Monday, May 27, 2013

สุนัขสามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ?

สุนัขสามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ?
 
    หลาย ท่านเมื่อได้ยินคำถามนี้ก็คงคิดเช่นเดียวกัน ซึ่งคำตอบก็คือ สุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจได้จริงๆ  โรคหัวที่พบในสุนัขสามารถพบได้เช่นเดียวกับในคน คือสามารถพบได้ตั้งแต่เกิด หรือหลังเกิด แต่โดยทั่วไปมักพบว่าโรคหัวใจในสุนัขมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางๆ ชีวิต โรคหัวใจของสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired heart disease) เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด สุนัขที่พบว่าเป็นโรคหัวใจมักเป็นสุนัขที่มีอายุมาก
         จาก ผลวิจัยล่าสุดเปิดเผยให้เห็นว่าเจ้าของสุนัขกว่า 50% ไม่เคยตระหนักว่าสุนัขของตนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ทั้งที่มีสุนัขอายุ 7 ปีขึ้นไปมากถึงหนึ่งในสี่ที่เป็นโรคหัวใจ  ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การสังเกตอาการของโรค และการดูแลสุนัขที่เป็นโรค เพื่อให้สุนัขมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป

         หัวใจ” ถือ เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกายของสัตว์เลี้ยง เนื่องจากหัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือด เพื่อนำอ็อกซิเจน และสารอาหารต่างๆ ผ่านทางหลอดเลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ความผิดปกติที่เกิดกับหัวใจ ส่วนใหญ่มักจะทำให้เกิดการบีบตัวของหัวใจลดลง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการสะสมของของเหลวในช่องอก และช่องท้อง
 โรคหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
        1. โรคลิ้นหัวใจเรื้อรัง โรค ลิ้นหัวใจรั่วจะทำให้ประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจ เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง ซึ่งเป็นความผิดปกติของหัวใจที่พบได้บ่อยในสุนัข
        2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรค ของกล้ามเนื้อหัวใจ อาการผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการหนาตัว หรือผนังห้องหัวใจบาง และอ่อนแอ มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจลดลง ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยในแมว
           โรคหัวใจทั้งสองชนิดจะค่อยพัฒนาขึ้น โดยใช้ระยะเวลา แต่ผลในที่สุดก่อให้เกิดภาวะที่มีความรุนแรงต่อการทำงานของหัวใจที่เรียกว่า หัวใจล้มเหลว (heart failure)
 
อะไรคือสาเหตุของโรคหัวใจ
            โรค หัวใจมักเกิดได้จากหลายสาเหตุ ปัญหาจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมก็เป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจ ได้แก่
  •  สภาพร่างกาย - สุนัข และแมวที่มีน้ำหนักเกินจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูง
  •  อายุ - ความถี่ของโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยงมักเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุมากขึ้น
  •  สายพันธุ์ - ใน สุนัขพันธุ์เล็ก เช่น พุดเดิ้ล มินิเอเจอร์ชเนาเซอร์ ชิวาวา ฟอกซ์เทอร์เรียร์ ค็อกเกอร์สเปเนียล บอสตันเทอร์เรียร์ และคาวาเลียร์ คิง ชาร์ลส์ สเปเนียล มักเป็นโรคของลิ้นหัวใจ แต่ในกรณีโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ มักเกิดในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น เกรทเดน โดเบอร์แมนฟินเชอร์ อัฟกันฮาวนด์ เซนต์เบอร์นาร์ด สกอตทิซเดียร์ฮาวนด์ ไอริชวูล์ฟฮาวนด์ บ็อกเซอร์ นิวฟาวด์แลนด์ และดัลเมเชียน นอกจากนี้ยังพบในสุนัขพันธุ์เล็กเช่น อิงลิช และอเมริกันค็อกเกอร์สเปเนียล อิงลิชบูลด็อก
 จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจ
            อาการ ของโรคหัวใจในสุนัขค่อนข้างผันแปร หรือไม่แน่นอน อาการของโรคหัวใจนั้นสามารถบ่งบอกได้ยาก เพราะมักคล้ายกับความผิดปกติของโรคอื่นๆ ซึ่งอาจจะพบได้ตั้งแต่ประเภทที่ไม่สามารถสังเกตอาการได้จนถึงสามารถสังเกตพบ อาการได้ แต่อาการจะมีความเด่นชัด หรือมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อการพัฒนาของโรคหัวใจมีมากขึ้น ถ้าหากคุณพบอาการเหล่านี้ในสุนัขของคุณนั่นอาจจะแสดงว่าสุนัขของคุณมีความ ผิดปกติของหัวใจ



  •  อ่อนเพลียง่าย หรือขาดพลังงาน (lack of energy)
  •  หายใจลำบาก
  •  ไม่กินอาหาร และน้ำหนักตัวลดลง
  •  มีการไอบ่อยๆ
  •  อ่อนแอ เหนื่อยง่าย ออกกำลังกายได้น้อยลง
  •  เป็นลม หมดสติ (fainting)
  •  ท้องบวมขยายใหญ่ (abdominal swelling) 
         เมื่อ พบอาการดังกล่าวผู้ที่จะให้คำตอบที่ดีที่สุดว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจหรือไม่ คือ สัตวแพทย์ประจำตัวสุนัขของท่าน เมือนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ สัตวแพทย์อาจจะถามเจ้าของถึงอาการ หรือข้อมูลที่จำเพาะเกี่ยวกับสุนัขของท่าน (การซักประวัติสัตว์ป่วย) ก่อนที่จะทำการตรวจร่างกายสุนัข ถ้าสัตวแพทย์สงสัยว่ามีปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคหัวใจ อาจจะต้องมีการตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยโรคที่จำเพาะมากขึ้น เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอ๊กเรย์ ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือตรวจวิธีการอื่นๆที่จำเป็น
         การ นำสุนัขของท่านไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจร่างกาย เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ตรวจพบปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคหัวใจในระยะเริ่มต้นได้
 โรคหัวใจของสุนัขสามารถรักษาได้หรือไม่


      โรค หัวใจของสุนัขสามารถรักษาได้ แม้ว่าไม่มีการรักษาแบบใดๆ ที่สามารถรักษาโรคหัวใจของสุนัขได้ทุกชนิด การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ หรือสมัยใหม่สามารถทำได้ ความสำเร็จของการรักษาโรคหัวใจสุนัขขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ประการ โดยสัตว์เลี้ยงที่ป่วยด้วยโรคหัวใจสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยการให้ อาหารที่ถูกต้อง การออกกำลังกาย และการใช้ยา ด้วยการเลือกใช้อาหารที่ถูกต้องร่วมกับคำแนะนำจากสัตวแพทย์ แต่การตรวจพบ ปัญหาโรคหัวใจในระยะแรกๆ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะเป็นการช่วยรักษาชีวิตสุนัขของท่านให้ยืนยาวต่อไปและมีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
     โรค หัวใจในสุนัขสามารถรักษาได้ทั้งวิธีการใช้ยาและการผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้การรักษาด้วยยา แต่สิ่งที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงควรจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดก็คือ ผู้ เลี้ยงจะต้องมีวินัยในการให้ยาสุนัขอย่างสม่ำเสมอตรงเวลา และจะต้องพาสุนัขไปพบสัตว์แพทย์ตามนัด และควรจะให้สุนัขออกกำลังกายภายใต้การควบคุมของผู้เลี้ยงในปริมาณที่พอดี รวมไปถึงอีกสิ่งที่สำคัญคือ จะต้องควบคุมอาหารและน้ำให้มีปริมาณพอดีไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เพื่อให้สุนัขได้รับสารอาหารครบถ้วน และควบคุมไม่ให้มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ค่ะ
 รู้ไว้ใช่ว่า : สุนัขที่มีโอกาสจะป่วยเป็นโรคหัวใจได้นั้นในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น Poodle, Miniature Pinscher, Cavalier King Charles Spaniel มักพบปัญหาโรคสิ้นหัวใจรั่ว ขณะที่สุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น Dobermann Pinscher, Labrador Retriever, Great Dane และ Boxer มักเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาที่ชี้ชัดว่าสัตว์เลี้ยงเพศผู้ มักพบเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศเมีย

โรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข

รู้ทันโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัขรู้เอาไว้ป้องกันไม่ให้น้องหมาป่วย

มารู้จักโรคพยาธิหนอนหัวใจกัน

     โรคหัวใจในสุนัขอีกโรคหนึ่งที่น่ากลัวก็คือ โรคพยาธิหนอนหัวใจ นั่นเองค่ะ ... สำหรับโรคพยาธิหนอนหัวใจนั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข โดยมียุงเป็นพาหนะ การติดเชื้อเกิดขึ้นได้เนื่องจากยุงกินเลือดสุนัขที่มีตัวอ่อนของเชื้ออยู่ ซึ่งตัวอ่อนนนั้นจะพัฒนาในตัวยุง จากนั้นจะปล่อยตัวอ่อนระยะติดเชื้อให้สุนัขตัวอื่นที่ยุงกินเลือด ซึ่งสุนัขที่ถูกยุงตัวนั้นกัดก็จะได้รับถ่ายทอดพยาธิตัวแก่ (ตัวแก่พยาธิหนอนหัวใจ เกิดจากเชื้อ Dirofilaria immitis สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า จะมีรูปร่างยาวเรียว) เข้าไป ส่วนใหญ่แล้วพยาธิตัวแก่ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคพยาธิหนอนหัวใจนั้น จะอาศัยอยู่ในหัวใจห้องล่างขวา หลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปสู่ปอดและหลอดเลือดดำใหญ่
     สำหรับพยาธิหนอนหัวใจมักจะพบได้ทั่วไปในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและแถบเมือง ร้อนทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงประเทศไทยด้วย ... นี่เองจึงเป็นสาเหตุให้พบว่าสุนัขในประเทศไทยมีโอกาศเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจ พบได้มาก

อาการของโรคพยาธิหนอนหัวใจเป็นอย่างไร

     ส่วนใหญ่แล้วอาการของโรคนี้มันจะแสดงเมื่อสุนัขมีอายุมากกว่า 4 ปีขึ้นไป โดยจะพบว่าสุนัขที่ติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจนั้นจะมีอาการ ซึม เหนื่อยง่าย หายใจหอบ ร่างกายอ่อนเพลีย ไอแห้งๆ และบางตัวจะมีเลือดออกมาด้วยเมื่อไอ ในระยะต่อมาจะบวมน้ำและท้องมาน และเสียชีวิตในที่สุด
     แต่ถ้าหากสุนัขติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจจำนวนไม่มาก อาจจะไม่พบอาการเด่นชัด แต่จะสังเกตได้ง่ายถ้าเป็นสุนัขใช้งาน สุนัขจะมีอาการเหนื่อยง่าย เขาจะมีอาการหอบเมื่อเราให้เขาออกกำลังกาย ซึ่งถ้าเขาเหนื่อยมากอาจทำให้เขาหัวใจวายและเสียชีวิตได้

วงจรชีวิตของพยาธิหนอนหัวใจ





     ตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจอาศัยอยู่ในหัวใจและหลอดเลือดใกล้เคียง ยุงตัวเมียจะปล่อยตัวอ่อนเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งเชื้อโรคจะถูกถ่ายทอดต่อไปยังยุงตัวเมียอีกตัวในขณะที่กินเลือดสุนัขที่ ติดเชื้อนี้ แล้วตัวอ่อนจะพัฒนาในตัวยุงกลายเป็นตัวอ่อนระยะติดเชื้อโดยใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และไปอยู่ที่ปากของยุง
     เมื่อยุงที่มีตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจไปดูดเลือดสุนัขที่ปกติก็จะปล่อยตัว อ่อนให้กับสุนัขตัวนั้น ตัวอ่อนจะเคลื่อนที่จากเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังของสุนัขและมีการพัฒนาอีก 2 ครั้งจนกลายเป็นตัวแก่ระยะแรกในหัวใจและหลอดเลือด จากนั้นจะถ่ายทอดสู่ปอดภายในเวลา 3-4 เดือน และในระยะ 6 เดือน จะพบตัวอ่อนในกระแสเลือด เมื่อยุงกัดสุนัขที่มีเชื้อพยาธิหนอนหัวใจยุงก็จะได้รับตัวอ่อนและตัวอ่อน จมีการพัฒนาในยุง เมื่อยุงตัวนั้นไปกัดสุนัขปกติตัวอื่นก็ทำให้ติดเขื้อพยาธิหนอนหัวใจ ได้  ตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถปล่อยตัวอ่อนได้ นาน ถึง 5 ปี


สิ่งที่ต้องระวังคือ "โรคแทรกซ้อน"

     อาการแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจมีการพัฒนาโตจน อยู่ในระยะตัวแก่ในหัวใจและหลอดเลือดที่ปอด ซึ่งอาการป่วยของสุนัขจะมีอาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนพยาธิตัวแก่ที่ อยู่ในร่างกาสุนัข ถ้าหากมีพยาธิตัวแก่อยู่จำนวนน้อยก็จะไม่พบอาการป่วย แต่ถ้าหากพบว่ามีอยู่จำนวนมากก็จะทำให้เกิดปัญหาต่อระบบหมุนเวียนโลหิตได้ เช่น เชื้อโรคอาจจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดจนถึงขึ้นเกิสภาวะหัวใจวายได้ หรืออาจจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้
     นอกจากนี้พยาธิตัวแก่ที่ตายแล้วอาจจะไปอุดตันหลอดเลือดที่นำเลือดไปสู่ ปอด จึงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดอาการหัวใจวายได้

ขอขอบคุณบทความดีๆ โดย:  Dogilike.com

โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ

Dogilike.com :: โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ

       ช่วงฤดูฝนอย่างนี้ ปัญหาที่เจ้าของน้องหมาหลายคนคงหนีไม่พ้น ก็คือ ปัญหาเรื่องเห็บ แต่ที่เห็นจะร้ายกว่าเห็บก็คือ ภัยเงียบที่มากับเห็บเนี่ยะแหละครับ “โรคพยาธิในเม็ดเลือด” หลายคนคงเคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามเจ้าโรคนี้กันมาบ้างแล้ว

     โรคพยาธิในเม็ดเลือด เกิดจากการติดเชื้อของสัตว์เซลล์เดียวในเม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโปรโตซัวและริคเก็ตเซีย ได้แก่ บาบิเซีย (Babesia sp.) เฮปปาโตซูน (Hepatozoon sp.) เออร์ลิเชีย (Ehrlichia sp.) อะนาพลาสมา (Anaplasma sp) และบาร์โทเนลล่า (Bartonella sp.) แต่ที่พบได้บ่อยในบ้านเราคือ 3 ตัวแรก

Dogilike.com :: โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ

       ซึ่งชื่ออาจจะคล้ายกับโรคพยาธิหนอนหัวใจ แต่อย่าสับสนกันนะครับ เป็นคนละโรคกัน เพราะโรคพยาธิหนอนหัวใจติดจากยุงเป็นพาหะ ส่วนโรคพยาธิในเม็ดเลือดติดจากเห็บเป็นพาหะ เราเรียกรวมๆ กันว่า โรคที่ติดต่อจากเห็บ (Tick-borne diseases)

     สำหรับความชุกของโรคนี้ในบ้านเราถือว่าค่อนข้างสูงพบได้ทั้งปี ซึ่งส่วนตัวผมเองก็พบน้องมาที่ป่วยด้วยโรคนี้แวะเวียนเข้ามารักษาเป็นประจำแทบจะทุกเดือนก็ว่าได้ เพราะโรคนี้เป็นโรคที่พบในสุนัขทุกเพศ ทุกพันธุ์ และทุกวัยเลย ครับ แถมยังส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายได้เป็นวงกว้าง นั่นจึงเป็นโอกาสที่สามารถทำให้น้องหมาอาจเสียชีวิตได้ หากไม่ได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที

Dogilike.com :: โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ
    
     เรามาแยกทำความรู้จักกับเชื้อที่ทำให้เกิดเป็นโรคพยาธิในเม็ดเลือดไปทีละตัว กันนะครับ มาดูสิว่าเชื้อแต่ละตัว ก่อให้เกิดอาการกับน้องหมาได้อย่างไรบ้าง

     บาบิเซีย พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิด แต่ที่พบในน้องหมาชื่อว่า Babesia canis, Babesia gobsoni ก่อให้เกิดโรค Babesiosis ติดจากการที่สุนัขถูกเห็บที่มีเชื้อกัดหรือติดจากการถ่ายเลือด ซึ่งตัวเชื้อจะเข้าไปอยู่ในเม็ดเลือดแดง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 10-21 วัน

Dogilike.com :: โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ

       อาการที่พบ คือ น้องหมาจะมีไข้สูง ซึม ไม่อยากกินอาหาร ไม่อยากเคลื่อนไหว โลหิตจาง เยื่อเมือกซีดมาก อาจมีดีซ่านร่วมด้วย ปัสสาวะสีแดงเข้ม (สีโค้ก/โคล่า) ในรายที่เป็นรุนแรง

     เฮปปาโตซูน พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดเช่นกัน แต่ที่พบในน้องหมาชื่อว่า Hepatozoon canis, Hepatozoon americanum ก่อให้เกิดโรค Hepatozoonosis โดยน้องหมาจะติดเชื้อจากการที่กินตัวเห็บที่มีเชื้อเข้าไปหรือติดจากการถ่ายเลือดและปลูกถ่ายอวัยวะ เมื่อเชื้อเข้าไปอยู่ในลำไส้จะชอนไชทะลุผ่านผนังลำไส้ เข้าไปตามกระแสเลือดไปอยู่ตามต่อมน้ำเหลือง ม้าม ตับ ปอดและไขกระดูก และจะพบเชื้อได้ในเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil

Dogilike.com :: โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ

     อาการที่พบจะมีได้หลากหลาย เช่น ซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เยื่อเมือกซีด โลหิตจาง มีไข้สูง มีน้ำมูก มีขี้ตา เป็นอัมพาตขาหลัง ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของน้องหมาด้วย ส่วนใหญ่ถ้าภูมิคุ้มกันดีจะไม่ค่อยแสดงอาการ แต่จะเป็นแบบเรื้อรังแทน เช่น เม็ดเลือดถูกทำลายมาก จนเกิดดีซ่าน ทำให้เยื่อเมือกมีสีเหลือง ส่วนน้องหมาที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีหรือน้องหมาเด็กจะแสดงอาการรุนแรงและอาจ เสียชีวิตได้
 
       เออร์ลิเชีย พบได้ในสุนัขและม้า แต่ที่พบในน้องหมามีชื่อว่า Ehrlichia canis ซึ่งก่อให้เกิดโรค Canine ehrlichiosis ติดจากการที่ถูกเห็บที่มีเชื้อกัดหรือติดจากการถ่ายเลือด ซึ่งเชื้อจะเข้าไปอยู่ในเม็ดเลือดขาวชนิด monocyte และ neutrophil โดยมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 7-12 วัน

Dogilike.com :: โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ

      อาการที่พบ คือ ทำให้น้องหมามีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร โลหิตจาง มีขี้ตา มีน้ำมูก และมีเลือดกำเดาไหล เนื่องจากโรคนี้ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ พอเลือดไหลก็จะหยุดได้ยาก และอาจพบจุดเลือดออกบริเวณตาขาว เหงือกและผิวหนังได้ ในรายที่ภูมิคุ้มกันไม่ดีจะแสดงอาการแบบเฉียบพลัน ส่วนรายทีมีภูมิคุ้มกันดีจะแบบอาการแบบเรื้อรัง (แสดงอาการใน 30-120 วัน) ซึ่งจะทำให้ปัสสาวะมีแดงเข้ม (สีโค้ก/โคล่า) มีภาวะแทรกซ้อมตามมากมาย เช่น ภาวะไตวาย ไขกระดูกทำงานบกพร่อง ม้ามโต และอาจเสียชีวิตได้จากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว

     จะทราบได้อย่างไรว่าเป็น หากดูจากอาการเพียงอย่างเดียวอาจยังสรุปได้ยาก เนื่องจากมีอาการที่ไม่จำเพาะ ส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยอาการซึม เบื่ออาหาร ดังนั้นการซักประวัติเพิ่มเติมโดยละเอียด ตลอดจนข้อมูลความชุกของเห็บบนตัวน้องหมาและในสิ่งแวดล้อมที่น้องหมาอยู่จึง มีส่วนสำคัญ แต่สิ่งที่ช่วยยืนยันได้ดีที่สุด คือ การตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และการย้อมสีแผ่นสไลด์ของเลือดแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ครับ

Dogilike.com :: โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ

       แต่ในปัจจุบันคุณหมอก็มีเครื่องมือสำหรับใช้ตรวจยืนยันโรคนี้มากมาย เช่น การตรวจหาแอนติบอดี้ของเชื้อจากเลือด ซึ่งทำให้ทราบผลได้รวดเร็ว แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า แอนติบอดี้ที่ตรวจพบนั้นเป็นผลมาจากการติดเชื้อจากในอดีตหรือไม่ อีกวิธีคือการตรวจด้วย PCR ซึ่งได้ผลแม่นยำ แต่ราคาค่อนข้างแพง

     สำหรับการรักษาก็จะแยกไปตามชนิดของเชื้อครับ หากน้องหมาป่วยด้วยเชื้อเออร์ลิเชียคุณหมอจะฉีดยาหรือจ่ายยาในกลุ่ม tetracycline ให้ป้อนกินติดต่อกันอย่างน้อย 21-28 วัน ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น หากมีภาวะโลหิตจางก็ต้องให้ยาบำรุงเลือดหรือถ่ายเลือดให้ เป็นต้น

Dogilike.com :: โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ

       ส่วนกรณีที่ป่วยด้วยเชื้อบาบิเซีย และเฮปปาโตซูน คุณหมอจะรักษาด้วยการฉีดยา เช่น กลุ่ม aromatic diamidine (Imidocarb) จำนวนสองครั้ง โดยฉีดห่างกัน 14 วัน แต่ยานี้เป็นสารเคมีซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ไอ น้ำลายไหล จึงจำเป็นต้องให้ร่วมกับในกลุ่ม anti-colinergic เพื่อลดผลข้างเคียงดังกล่าว

     แต่ไม่ว่าจะติดเชื้อชนิดใดก็ตาม หลังจากการรักษา ก็ควรจะต้องมีการตรวจเลือดซ้ำ เพื่อประเมินสภาพไปเป็นระยะๆ ครับ ซึ่ง โรคพยาธิในเม็ดเลือดนี้ บางเชื้อ เช่น เฮปาโตซูนอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเชื้อสามารถซ่อนตัวอยู่ในตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลืองได้ เมื่อสัตว์ที่เคยเป็นโรคนี้อ่อนแอลง ก็อาจจะกลับมาป่วยได้อีก

     และตราบใดที่ยังมีเห็บอยู่ในสภาพแวดล้อม น้องหมาก็พร้อมที่จะกลับติดเชื้อและป่วยได้ใหม่อีกครั้งเช่นกัน  ที่สำคัญ คือ ควรต้องป้อนยาให้ครบตามที่คุณหมอจัดให้ เพราะมีเจ้าของบางท่านที่มักจะหยุดป้อนยาเมื่อน้องหมามีอาการดีขี้น ซึ่งทำให้การรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพ และโรคอาจพัฒนาเป็นแบบเรื้อรังในที่สุด

Dogilike.com :: โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ

สูตร การควบคุมป้องกันโรคพยาธิในเม็ดเลือด = การควบคุมป้องกันเห็บ

     สมการนี้เป็นสูตรสำเร็จที่เข้าใจได้ง่าย เพราะเห็บไม่มา หมาย่อมไม่ป่วย ซึ่งผมมักจะแนะนำเจ้าของให้กำจัดเห็บทั้งบนตัวน้องหมาและในสิ่งแวดล้อมที่น้องหมาอยู่ควบคู่กันไป เพราะหากไม่กำจัดตามสิ่งแวดล้อมแล้ว เห็บพวกนี้ก็จะกระโดดกลับมาอาศัยอยู่บนตัวน้องหมาได้ใหม่ไม่สิ้นสุด ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดเห็บมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ยาฉีด ยาหยอดหลัง ยาพ่น แชมพู สวมปลอกคอ ฯลฯ ให้เราได้เลือกใช้ แต่อย่างไรก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังด้วย เพราะส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมี ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับทั้งคนและน้องหมา หากใช้ไม่ถูกหรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไป

Dogilike.com :: โรคพยาธิในเม็ดเลือด ภัยเงียบที่มากับเห็บ

       อันตรายที่ควรรู้...โรคพยาธิเม็ดเลือดบางเชื้อสามารถติดต่อสู่คนได้ คือ Ehrlichia sp. และ Anaplasma sp.  ผ่านทางการถูกเห็บสุนัขที่มีเชื้อกัดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะทำให้คนแสดงอาการต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้ และปวดศีรษะ เรียกโรคนี้ในคนว่า "human granulocytic ehrlichiosis" 

       ท้ายนี้อยากเน้นย้ำว่า ไม่จำเป็นเสมอไปที่การไม่เห็นตัวเห็บเลย แล้วน้องหมาจะไม่ป่วย เพราะแค่เห็บเพียงตัวเดียวก็สามารถนำโรคมาสู่น้องหมาได้แล้วครับ อย่าลืมว่าเห็บมันกระโดดขึ้นๆ ลงๆ ไปมาได้ การป้องกันเห็บและหมั่นพาน้องหมาไปตรวจเลือดเป็นประจำอย่างน้อยๆ ปีละ 2 ครั้ง จึงเป็นสิ่งที่ควรต้องทำอย่างสม่ำเสมอครับ




บทความโดย: หมอต้น Dogilike.com
น.สพ.ธีรภาพ มุสิกานนท์
http://family.dogilike.com/tonvet/

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข


โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง และเป็นโรคที่มีผลเสียกระทบกับอวัยวะหลายๆ ส่วนของน้องหมาค่ะ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้หลายอย่าง และมีโอกาสทำให้น้องเค้าเสียชีวิตได้ค่ะ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราก็สามารถป้องกันการเกิดโรคของน้องหมาได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นเราจะมาเริ่มทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่าค่ะ
ตัวเชื้อพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข มีด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่ Babesia, Ehrlichia และ Hepatozoon โดย Babesia จะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง ส่วน Ehrlichia และ Hepatozoon อาศัยอยู่ในเม็ดเลือดขาว

สาเหตุ
เกิดจากเห็บที่อยู่บนตัวสุนัขค่ะ โดยเห็บสามารถแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายน้องหมาได้ 2 ช่องทาง ช่องทางแรกเกิดจากตัวเห็บเองแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายน้องเค้าเลย โดยขณะที่เห็บดูดกินเลือดสุนัข เชื้อ Babesia และ Ehrlichia ในน้ำลายของเห็บจะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดของสุนัข ซึ่งจะแตกต่างจาก Hepatozoon ที่จะติดต่อโดยสุนัขบังเอิญเลียกินเอาเห็บที่ติดเชื้อเข้าไป และใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ในการกระจายตัวสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่เจ้าของจะทราบต่อเมื่อปรากฏอาการ

รูปแสดงภาพ เห็บ


จะเห็นได้ว่าเห็บจะเป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้น ดังนั้นถ้าเราสามารถตัดวงจรไม่ให้สุนัขโดนเห็บกัด หรือกินเอาเห็บเข้าไป โอกาสการเกิดโรคนี้ก็จะน้อยลงตามมาด้วย
"ทำไมราถึงต้องให้ความสำคัญกับโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข"
เรามาดูอาการของโรคกันก็จะทราบถึงข้อกังวลนี้กันค่ะ

อาการ
เมื่อสุนัขได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว เชื้อโรคก็จะแอบแฝงอยู่ในเม็ดเลือด โดยในระยะแรกสุนัข อาจไม่แสดงอาการอะไร แต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอลง หรือตัวหน้อหมาเกิดความเครียดมากๆ ขึ้น เชื้อโรคก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย จนทำให้เม็ดเลือดที่ติดเชื้อแตกออก หรือมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากปรกติซึ่งจะถูกม้ามทำลายทิ้ง เมื่อเม็ดเลือดถูกทำลายมากกว่าที่ไขกระดูกจะสร้างทดแทนได้ทัน ก็จะเกิดปัญหา "โลหิตจาง" ตามมา
โดยจะพบว่าเหงือกของน้องหมาจะมีสีซีดขาว และอาการโลหิตจางเป็นนานวันเข้า ก็จะมีผลกระทบกับหัวใจ ไต ของน้องเค้า ซึ่งจะทำให้น้องเค้าเหนื่อยง่ายมากขึ้น หรืออาจจะทำให้หัวใจวายได้ตามมาค่ะ นอกจากนี้พยาธิในเม็ดเลือดยังทำให้ผนังหลอดเลือดอักเสบทำให้เกิดปัญหา "เลือดออกง่าย" ตามมา หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์ที่จู่ ๆน้องหมา "เลือดกำเดา" ไหลเองโดยไม่ได้เกิดจากการกระทบกระแทกใช่ไหมคะ
หรืออยู่ๆ ผิวหนังของน้องหมาก็มี "จ้ำเลือด" ปรากฎขึ้นมาเหมือนรอยช้ำแดงทั้งที่ไม่ได้ถูกตี ถ่ายอุจจาระก็อาจจะมีเลือดปน ถ่ายปัสสาวะเป็นสีเข้มเหมือนสีโค้ก นอกจากนี้พยาธิในเม็ดเลือดยังสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน ของร่างกายทำให้เกิดการทำลายของเม็ดเลือดแดง หรือเกล็ดเลือดของตนเองด้วย เรียกว่าเพิ่มความรุนแรงเข้าไปอีกสองเท่าค่ะ


อาการโดยรวมที่พบบ่อยจะมีดังนี้
1. ไข้สูง
2. ซึม อ่อนแรง ไม่กินอาหาร
3. เยื่อเมือกซีด บ่งบอกถึงโลหิตจาง ต้องตรวจเลือดยืนยัน
(ลองเปิดปากดูเหงือก หรือดูเยื่อบุนัยน์ตา ปกติจะเป็นสีชมพู ถ้าซีดจะชมพูอ่อนกว่าปกติ บางตัวก็ขาวไปเลย
4. Capillary refilling time > 2 seconds หรือที่หมอเรียกว่า CRT คือการวัดการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอย ใช้บอกว่ามีเลือดมาหมุนเวียนตามปลายอวัยวะมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง วิธีวัดคือใช้นิ้วมือหนึ่งนิ้วกดที่เหงือกสักครู่ ถอนนิ้วออก สีเหงือกจะคืนมาตรงรอยกดภายใน 1-2 วินาที ถ้านานกว่านั้นแสดงว่าผิดปกติ
5. บางตัวพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง โดยเฉพาะหน้าท้อง เมื่อตรวจเลือดพบว่าเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ
6. อาการอาการอื่นๆ ที่พบร่วมก็จะมีดังนี้ค่ะ ตับอักเสบ ม้ามโต ตับโต อาการที่พบได้แต่ไม่บ่อย ได้แก่ อาเจียน ถ่ายเหลว ตัวบวมน้ำร่วมกับอาการท้องมาน อาการทางประสาท เลือดออกในลูกตา เลือดออกในเยื่อตาขาว

วิธีการตรวจยืนยัน
1. เสมียร์เลือด วิธีนี้ความไวต่ำ แต่แม่นยำสูง บางครั้งหมาป่วยแต่ตรวจเสียร์เลือดไม่เจอ หรือบางครั้งพบพยาธิเม็ดเลือดแต่ไม่ป่วยก็มี
2. Testkit หมอจะเจาะเลือดแล้วตรวจว่าเคยติดพยาธิเม็ดลือดหรือไม่ หรือยังติดอยู่ วิธีนี้ความไวและความแม่นยำสูง
3. PCR เจาะเลือดไปตรวจ วิธีนี้ความไวและแม่นยำสูงมาก แต่ไม่นิยมเนื่องจากแพงกว่าสองวิธีข้างต้นมากๆ
การรักษาและการป้องกัน
วิธีการรักษาส่วนใหญ่คือ การให้ยาฆ่าพยาธิเม็ดเลือดและการรักษาตามอาการ โดยจะต้องรักษาต่อเนื่อง อย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ ร่วมกับตรวจเลือดเพื่อประเมินค่าเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดเป็นระยะ และต้องติดตามผลต่ออีก 6 เดือน ถึง 1 ปี
การป้องกันพยาธิเม็ดเลือดนั้นจะต้องอาศัยการเอาใจใส่ดูแลจากเจ้าของ โดยการป้องกันการติดเห็บ ปัจจุบันมีหลายวิธีและหลายผลิตภัณฑ์มาให้เลือกตามความเหมาะสม เช่น ตามลักษณะพื้นที่อยู่อาศัยและลักษณะการเลี้ยง เป็นต้น นอกจากนี้ควรตรวจเลือดน้องหมาอย่างน้อยปีละครั้งด้วยค่ะ