ ดี ตื่นตัวในการที่จะบอกให้เราทราบเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาสายพันธุ์มีขน 3 ประเภทให้เลือก มีขนาดมาตรฐานและเล็กจิ๋ว มีสีแดง สีดำ สีแทนและสีอื่นๆ
ลักษณะพิเศษของขนที่แตกต่างกัน 3 ชนิด1. ขนสั้น (หรือขนเรียบ) 2. ขนลวด 3. ขนยาว ซึ่ง ทั้ง 3 ชนิดนี้ควรเป็นไปตามลักษณะมาตรฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว ขนยาวและขนสั้นเป็นชนิดที่มีมานาน เป็นพันธุ์ที่อยู่ตัวดีแล้ว แต่ในชนิดลวด เลือดของพันธุ์อื่น ได้ผสมเข้ามาอย่างมีวัตถุประสงค์ แม้กระนั้นในการผสมพันธุ์สิ่งเน้นที่สำคัญที่สุดต้องอยูที่การให้เป็นไปตาม ชนิดของดัชชุนด์ทั่วไป ลักษณะดังต่อไปนี้ นำมาใช้แยกชนิดกันตามลำดับ
ประเภทของดัชชุนด์
ดัชชุนด์ขนสั้นและเรียบ ขน สั้น หนา เรียบ และมีประกาย ไม่มีบริเวณที่ขนหลุดล่วงเหลือแต่หนัง ข้อบกพร่องพิเศษ คือขนละเอียด,บาง,หยาบเหลือหนาเกินไปหางค่อยๆ เรียวเล็กลงทีละน้อยไปทางปลายหาง มีขนดีแต่ไม่ถึงกับดกมาก ยาวเรียว ขนหนาหยาบที่ด้านล่างถือว่าเป็นแถบของขนที่กำลังขึ้นงอกงาม มิใช่ข้อบกพร่อง
สีของขน จมูกและเล็บ ดัชชุนด์สีเดียว กลุ่มนี้รวมถึงสีแดง เหลืองแดง เหลือง และลายเทา อาจจะมีหรือไม่มีขนสีดำกระจายอยู่ สีที่สะอาดเป็นสีที่นิยมมากกว่าสีแดง เป็นที่นิยมมากกว่าสีเหลืองแดงหรือสีเหลือง จุดขาวเล็กเป็นที่ยอมรับได้ แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการ จมูกและหางดำ สีน้ำตาลเป็นที่ยอมรับได้แต่ก็ไม่เป็นที่ต้องการ ดัชชุนด์ 2 สี จะประกอบด้วยสีดำเข้ม ช็อคโกแลต เทา (น้ำเงิน) และขาว แต่ละแบบจะมีแต้มสีแทนเหนือตาด้านข้างขากรรไกรและใต้ริมฝีปาก ด้านในของหู ด้านหน้าหน้าอก ด้านในและด้านหลังของขาหน้า ที่อุ้งเท้า และรอบก้น และจากตรงนั้นไปถึงประมาณหนึ่งในสาสมถึงหนึ่งในสองของคสามยาวของหางที่อยู่ ด้านล่าง ชนิด 2 สีที่แพร่หลายมากที่สุดตามปกติจะเรียกว่าดำและแทน จุดสีขาวขนาดเล็กยอมรับได้ แต่ไม่พึงต้องการ จมูกและเล็บจะมีสีน้ำตาล สำหรับสุนัขสีเทา(น้ำเงิน) หรือขาว สีเทา หรือแม้แต่สีเนื้อ ในกรณีของสุนัขสีขาว จมูกและเล็บสีดำจะเป็นที่นิยมมากกว่า
ดัชชุนด์ขนลวด ลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกับดัชชุนด์ขนสั้นแต่ขาไม่ยาว ยอมให้ลำตัวสูงกว่าพื้น ขนทั้งลำตัวยกเว้นขากรรไกร คิ้ว หู ปกคลุมไปด้วยขนแข็ง หยาบ หนา สั้น เหมือนกันหมดทั้งลำตัว แต่มีขนที่สั้นกว่าและละเอียดกว่ากระจายอยู่ระหว่างขนที่หนา มีเคราอยู่ที่คาง ขนคิ้วเป็นพุ่ม ที่ตรงบริเวณหูขนจะสั้นกว่าที่ลำตัว แต่กรณีใดๆ เป็นไปตามส่วนที่เหลือของขน การจัดเรียงตัวโดยทั่วไปของขน เมื่อจากระยะไกลคงคล้ายขนเรียบ ขนที่มีความนุ่มชนิดใดๆก็ตามเป็นข้อบกพร่อง
ดัชชุนด์ขนยาว ลักษณะที่เด่นชัดที่ทำให้สุนัขชนิดนี้ แตกต่างจากดัชชุนด์ขนสั้นหรือขนเรียบ คือเฉพาะขนแพรไหมที่ค่อนข้างยาว ขนนุ่มเรียบเป็นประกาย ขนที่หยิกเล็กน้อย ควรมีความยาวกว่าที่บริเวณใต้คอ ที่ด้านล่างของลำตัวโดยเฉพาะที่หูและหลังขาเป็นลักษณะขนยาว ขนควรมีความยาวที่ด้านใต้หาง ขนยาวพ้นขอบด้านล่างของหู ขนสั้นที่หูเรียกว่า “หนัง” ไม่เป็นที่นิยม การที่มีขนมากเกินไปทำให้ดัชชุนด์ขนยาวจะดูขนหยาบกระด้างและปิดบังชนิดของ พันธุ์
ดัชชุนด์จิ๋ว ดัชชุนด์ขนาดจิ๋วที่มีการผสมพันธุ์ในขนทั้ง 3 ประเภทภายในขีดจำกัดที่กำหนด มีลักษณะเหมือนดัชชุนด์ทั่วไปแต่ย่อส่วนลง ด้านจิตใจและร่างกายควรเป็นลักษณะที่เด่นชัดที่สุดของดัชชุนด์จิ๋วมิได้มี การแยกออกไปต่างหาก แต่เป็นกลุ่มของสุนัข สำหรับขนาดต่ำกว่า 10 ปอนด์ และ 12 เดือนขึ้นไป
มาตราฐานสายพันธุ์
ลักษณะทั่วไป : รูปร่างเตี้ย ขาสั้น ตัวยาว แต่มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อที่แน่นและแข็งแรง ลักษณะการเชิดศีรษะเต็มไปด้วยความกล้าหาญและมั่นใจ สีหน้าแสดงออกซึ่งความฉลาด ทั้งๆ ที่ขาสั้นเมื่อเทียบกับความยาวของลำตัว แต่ดัชชุนด์ไม่เคยแสดงออกถึงลักษณะของความพิการ งุ่มง่ามหรือยืดยาดในการเคลื่อนไหว มีความฉลาด สดใสและกล้าหาญโดยไม่คำนึงถึงอันตราย มุ่งมั่นในการทำงานทั้งบนดินและใต้ดิน ประสาทสัมผัสทั้งหมดพัฒนาอย่างดี มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับเกมการล่าสัตว์ใต้ดิน นอกจากนี้ ยังเต็มไปด้วยจิตวิญญาณในการล่าสัตว์ รูปร่างและจมูกที่เหมาะสม ทำให้ได้เปรียบเหนือพันธุ์อื่นทั้งหมดของสุนัขที่ใช้ในกีฬาการสะกดรอย
ศีรษะ : เมื่อดูจากด้านบนหรือด้านข้าง ศีรษะจะค่อยๆ เรียวเล็กลงอย่างสม่ำเสมอไปยังปลายของจมูก เห็นเป็นเส้นชัดเจน กะโหลกศีรษะกลมเล็กน้อย และควรลาดเอียงทีละน้อยโดยไม่มีสต๊อป ไปยังแนวสันจมูกกระดูกเหนือตายื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด ปลายจมูกยาวและแคบ ริมฝีปากยึดออกไปคลุมขากรรไกรล่าง แต่ไม่ลึกหรือยื่นออกมา มุมปากไม่มีเครื่องหมายชัดเจน จุดเชื่อมต่อของขากรรไกรบนและล่างอยู่ด้านหลังของตา
ฟัน : ฟันเขี้ยวมีพลังมาก ประกบกันได้สนิท และด้านนอกของฟันกัดด้านล่าง ควรสัมผัสกับด้านในของฟันบนอย่างสนิท
ตา : ขนาดปานกลาง รูปไข่ ตั้งอยู่ด้านข่าง แสดงออกถึงความฉลาด มีพลัง ร่าเริง ไม่ดุดัน สีน้ำตาลออกแดง จนถึงดำออกน้ำตาล สำหรับขนทุกชนิดและทุกสี ตาซึ่งเป็นสีขาวหรือสีขุ่นในกรณีของสุนัขลายต่าง ไม่เป็นข้อบกพร่องที่รุนแรงมากนัก แต่เป็นลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา
หู : ไม่อยู่ใกล้ส่วนบนของศีรษะ ไม่ค่อนไปข้างหน้ามากเกินไป ยาวแต่ไม่ยาวมาก ไม่แคบตั้ง หรือม้วนการเคลื่อนไหวของหูมองดูมีชีวิตชีวา และขอบด้านหน้าแตะกับแก้มพอดี
คอ : ค่อนข้างยาว มีมัดกล้ามเนื้อ ไม่มีผิวหนังยาน หย่อนตรงคอหอย ขยายออกอย่างสวยงามไปยังไหล่ แสดงความองอาจแต่ไม่แข็ง
หัวไหล่ : ยาว กว้าง ลาดเอียงและตั้งอยู่อย่างมั่นคงบนส่วนอก มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง
ขาหน้า : ขาหน้าท่อนบน มีความยาวเท่ากับแผ่นไหล่ และทำมุมฉากกัน กระดูกแข็งและเต็มด้วยกล้ามเนื้ออยู่แนบชิดกับซี่โครง สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นอิสระ ขาหน้าจะสั้นเมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นๆ อุ้งเท้าหนา กว้างด้านหน้า และเอียงออกด้านนอกเล็กน้อย อัดแน่นนิ้วเท้างุ้มสวยงาม และอุ้มเท้าควรแนบชิดติดกัน มีเล็บที่แข็งแรงด้านล่างมีอุ้งเล็บที่แข็ง ติ่งเล็บอาจต้องถูกตัดออกไป
ลำตัว : โดยทั่วไปต้องยาว และเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกรานแข็งแรง อยู่ในแนวตรงที่สุดที่เป็นไปได้ ระหว่างจุดสูงสุดของไหล่ หน้าอกเป็นรูปไข่ และยืดขยายไปด้านล่างไปจนถึงจุดกึ่งกลางของขาหน้าโครงสร้างของกระดูกซี่โครง เต็มและเป็นรูปไข่ เมื่อมองจากด้านบนหรือจากด้านข้าง จะเห็นเต็ม เพื่อให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ เป็นตำแหน่งของหัวใจและปอดกระดูกซี่โครงกลมโค้งแล้วค่อยๆ ประสานกลมกลืนเข้ากับเส้นท้อง ถ้าความยาวถูกต้อง ขาหน้าเมื่อมองดูจากด้านข้างควรปิดคลุมจุดที่ต่ำสุดของเส้นอก เส้นท้องสูงขึ้นเล็กน้อย
ส่วนท้าย : เมื่อมองดูจากด้านหลัง ควรเท่ากับด้านกว้าง สะโพก ยาว กลม เต็ม กล้ามเนื้อแข็งแรง แต่อ่อนนิ่มแบบพลาสติก เพียงแต่ค่อยๆ จมหายไปทางหาง กระดูกเชิงกราน ไม่สั้นมาก แข็งแรง กระดูกต้นขา แข็งแรงและมีความยาวพอดี ทำมุมฉากกับกระดูกเชิงกราน ขาหลัง แข็งแรงและมีมัดกล้ามเนื้อ ข้อเข่า กว้างและแข็งแรง กระดูกน่อง เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์อื่น จะมีขนาดสั้น ตั้งฉากกับกระดูกต้นขา และกล้ามเนื้อแข็งแรงอุ้งเท้าหลัง งุ้มอย่างสวยงาม และแนบชิดติดกันทั้ง 4 นิ้ว เท้าทั้งหมดควรวางในลักษณะเท่ากัน
หาง : อยู่ในแนวต่อเนื่องกับกระดูกสันหลัง ยืดออกไปโดยไม่มีส่วนโค้งมากนัก และไม่ควรชูหางในลักษณะร่าเริงเกินไป

สปิตซ์spitz อยู่หลายพันธุ์ เช่น Japanese spitz , Finnish Spitz ,German Spitz


ความเป็นมา
จริงๆแล้วมีสุนัข spitz อยู่หลายพันธุ์ เช่น Japanese spitz , Finnish Spitz ,German Spitz แต่ที่ได้รับความนิยมในบ้านเราที่สุดคือ Japanese spitz ซึ่งเป็นสุนัขที่เกิดจากการ ผสมพันธุ์ระหว่างสุนัข Siberian Samoyed ให้ตัวเล็กลงนะครับ จะเห็นว่าหน้าตาเหมือนเจ้า Samoyed ทุกอย่าง เพียงแต่ว่าขนาดเล็กลงมาเท่านั้นเอง ในสมัยก่อนสุนัขพันธุ์นี้เป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นมาก จึงเป็นที่มาของชื่อพันธุ์
ลักษณะนิสัย
มีนิสัยร่าเริง ฉลาด และขี้เล่น ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และเชื่อฟังเจ้าของ อาจจะเห่าเก่ง เพราะมันจะมีสัญชาติญาณในการเตือนภัยให้เจ้าของเมื่อมันรู้สึกว่ามีอันตราย หรือมีคนแปลกหน้าที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาใกล้ มันจะทำตัวเป็นยามปกป้องบ้านอยู่เสมอเลย ตามปกติแล้วเป็นสุนัขที่ฝึกได้ง่ายครับ แต่เจ้าของจะต้องให้เวลากับมันและฝึกอย่างสม่ำเสมอ สุนัขพันธุ์นี้จะชอบเล่นเกม อย่างพวกขว้างของแล้วให้ไปเอากลับมานี่จะชอบมากเป็นพิเศษ โดยทั่วไปแล้วสุนัขพันธุ์นี้เป็นมิตรกับเด็ก และเข้ากันได้ดีกับสุนัขที่ถูกเลี้ยงอยู่ในบ้านเดียวกัน
การดูแล
การดูแลขน นี่ควรจะได้รับการแปรงหรือหวีอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่มีความจำเป็นจะต้องพาไปตัดขน ตามปกติแล้วเจ้าสปิตซ์เป็นหมาที่รักสะอาดมาก อาจจะไม่ต้องอาบน้ำบ่อยนักในหน้าผลัดขน ขนของสุนัขพันธุ์นี้จะร่วงค่อนข้างเยอะ ตามลักษณะของสุนัขพันธุ์ที่มีขนสองชั้นและเป็นสุนัขในกลุ่ม Northern Breed ทั่วไป
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
ผู้เลี้ยงต้องให้เจ้าตูบออกกำลังกายอย่างเพียงพอ เพราะเป็นสุนัขที่พลังงานค่อนข้างเยอะ ในแต่ละวันควรให้โอกาสมันได้วิ่งเล่น หรือเล่นเกมกับเขาบ้าง ก็จะลดปัญหาเรื่องการกัดทำลายข้าวของ ในบ้านลงได้
ข้อควรจำ
สิ่งที่อาจจะเป็นปัญหาก็คือเรื่องการเห่า เพราะได้ชื่อว่าเป็น “หมาเล็กใจใหญ่” เป็นสุนัขที่กล้าหาญและพร้อมที่จะปกป้องเจ้าของหรือบ้านที่อาศัยตลอดเวลา จะสงสัยคนแปลกหน้าเอาไว้ก่อน
มาตรฐานสายพันธุ์
ขนาด
สูง 12-14 นิ้ว  น้ำหนัก 5-6 กิโล
ศีรษะ
จมูก    เป็นสีดำสนิท
ปาก
เป็นสีดำสนิท
ตา
เป็นสีดำสนิท
หู
เล็ก และตั้งตรง
ขาหน้า
ขาหลัง
หาง
เป็นพวงและม้วนขึ้น
ขน
เป็นสีขาวตลอดทั้งตัว
สีขน
เป็นสีขาวตลอดทั้งตัว
สูง 12-14 นิ้ว  น้ำหนัก 5-6 กิโล